สำหรับหลายคนที่กำลังหาซื้อ Nintendo Switch ในปี 2022 แล้วยังไม่รู้ว่าจะต้องเตรียมอะไรบ้าง วันนี้เราก็จะมาสรุปเนื้อหากันตั้งแต่ตัวเครื่อง Switch, เกี่ยวกับเกมและการซื้อเกม, ต้องซื้อ SD Card เพิ่มหรือไม่ และอีกมากมายทั้งมือใหม่ให้กับมือใหม่หัดเล่น Nintendo Switch ได้เอาไปใช้งานกันเลย
เกี่ยวกับ Nintendo Switch
Nintendo Switch คือเครื่องเล่นเกมใหม่ล่าสุดจากทาง Nintendo ที่เป็นทั้งผู้จัดจำหน่ายเกมเองด้วย ที่เปิดตัวมาในปี 2017 กับคอนเซ็ปท์การรวมหน้าที่คอนโซลติดทีวีห้องนั่งเล่นอย่าง Nintendo Wii และอุปกรณ์เกมมิ่งพกพา ที่วันนี้มีเกมให้ผู้เล่นได้เลือกเล่นแล้วถึง 4,000 เกม ที่แน่นอนว่าจะมีเกมแฟรนไซส์อย่าง Super Mario, Kirby, Legends of Zelda, Animal Crossing, Ring Fit และอีกมากมายเป็นเกม Exclusive เฉพาะคอนโซลของ Nintendo Switch เท่านั้น
นอกจากนี้เพื่อน ๆ จะได้เล่นเกมที่คุณเองสามารถพกพาไปไหนก็ได้ ซึ่งเหลือไม่มากแล้วในยุคสมัยของอุปกรณ์เล่นเกมที่ไม่ใช่สมาร์ทโฟนหรือแท็บเล็ต พูดง่าย ๆ เลยก็คือ Use Case ของ Nintendo Switch เองนั้นตอบโจทย์การเล่นเกมไปเสียทุกองค์ประกอบเลย แต่จะเหมาะสมกับคุณมากแค่ไหนก็ต้องรอติดตามชมกัน
Nintendo Swich มีรุ่นไหนบ้าง
ในตอนนี้ ทาง Nintendo ได้ออกสินค้าอย่าง Nintendo Switch ออกมาให้ผู้เล่นเกมได้จับจองเป็นจำนวนทั้งหมด 3 โมเดลดังต่อไปนี้:
อ่านต่อฉบับเต็ม
สำหรับใครที่กำลังอยากรู้ว่าสามรุ่นนี้แตกต่างกันอย่างไร ก็สามารถอ่านต่อได้ที่สตอรี : เปรียบเทียบ! Nintendo Switch, NS OLED, NS Lite ต่างกันอย่างไร?
Nintendo Switch (กล่องแดง-กล่องขาว)
เป็นรุ่นปกติและรุ่นมาตรฐานของ Nintendo Switch เลยทีเดียวสำหรับรุ่น “Nintendo Switch” ที่ฟีเจอร์นั้นให้มาครบถ้วนและใช้งานฟีเจอร์ได้ทั้งหมดตามที่เครื่องคอนโซลพกพาได้อย่าง Nintendo Switch ทั่ว ๆ ไปควรมี
Nintendo Switch OLED
รุ่นใหม่ล่าสุดอย่าง “Nintendo Switch OLED” ที่มีจุดเด่นของเวอร์ชันนี้เป็นหน้าจอแบบ OLED ที่จะให้ความดำที่ดำสนิท และเพิ่มความน่าหลงใหลให้กับการเล่นเกมแบบพกพาเป็นอย่างมากกับหน้าจอที่มีขนาดใหญ่กว่าเดิม และการอัพเดทฮาร์ดแวร์ภายในอีกหลายรายการ
Nintendo Switch Lite
รุ่นน้อง “Nintendo Switch Lite” ที่มีการปรับสิ่งที่ไม่จำเป็นเกี่ยวกับเครื่องคอนโซลที่มักใช้เล่นบนทีวีให้เหลือเพียงการใช้งานแบบพกพาอย่างเดียว แต่ยังสามารถเล่นเกม Nintendo Switch ได้ (ยกเว้นบางประเภทเกม) ทำให้มีราคาที่ถูกและเอื้อมถึงมากยิ่งขึ้น
และหลาย ๆ คนเองก็ยังหวังว่าอีกไม่กี่ปีนี้ทาง Nintendo Switch ก็จะมีการพัฒนาด้านฮาร์ดแวร์อย่างต่อเนื่อง เช่นเรื่องของลำโพง, การรองรับ Full HD สำหรับการเชื่อมต่อทีวี, ประสิทธิภาพในการเล่นเกมกับผู้อื่น และอีกมากมาย ซึ่งจากที่ดูแล้วมีความเป็นไปได้สูงว่า Nintendo เองก็จะไม่เตะ Switch ออกไปง่าย ๆ แม้ว่าวันเปิดตัววันแรกจะทำให้เครื่องรุ่นแรกมีอายุกว่า 5 ปีเข้าไปแล้ว
Nintendo Switch ทำอะไรได้บ้าง?
ผู้เล่นหลายคนมักจะซื้อ Nintendo Switch เพื่อมาเล่นเกมแบบพกพา พร้อมกับได้เล่นเกมค่าย Nintendo เพราะเป็นเครื่องอุปกรณ์เดียวที่ทาง Nintendo จะเข้ามาทำเกม (หรือเรียกว่า Exclusive) และนอกจากนี้ก็ยังมีเกมที่ใช้งาน Joy-Con อย่างเช่นเกมปาร์ตี้ เกมออกกำลังกาย เกมแข่งเต้น ให้เล่นอีกด้วย
ทำให้สรุปได้ว่า Nintendo Switch เองนั้นนอกจากเอาไปเล่นนอกบ้านเหมือนเล่นเกมบนโทรศัพท์แล้ว ก็ยังสามารถเล่นเกมสไตล์ Nintendo Wii เครื่องเล่นเกมที่เรียกเสียงฮือฮาให้กับผู้เล่นทั่วโลกเป็นจำนวนมาก ได้ผ่านการเชื่อมต่อเข้ากับทีวี
วิธีซื้อเกม Nintendo Switch
สำหรับวิธีซื้อเกมให้กับเครื่อง Nintendo Switch ก็มีให้เลือกทั้งหมด 2 ประเภทดังต่อไปนี้
Physical Copy
เป็นในรูปแบบตลับเกมที่ผู้เล่นสามารถจับต้องได้ และไม่จำเป็นต้องใช้อินเตอร์เน็ตเพื่อดาวน์โหลดเกม ซึ่งหาซื้อได้จากร้านค้าทั่วไปและออนไลน์
Digital Copy
เป็นในรูปแบบดาวน์โหลดผ่านร้านค้าออนไลน์อย่าง Nintendo eShop หรือซื้อโค้ดแลกรับเกมภายใน Nintendo eShop
ในแต่ละช่องทางการซื้อนั้นมีข้อดีและข้อเสียที่แตกต่างกันออกไป แต่เพื่อน ๆ สามารถเลือกซื้อเกมให้กับ Nintendo Switch ของคุณได้จากทั้งสองช่องทางและสามารถไปมาได้
ซื้อเกมบน eShop หรือตลับอันไหนดีกว่ากัน?
ข้อดีของการซื้อบน eShop ที่นอกเหนือจากการสลับเกมเล่นได้ทันทีแล้ว ก็ยังมีเรื่องของราคาเกมที่ผู้เล่นสามารถเปลี่ยนประเทศที่เกมนั้นมีราคาถูกกว่าประเทศอื่นได้ และนอกจากนี้สโตร์ USA เองก็มีช่วงเวลาการลดราคาสูงสุด 70% และวนให้เลือกซื้ออย่างต่อเนื่อง ทำให้เพื่อน ๆ เองสามารถประหยัดค่าเกมจากวิธีนี้ได้เช่นเดียวกัน
ซึ่งเราเองก็แนะนำว่าให้พ่วงสมัครบัตร Travel Card หรือบัตรเครดิต/เดบิท ที่ให้อัตราแลกเปลี่ยนสกุลเงินต่างประเทศที่ราคาถูก เพราะนั่นจะทำให้คุณประหยัดไปได้อย่างน้อย 2.5% ++ เพียงเปลี่ยนไปใช้อัตราแลกเปลี่ยนเงินที่ถูกกว่า
ส่วนข้อดีของการซื้อเป็นแบบตลับก็คือเรื่องของการมอบเป็นของขวัญให้กับผู้อื่น หรือยังเป็นประโยชน์ต่อผู้เล่นในประเทศไทยอย่างเช่นการซื้อเกมมือสอง และ ขายทอดตลาดมือสอง ทั้งหมดนี้คุณสามารถทำได้เฉพาะการใช้ตลับเกมเท่านั้น เพราะในตอนนี้การซื้อผ่าน eShop จะต้องผ่านทาง Nintendo แต่เพียงผู้เดียว
แถมว่าคุณอาจจะไปเจอของดีราคาถูกของผู้เล่นอื่น ที่ตอนนี้อาจจะไปใช้ชีวิตจนไม่ได้มาแตะ Nintendo Switch แล้ว ก็เลยต้องมาขายโล๊ะทิ้งแบบนี้ แถมคุณเองยังซื้อทุกอย่างในสกุลเงินไทยได้อีกด้วย
ภูมิภาคของเกม (Region)
หลังจากที่เพื่อน ๆ เลือก Nintendo Switch มาครอบครองได้แล้ว อีกหนึ่งอย่างที่สำคัญมากที่สุดเลยก็คือเรื่องของความเข้าใจในการเข้าไปอยู่ใน Ecosystem ของ Nintendo Switch อย่างเต็มตัว ตัวอย่างเช่นการซื้อเกม เล่นเกม และการขายเกมให้กับผู้อื่น ซึ่งทั้งหมดนี้ก็มีรายละเอียดและเงื่อนไขของแต่ละเกม, แต่ละภูมิภาค, และลักษณะการซื้อเกม
แต่รู้หรือไม่ว่าการเล่นและซื้อเกม Nintendo Switch นั้นมีเงื่อนไขการเกี่ยวกับประเทศและกลุ่มประเทศอยู่ และทั้งหมดนั้นก็จะตัดสินว่าเพื่อน ๆ จะเล่นเกมอย่างไร และซื้อบริการเพิ่มเติมจาก Nintendo Switch ได้อย่างไรเลยหล่ะ
การเปิดให้เล่นข้ามโซน
เกม Nintendo Switch เองมีการแบ่งการจัดจำหน่ายเกมออกมาเป็นภูมิภาค (Region) แต่ไม่มีการล็อคโซนแต่อย่างใด เฉกเช่นเดียวกันกับจำพวก PlayStation และ Xbox ที่ตัวเครื่อง, ตัวผู้เล่น, และตัวเกมไม่จำเป็นต้องอยู่/เป็นประเทศเดียวกัน ตัวอย่างเช่นเครื่องที่ซื้อในไทยกับเกมโซนญี่ปุ่นที่สามารถเล่นร่วมกันได้
ข้อจำกัดเมื่อเล่นข้ามโซน
แม้ว่า Nintendo Switch จะสามารถเล่นข้ามโซนกันได้ แต่การรองรับด้านภาษาอาจไม่มีตัวเลือกบางภาษา (เช่นภาษาอังกฤษ) และการใช้งานที่อาจไม่สามารถซื้อส่วนเสริม (DLC) กับบัญชีผู้ใช้งาน Nintendo ได้ ดังนั้นทางที่ดีคือต้องตรวจสอบว่าเกมนั้น ๆ จะมีภาษาและส่วนเสริมอะไรที่คุณอยากจะใช้/อยากจะซื้อไหม แล้วหลังจากนั้นก็ให้ซื้ออย่างถูกต้องเพื่อให้สามารถเล่นได้ตามความต้องการ
ข้อยกเว้นเลยสำหรับโซนของประเทศจีน (CHT) ที่อาจจะมีเงื่อนไขมากกว่าโซนอื่น เช่นภาษาที่ให้เลือกอาจมีเพียงภาษาจีนเท่านั้น หรือไม่สามารถเล่นกับเครื่อง Nintendo Switch บางโซนเป็นต้น
ตัวเลือกโซน
สำหรับเกมประเภทตลับเกม (Physical Copy) ก็จะมีการแยกออกมาหลัก ๆ อยู่ทั้งหมด 7 โซน ที่จะถูกระบุเอาไว้ที่ตัวบรรจุภัณฑ์ (บริเวณบาร์โค้ด) และตัวตลับ ที่จะมีการขึ้นต้นรหัสสินค้าตามตัวย่อของแต่ละโซนดังต่อไปนี้:
- อเมริกาเหนือ (North America)
- ยุโรป (Europe)
- ญี่ปุ่น (Japan)
- ออสเตรเลีย (Australia)
- จีน (แผ่นดินใหญ่), ฮ่องกง, ไต้หวัน (Mainland China, Hong Kong, Taiwan)
- เกาหลี (Korea)
- เอเซีย (Asia)
เล่นทั่วไปควรเลือกโซนไหนดี?
โดยเราเองก็ขอแนะนำโซนที่หลาย ๆ คนเลือกซื้อเกมผ่าน Nintendo eShop ในประเทศต่อไปนี้
- สหรัฐอเมริกา (เกมลดราคาบ่อย รองรับบัตรเครดิตไทย)
- สหราชอาณาจักร (ลดบ่อยเช่นกัน)
- แอฟริกาใต้
- บราซิล
- รัสเซีย (ปิดตัวชั่วคราวเนื่องจากการโจมตีทางทหาร)
- ญี่ปุ่น (มีเกมญี่ปุ่นครบถ้วน)
- ออสเตรเลีย
แต่สำหรับการซื้อผ่านตลับเกม ก็สามารถซื้อได้ทั้งหมดเลย เพียงแต่อย่าลืมว่าถ้าต้องการซื้อ DLC ด้วย ก็ต้องให้อยู่ในโซนเดียวกัน (อ่านต่อได้ในหัวข้อถัดไป)
วิธีการซื้อ DLC สำหรับเกม
ปัญหาใหญ่ของการซื้อเกมก็คือการซื้อ DLC ให้กับเกมใน Nintendo Switch แบบตลับนั้นจำเป็นต้องซื้อในโซนเดียวกัน แต่สำหรับการซื้อ DLC ผ่าน eShop เองต้องซื้อในบัญชีผู้ใช้งานเดียวกัน (หรือก็คือประเทศเดียวกัน) ถึงจะสามารถซื้อและเล่นเกมส่วนเสริมได้ โดยทั้งหมดนี้จะต้องซื้อผ่าน Nintendo eShop เท่านั้น
ดังนั้นหากใครที่กำลังจะซื้อตลับเกมและมีแนวโน้มว่าจะซื้อ DLC ด้วย ก็ต้องลองพิจารณาในจุดนี้ด้วย เพราะคุณเองอาจจะต้องไปซื้อเกมใหม่หรือ DLC ใหม่ เพราะทาง Nintendo เองไม่ได้แจ้งเตือนการซื้อข้ามโซนแต่อย่างใด
วิธีเล่นเกมออนไลน์ (Nintendo Switch Online)
หลาย ๆ เกมภายใน Nintendo Switch เองก็ได้มีโหมดให้เล่นหลายคนผ่านอินเตอร์เน็ต ซึ่งเพื่อจะเล่นได้นั้นจำเป็นต้องใช้รวมไปถึงระบบที่แชร์งานต่าง ๆ ไปสู่โลกอินเตอร์เน็ต ผู้เล่นนั้นจำเป็นต้องสมัครบริการ Nintendo Switch Online ที่จะเป็นการจ่ายรายเดือน / รายไตรมาส (3 เดือน) / รายปี ซึ่งสามารถซื้อได้ผ่านบัญชีผู้ใช้งาน Nintendo ซึ่งจะเป็นโซนเดียวกันกับการซื้อเกมและ DLC ผ่าน Nintendo eShop
แต่ในบางเกมที่มีผู้เล่นมากกว่าหนึ่งคน เพื่อน ๆ ก็อาจจะต้องสมัคร Nintendo Switch Online ให้กับบัญชีนั้นด้วย หรือทำการเปลี่ยนแผนการสมัครมาเป็นแบบครอบครัว (Family Plan) ที่จะให้เล่นกันได้ทั้งหมด 8 บัญชี
สำหรับข้อมูลและราคาก็สามารถเข้าไปที่เว็บไซต์ Nintendo Switch Online ผ่านเว็บไซต์หรือตัวเลือก Nintendo Switch Online บนเครื่อง Nintendo Switch ได้เลย
วิธีเพิ่มพื้นที่จัดเก็บ (Storage)
ในหลายการใช้งาน การเพิ่มพื้นที่จัดเก็บให้กับเครื่อง Nintendo Switch จะไม่ใช่เรื่องจำเป็นเลย เพราะคุณเองก็สามารรถลบเกมออกไปจากเครื่องตอนไหนก็ได้ แต่หลาย ๆ เกมที่ผ่านมาในช่วงไม่กี่ปีนี้ ได้มีความต้องการพื้นที่จัดเก็บมากขึ้น โดยเฉพาะเกมระดับ Triple A (AAA) ที่ปาเข้าไป 45 GB เข้าไปแล้ว เกินพื้นที่จัดเก็บภายในเครื่องเกินไปมาก
หนึ่งในวิธีการเพิ่มพื้นที่จัดเก็บที่ดีที่สุดสำหรับ Nintendo Switch ก็คือการซื้อ SD Card ตามความจุที่เราต้องการ ที่วันนี้หาซื้อได้ถึง 2TB (สำหรับ Nintendo Switch ทั้งสามรุ่น) และเอาไปเสียบในช่องใส่ SD Card ที่อยู่ด้านหลังตัวเครื่องเพื่อเริ่มใช้งานได้ทันที
อ่านต่อฉบับเต็ม แต่สำหรับใครที่กำลังหาวิธีเพิ่มพื้นที่จัดเก็บอยู่ก็สามารถอ่านต่อได้ที่สตอรี : เคล็ดลับเพิ่มพื้นที่จัดเก็บ Nintendo Switch ได้อย่างไร?
วิธีเชื่อมต่อกับทีวี (Docking)
การเชื่อมต่อ Nintendo Switch เข้ากับ TV ง่ายนิดเดียว เพียงทำการต่อสาย HDMI ระหว่างตัว TV เข้าไปยังตัว Dock ที่แถมมาให้ในกล่อง (ยกเว้นรุ่น Lite) พร้อมกับจิ้มสายชาร์จ USB-C เข้ากับตัว Dock เพื่อชาร์จระหว่างการเล่นตลอดเวลา เมื่อทำทั้งหมดแล้วตัว Switch ก็จะแสดงผลเกมบนหน้าจอ TV ให้เลยทันที
ซึ่งจะขึ้นหน้าจอทีวีเป็นคุณภาพ 1920×1080 pixel (Full HD) เท่านั้น แต่หากว่าทีวีของคุณเป็น 4K ตัวทีวีก็จะทำการยืดภาพให้เต็มหน้าจอโดยอัตโนมัติ
ปัญหาที่ต้องรู้ก่อนซื้อ Nintendo Switch
ข้อจำกัด Nintendo Switch กับประเทศไทย
ต้องบอกก่อนว่าทาง Nintendo เองยังไม่มีการเข้ามาเปิดตลาดในประเทศไทยด้วยตนเองในทุกส่วนองค์ประกอบ ทำให้ในตอนนี้ยังไม่มีเกม, เครื่องเล่นเกม, อุปกรณ์เสริม, ช่องทางชำระเงิน, สกุลเงิน, การรองรับภาษาอินเตอร์เฟส, ฯลฯ ให้กับผู้เล่นชาวไทยอย่างเป็นทางการ แต่มีเพียงการซ่อมและร้านค้าอย่างเป็นทางการของทาง Nintendo เท่านั้น ผู้เล่นจึงอาจต้องแบกรับภาระหรือ/และแก้ไขปัญหาด้วยตนเองในบางส่วน
ปัญหาของการไม่รองรับประเทศไทยอย่างเป็นทางการ
พูดง่าย ๆ เลยก็คือผู้เล่นจะไม่สามารถเลือกโซนเวลาประเทศไทยในเครื่องได้ ไม่สามารถตั้งหน้าอินเตอร์เฟสให้เป็นภาษาไทยได้, ไม่สามารถซื้อเกมผ่าน Nintendo eShop ในสกุลเงินบาทไทยได้, ไม่สามารถ ซื่งหลายประเทศในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ เองก็ยังไม่มีการรองรับของพวกนี้เช่นเดียวกัน ก็ต้องรอติดตามดูว่าทาง Nintendo เองจะมีการประกาศขยายการให้บริการในพื้นที่ South East Asia อย่างเต็มรูปแบบเมื่อใด
ปัญหาหลักของการมีโซนสำหรับตัวเกม
แต่แม้ว่าจะไม่มีการล๊อคโซนของตัวเกมและเครื่องเกม แต่ตัวเลือกภาษา, เกมที่อยู่ใน Nintendo eShop และ การเข้าถึงแอพฯ สตรีมมิ่ง ก็อาจไม่มีให้ผู้เล่นได้เลือกใช้งาน ดังนั้นผู้ซื้อเกมข้ามโซนควรทราบอย่างสังเขปว่าเกมนั้นรองรับภาษาที่คุณต้องการหรือไม่
รวมไปถึงเรื่องของการซื้อเกมและเนื้อหาดาวน์โหลด (DLC) ที่ทำในร้าน Nintendo eShop นั้นจะไม่มีประเทศไทยให้เลือกใช้งาน ผู้เล่นจึงจำเป็นต้องทำการซื้อเกม
ข้อมูลอ้างอิง
- Nintendo Switch – Account Region, Console Region, Game Region… Huh? – Shopitree.com
- Warnings about buying games across regions. : NintendoSwitch (reddit.com)