นอกจากรัฐบาลของประเทศไทยในยุคลุงตู่ ที่ได้ออกออกมาแสดงท่าทีในการต่อต้านการใช้งานช่องทางการสื่อสารอย่าง Telegram ที่เป็นแอพฯ ต่างประเทศและไม่มีบริษัทจัดตั้งในประเทศไทย จึงเป็นไปได้ยากที่จะควบคุม “ภัย” ตามความเข้าใจของเจ้าหน้าที่รัฐฯ ที่ได้ออกมาประกาศเช่นนั้น

พร้อมทั้งในปี 2020 ที่ทางกลุ่มผู้ชุมนุมก็ได้มีการเปิดช่องทางการสื่อสารและกระจายข้อมูลที่นอกเหนือจากเฟสบุ๊คเพราะมีความเป็นไปได้ว่าจะถูกปิดกั้นเนื้อหาหรือถึงขั้นที่ต้องขอให้ปิดกลุ่มหรือเพจ จึงเป็นตัวเลือกที่ดีในการสร้างช่องทางสำรองสำหรับการสื่อสาร และก็ได้เลือกใช้งาน Telegram เป็นช่องทางหลักในช่วงเวลานั้น แต่ประเทศไทยเองก็ไม่ใช่ประเทศแรกที่มีการออกมาต่อต้านเช่นนี้

ในประเทศอื่น ๆ1 โดยเฉพาะประเทศที่ต้องการปิดกั้นการสื่อสารหรือต้องการตรวจสอบข้อความของผู้ใช้งานในประเทศก็ได้มีการแบน Telegram ทั้งสิ้น โดยมีประเทศที่ได้มีการออกมาแบนหรือตั้งเงื่อนไขกับ Telegram เช่นประเทศอาเซอร์ไบจาน (ปลดแบนแล้วเมื่อ 10 พฤษจิกายน 2020), บาห์เรน, เบลารุส, สาธารณรัฐประชาชนจีน, อิหร่าน, ปากีสถาน, อินเดีย, อินโดนีเซีย (ปลดแบนแล้วเมื่อเดือนสิงหาคม 2017), รัสเซีย และก็มีการใช้งานแอพ Telegram อย่างจริงจังกับกลุ่มผู้ชุมนุมในประเทศฮ่องกง

1ข้อมูลอ้างอิงประเทศจาก Wikipedia และ Freshers Live

โฆษณา

เหตุผลหลักที่ Telegram ได้ถูกเลือกโดยกลุ่มผู้ชุมนุม นอกเหนือจากฟีเจอร์การใช้งานที่น่าสนใจ ใช้งานง่าย และสามารถส่งต่อข้อความได้อย่างรวดเร็วแล้ว สิ่งหนึ่งที่สำคัญเช่นกันก็คือการออกแบบระบบทั้งหน้าบ้านและหลังบ้านของ Telegram ที่สร้างมาเพื่อปกป้องความเป็นส่วนตัว ทั้งการใช้บริการทางอินเตอร์เน็ตที่เลียนแบบการออกแบบเครือข่ายสำหรับธุรกิจและองค์กรเช่น AWS, Google Cloud Platform และโครงข่ายที่มีทดแทนอยู่ทั่วโลก ทำให้เจ้าหน้าที่เองนั้นก็ไม่สามารถตัดเชื่อมต่อได้หมด และถ้าหากว่าตัดจริงผู้ได้รับผลกระทบก็จะเป็นรัฐฯ เสียเองที่อาจจะโดนพ่วงเล่ไปด้วย

อย่างไรก็ตาม Telegram ก็เป็นเพียงอีกแอพลิเคชันที่ผู้ใช้งานสามารถใช้เพื่อการสื่อสาร แต่ก็โดนพ่วงโดยคนที่รัฐฯ กำลังต่อต้านด้วยเท่านั้น การใช้ Telegram ในการสื่อสารในกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งรวมไปถึงผู้ชุมนุมจึงไม่ใช่ประเด็นหลักในการเลือกใช้หรือมีท่าทีปฏิเสธการใช้แอพฯ

Telegram โดนรัสเซียแบน แต่แบนไม่ได้

เหตุนี้เอง ทางการของรัสเซีย (ที่ถือว่าเป็นประเทศต้นกำเนิดของแอพฯ Telegram) จึงได้มีการหาช่องทางในการปิดกั้นผู้ใช้งานจากการใช้แอพ Telegram ทั้งการบล็อคเลข IP Address หรือการแก้โดเมน (DNS) เพราะบริษัทฯ ไม่ให้ความร่วมมือในการส่งข้อความของผู้ใช้งานทั้งหมดให้กับประเทศ แต่ก็ไม่เป็นผลเพราะว่า Telegram เองก็มีช่องทางในการหลบหลีกการแบนเช่นกัน

โฆษณา

และ Telegram เองนั้นก็มีฐานผู้ใช้งานหลักอยู่ในประเทศรัสเซียอยู่แล้ว ทำให้การแบนที่ว่านั้นไม่เป็นผล หนำซ้ำเจ้าหน้าที่รัฐ และกระทรวงต่าง ๆ ของรัสเซียเองก็ใช้แอพฯ Telegram แม้ว่าจะอยู่ในช่วงของการแบน Telegram ในประเทศ สุดท้ายในปี 2018 ทางสำนักงานอัยการสูงสุดของประเทศฯ ก็ได้ออกมายกเลิกการแบน เพราะทาง CEO ของ Telegram อย่าง Pavel นั้นได้มีการออกมาให้คำสัญญาที่จะสนับสนุนการต่อต้านการก่อการร้าย

โฆษณา

Share this post

About the author