เพื่อนๆ อาจจะเคยเห็นชื่อแอพอย่าง Telegram มาไม่มากก็น้อย ทั้งการนำไปใช้งานในการประท้วงในประเทศฮ่องกงหรือประเทศไทย รวมไปถึงว่าแอพคู่แข่งอย่าง Line, WhatsApp หรือ Facebook Messenger นั้นก็ยังไม่สามารถตอบสนองได้ในเรื่องของความเร็วในการส่งข้อความ ความเป็นส่วนตัวว่าจะไม่อ่านแชทของเรา หรือกระทั่งการแสดงโฆษณาในทุกๆ ระเบียบนิ้ว วันนี้เราจะมาทำความรู้จักกันครับ ว่า Telegram คืออะไร และทำไมถึงเป็นตัวเลือกแรก ๆ ของแอพแชททางเลือก

ทำความรู้จักกับ Telegram

Telegram คือแอพลิเคชันแชทที่มีฟังก์ชันการใช้งานที่หลากหลายที่มุ่งเน้นเรื่องความเร็วในการใช้งาน พร้อมกับการป้องกันข้อมูลด้วยการเข้ารหัสข้อความด้วยระบบของ Telegram “MTProto Encryption” โดย Telegram ก่อตั้งโดย Pavel Durov และ Nikolai Durov สองพี่น้องผู้ก่อตั้งโซเชียลมีเดียชื่อดังสัญชาติรัสเซียอย่าง “VK” ในปี 2013 และในปัจจุบัน Telegram นั้นก็ได้มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่เมืองดูใบ, ประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (Dubai, United Arab Emirates) พร้อมกับการให้บริการผู้ใช้งานทั่วโลกผ่านระบบเซิฟเวอร์ที่กระจายอยู่ในหลายประเทศ

โฆษณา

ปัจจุบัน Telegram นั้นมีฐานผู้ใช้งานอยู่มากกว่า 550 ล้านผู้ใช้งาน [อ้างอิง: Statista] ซึ่งส่วนหนึ่งของผู้ใช้งานนั้นก็เป็นผู้ใช้งานที่ต้องการความเป็นส่วนตัวจากแอพ Whatsapp ที่ทาง Mark Zuckerberg หรือ CEO ของบริษัท Facebook ณ เวลานั้นได้มีการออกมาประกาศว่าจะควบรวมข้อมูลผู้ใช้งานของ Whatsapp และ Facebook เข้าด้วยกัน หลังจากทาง Facebook (ที่ปัจจุบันได้จัดตั้งบริษัทแม่อย่าง Meta) ได้ทำการเข้าซื้อ Whatapp ตั้งแต่ในปี 2014 ที่ผ่านมา

Statistic: Most popular global mobile messenger apps as of October 2021, based on number of monthly active users (in millions) | Statista

ทำให้ Telegram นั้นถือว่าเป็นแอพอันดับ 3 รองจาก Whatsapp และ Facebook Messenger (หากไม่นับแอพฯ สำหรับผู้ใช้งานในประเทศจีนอย่าง Wechat และ QQ) และนั่นหมายถึงการเติบโตอย่างก้าวกระโดดสำหรับแอพฯ ที่ไม่มีบริการอื่นนอกเหนือจากการแชท และมีอายุเพียง 10 ปีเท่านั้น

ฟีเจอร์การใช้งานที่เน้นความเป็นส่วนตัว

แต่อย่างไรก็ตามฟีเจอร์การใช้งานของ Telegram เองก็ถือว่ามีให้เลือกใช้งานอย่างมากมาย ทั้งฟีเจอร์การโทรกลุ่ม (หรือที่ Telegram เรียกว่า Group Audio Call) ที่สามารถนำไปใช้งานในลักษณะ Podcast อย่างแอพ Clubhouse หรือ Discord ทั้งในกลุ่มและแชนแนล เช่นกันกับที่สติกเกอร์ดุ๊กดิ้กที่ผู้ใช้งานสามารถอัพโหลดแพ็กสติกเกอร์หรือหาดาวน์โหลดจากแชทเพื่อน, ผ่านภายในแอพ หรือเว็บไซต์ที่แจกสติกเกอร์ได้ด้วยตนเองโดยไม่ต้องกลัวไวรัสหรือเปลืองพื้นที่จัดเก็บเครื่อง ซึ่งทั้งหมดนี้เราก็จะมาแนะนำกันในสตอรีนี้ครับ

อ่านต่อฉบับเต็ม
สำหรับใครที่ต้องการทำความรู้จักกับ Telegram ให้มากขึ้นกว่านี้ ก็สามารถอ่านได้ที่สตอรี: Telegram คืออะไร? ทำไมต้องเปลี่ยนมาใช้?

Telegram นั้นให้บริการฟรีโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายในการใช้งาน ไม่มีโฆษณาและไม่ขายข้อมูลส่วนบุคคล ซึ่งปัจจุบัน (จากวันที่ได้เขียนสตอรีนี้) ทาง Telegram ยังไม่มีวิธีการในการหารายได้เข้าสู่บริษัทฯ แต่จะมีเพียงเงินทุนตั้งต้นจากผู้ก่อตั้ง Telegram เท่านั้นที่เอาไว้จ่ายค่าบำรุงรักษาและใช้งานบริการทั้งหมดของ Telegram

โฆษณา

และนอกจากนี้การทำงานที่ลื่นไหลและการรองรับอุปกรณ์ทั้ง iOS, Android, PC, Web, macOS นั้นก็ทำให้ Telegram นั้นสามารถชนะคู่แข่งอย่าง Facebook Messenger และก็ทำงานได้ดีกว่า Line ที่ปัจจุบันยังทำงานในรูปแบบเก่า อย่างการไม่สามารถแก้ไขข้อความ การลบแชทเก่าที่เปลืองพื้นที่ไปเก็บไว้บนระบบคลาวด์อัตโนมัติ แชทไม่หายเมื่อเปลี่ยนเครื่องหรือลบแอพ และอื่น ๆ อีกมากมาย

วิธีสมัครใช้งาน Telegram

เพื่อน ๆ สามารถดาวน์โหลด Telgram ได้ทั้งระบบปฏิบัติการ iOS (iPhone / iPad), Android, PC (Desktop), Linux, macOS ได้ที่ App Store, Mac App Store, Google Play Store, Windows Store หรือดูตัวเลือกการดาวน์โหลดทั้งหมดได้ที่เว็บไซต์ https://telegram.org/apps หรือใช้งาน Telegram ผ่านเว็บไซต์ https://web.telegram.org/ ก็ได้เช่นเดียวกัน

สิ่งที่ผู้ใช้งานต้องมีเพื่อสมัครบัญชีผู้ใช้งาน Telegram คือ “เบอร์โทรศัพท์ที่ใช้งานได้” โดยให้ทำการกรอกเบอร์โทรศัพท์ (ตรวจสอบและกรอกรหัสประเทศให้ดีด้วยนะครับ) และทาง Telegram ก็จะมีการส่ง SMS สำหรับรหัสใช้งานครั้งเดียว (OTP) มาให้ ซึ่งเพื่อน ๆ ต้องกรอกในขั้นตอนถัดไป

โฆษณา
อ่านต่อฉบับเต็ม
สำหรับวิธีการดาวน์โหลด Telegram และลงชื่อเข้าใช้งานก็สามารถอ่านต่อได้ที่สตอรี สอนวิธีดาวน์โหลดและสมัครใช้งาน Telegram

เปรียบเทียบ Telegram กับแอพแชทอื่น ๆ

ในสตอรีนี้เราก็ได้พูดถึงเนื้อหาเกี่ยวกับ Telegram กันไปเรียบร้อยแล้ว แต่อีกหนึ่งอย่างที่เราก็อยากจะพูดถึงเช่นกันนั่นก็คือเรื่องของการเปรียบเทียบ Telegram และแอพฯ แชทอื่นที่ถือว่าเป็นคู่แข่งของ Telegram เลยก็ว่าได้อย่างเช่น Line และ Facebook Messenger ว่าเมื่อเปรียบเทียบกันแล้วอันไหนดีกว่ากัน?

ต้องท้าวความมาตั้งแต่การใช้ Line กันก่อน ว่าในช่วงศักราชที่ผู้ใช้งานพวก Blackberry และ Hotmail ได้เริ่มมีการใช้งาน Line ที่ ณ ตอนนั้นดีกว่าเพราะมีสติกเกอร์ให้ใช้งาน และสามารถส่งข้อความระหว่างระบบปฏิบัติการได้ จนตอนนี้ได้กลายมาเป็นแอพฯ แชทเริ่มต้นของคนไทยไปแล้ว

ส่วน Facebook Messenger นั้นก็ได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่องจากการใช้งาน Facebook ที่สูงขึ้นและเป็นตัวเลือกที่น่าจะเหมาะสมที่สุดสำหรับฟีเจอร์ต่าง ๆ ที่ Line ไม่มีให้ใช้ แม้ว่าแพลตฟอร์มนี้จะไม่มีสติกเกอร์หรือธีมให้เลือกใช้งานเยอะเท่า Line แต่ดูเหมือนว่าบางคน (รวมไปถึงผมด้วย) ก็ไม่ซีเรียสอะไรเพราะทำงานได้เหมาะสมกับความต้องการมากกว่า

Telegram vs. Line อันไหนดีกว่ากัน?

หนึ่งเลยคือเรื่องของการรองรับอุปกรณ์หลายเครื่อง เพราะในปัจจุบันหลาย ๆ คนก็น่าจะมีอุปกรณ์ที่สามารถเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตเป็นของตัวเองมากกว่าหนึ่งเครื่องกัน ทั้ง PC, สมาร์ทโฟน, แท็บเล็ต ซึ่งน่าจะมีไม่ใช่น้อยเลยที่แต่ละคนจะมีอย่างน้อย 2 เครื่องขึ้นไป และบางคนก็สามารถแตะ 4-5 เครื่องได้อย่างง่ายดาย ซึ่ง Line เองนั้นจำเป็นต้องใช้สมาร์ทโฟนให้ทำหน้าที่เป็นเครื่องหลักในการทำงานอยู่ตลอดเวลา ทำให้ Line เองไม่สามารถจะเชื่อมต่อกับหลาย ๆ อุปกรณ์โดยไม่สร้างปัญหาในการล็อคอินได้เลย และเมื่อเปรียบเทียบกับ Telegram ที่เพื่อน ๆ สามารถใช้งานได้หลายอุปกรณ์พร้อม ๆ กัน และยังสามารถใช้งานบน Website โดยไม่ต้องมีเงื่อนไขอะไรมากมาย นั้นก็เรียกว่า Line นั้นแพ้ขาดเลยหล่ะครับ

อีกหนึ่งหัวข้อเลยที่ผมมองว่าสำคัญเช่นกันนั่นคือเรื่องของการส่งข้อความ โดยที่ Line นั้นไม่มีนโยบายในการเก็บแชทเอาไว้ ทำให้เมื่อเราได้ทำการลบเครื่องไป (และไม่ได้ทำการ Backup ด้วย) แชททั้งหมดก็จะหายทันที และนั่นเองก็รวมไปถึงรูปภาพที่ผู้ใช้งานส่งมาให้เช่นกัน ที่ไฟล์รูปเหล่านั้นก็จะกินพื้นที่จัดเก็บบนเครื่องไปเรื่อย ๆ ซึ่งผมเองก็เห็นคนที่มีแชทแล้วกินพื้นที่โทรศัพท์ 10 GB เข้าไปแล้ว

แต่ Telegram นั้นจะมีการลบแชทบนเครื่องให้โดยอัตโนมัติ และสามารถตั้งได้ว่าจะเก็บแชทบนเครื่องเอาไว้นานแค่ไหน หรือใช้พื้นที่เท่าไหร่ไปแล้ว ทำให้เพื่อน ๆ สามารถประหยัดพื้นที่ในเครื่องไปได้เยอะเลยหล่ะ และเมื่อต้องการอ่านแชทย้อนหลังก็สามารถทำได้เลย แชทที่ผมได้คุยกับเพื่อนในปี 2016 ก็ยังอยู่ให้อ่านเลยครับ เจ๋งแค่ไหนหล่ะ?

Telegram vs. Facebook Messenger อันไหนดีกว่ากัน?

เมื่อเราเอาทั้งสองบริการมาเปรียบเทียบกัน ทาง Facebook นั้นถือว่าได้เปรียบตรงเรื่องของการเชื่อมต่อระหว่างแต่ละบริการของ Facebook อื่นอย่างเช่น Instagram และ Snapchat ที่ผู้ใช้งานจะสามารถใช้งานด้านการแชทระหว่างแอพฯ โซเชียลได้ดีกว่า และนั่นก็คือเรื่องที่ทาง Telegram นั้นจะไม่สามารถสู้ได้เลย นั่นคือ “คอนเน็กชัน” ที่ตอนนี้สังคมไทยเหมือนว่าจะเป็นการบังคับให้มีบัญชีผู้ใช้งาน Facebook อยู่แล้ว

แต่สำหรับความเป็นส่วนตัวและความปลอดภัยของ Telegram แล้ว หนึ่งอย่างเลยที่สามารถเห็นได้ชัดเจนเลยคือเรื่องของโฆษณา ที่ทาง Telegram นั้นไม่มีแสดงบนหน้าจอเลยทั้งสิ้น แต่ Facebook Messenger นั้นนอกจากจะตามไปหาจากในแชทแล้ว ก็ยังตามไปใน Feed ของ Facebook และบริการอื่น ๆ อีกด้วย สำหรับใครที่เป็นห่วงเรื่องความเป็นส่วนตัวและไม่ชอบโฆษณาแบบเจาะจงตัวบุคคล (Targeted Ads) ที่อาจจะทำให้เราใจอ่อนและกดซื้อได้ 😀 คงจะต้องเลือกที่จะปฏิเสธการใช้ Facebook ไปหล่ะครับ


ข้อมูลอ้างอิง
โฆษณา

Share this post

About the author