แม้การติดเชื้อภายในประเทศจะเป็นศูนย์แล้ว แต่การควบคุมให้เศรษฐกิจนั้นป่วยลงไปด้วยนั้นก็ยังไม่มีประเทศในอาเซียนไหนที่สามารถควบคุมการดิ่งยวบของเศรษฐกิจปีนี้ไปได้

การพ่วงระบบเศรษฐกิจมากเกินไป

ตัวอย่างการพ่วงด้านระบบเศรษฐกิจตัวอย่างเช่นด้านการท่องเที่ยว ในประเทศไทยประเทศเดียวก็มีการพ่วง GDP ของประเทศไว้กับการท่องเที่ยวเป็นจำนวนมาก และด้วยเหตุการณ์ที่คนต่างชาตินั้นไม่สามารถบินเข้าประเทศได้ และสถานการณ์ด้านการแพร่ระบาดภายในประเทศก็ทำให้ประเทศไทยนั้นได้รับผลกระทบอย่างเต็มอึก จากข้อมูลของ UNCTAD แล้ว ประเทศไทยมีการปรับลดด้าน GDP สูงกว่าประเทศอื่น ซึ่งมีการพูดถึงเหตุผลด้านการปรับลดและเหตุผลนั่นคือด้านการท่องเที่ยวที่หายไปนั่นเอง

ข้อมูลจาก UNCTAD

UNCTAD คาดการณ์ไว้ว่าสถานการณ์ไวรัสระบาดตลอด 12 เดือนนี้จะทำให้ตลาดการท่องเที่ยวนั้นได้รับผลกระทบถึง 3.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 4.2% ของ GDP ทั่วโลกอีกด้วย ซึ่งโดยปกติแล้วตลาดการท่องเที่ยวนั้นเป็นตลาดที่มีขนาดใหญ่และสามารถทำเงินได้ถึง 1.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

และนั่นส่งผลต่อการจ้างงานของลูกจ้างที่อยู่ในตลาดการท่องเที่ยวที่ได้รับผลกระทบอีกด้วย ด้วยเหตุผลว่าตลาดนั้นไม่จำเป็นที่จะต้องจ้างพนักงานเป็นจำนวนมากเพื่อบริการลูกค้าที่มีจำนวนน้อยอย่างใน ณ เวลานี้ ด้วยระดับความรุนแรงที่ตั้งแต่การทำงานน้อยลง การทำงานที่ได้รับค่าแรงลดลง หรือแม้กระทั่งการเลิกจ้าง

ข้อมูลจาก UNCTAD

และ UNCTAD ได้ทำการกล่าวถึงตลาดแรงงาน โดยเฉพาะผู้หญิง ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วจะมีผู้หญิงมาดูแลในส่วนของงานบริการเป็นจำนวนมาก และเป็นผู้บริหารโรงแรมก็มากเช่นเดียวกัน พร้อมกันนั้นในหลายๆ ประเทศนั้นไม่มี safety net ให้กับพนักงานระดับล่างอีกด้วย ทำให้พวกเขานั้นได้รับผลกระทบอย่างจัง

การส่งออกที่แทบจะชะงัก

เพราะด้วยหลายประเทศในกลุ่มภูมิภาคอาเซียนนั้นพึ่งพิงกับลูกค้าต่างประเทศ โดยเฉพาะสหรัฐและจีนเป็นอย่างมาก แต่ด้วยเศรษฐกิจที่ซบเซา มาตรการในการส่งออกที่เข้มข้นขึ้น พร้อมทั้งต่างประเทศที่มีมาตรการในการนำเข้าที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อก็ยิ่งทำให้สถานการณ์ในการส่งออกของประเทศอย่างอินโดนิเซียนั้นได้เจอปัญหาอย่างจัง

แต่ด้วยว่าในหลายประเทศนั้นยังคงผ่อนปรนด้านการจัดการโลจิสติกส์ ก็อาจจะทำให้การส่งออกนั้นไม่ได้รับผลกระทบโดยตรงเท่าที่ควร โดยในส่วนนี้เป็นการตัดสินใจของรัฐบาลแต่ละประเทศที่จะเลือกว่าจะเปิดหรือไม่เปิดท่อน้ำเลี้ยงอย่างไร

สำหรับประเทศไทยแล้ว ก็ได้รับผลกระทบเช่นกัน แต่ในด้านธนาคารแห่งประเทศไทยนั้นพยายามแก้ไขปัญหาด้านการส่งออกด้วยการลดค่าเงินเพื่อให้ราคานั้นเป็นที่น่าดึงดูดของผู้ซื้อมากขึ้น แต่ก็จะต้องแลกกับการที่ทางสหรัฐนั้นได้เริ่มทำการตรวจสอบว่าประเทศไทยนั้นใช้มาตรการในการโจมตีอัตราแลกเงินของประเทศไทย-สหรัฐอยู่หรือไม่

โซเชียล เซฟตี้ เน็ท (Social Safety Net) ที่ตื้นไป

โซเชียล เซฟตี้ เน็ท หรือที่ประเทศไทยนั้นอาจจะเรียกกันว่าประกันสังคม โดยมาตรการนี้เป็นการอุ้มลูกจ้างไม่ให้พบเจอปัญหาด้านเศรษฐกิจและเริ่มประหยัดเงิน ตัวอย่างเช่นการช่วยเหลือด้านเงินเดือนของพนักงาน และสวัสดิการของพนักงาน ซึ่งประเทศไทยเองก็มีการใช้ประกันสังคม โดยใช้เงินมาผ่อนปรนความตึงเครียดที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน

แต่หากว่าประเทศใดนั้นมีโซเชียล เซฟตี้ เน็ทที่ตื้นเกินไป ก็จะเห็นเศรษฐกิจที่ซบเซา ไม่ซื้อของใหญ่ และพอได้เงินมาก็จะเก็บเป็นเงินเก็บอย่างเดียว ไม่ได้นำออกมาใช้งานเหมือนเคย เพราะด้วยเหตุผลว่าพนักงานนั้นไม่มั่นใจว่าหากถูกเลิกจ้างจะเป็นอย่างไร หากถูกลดเงินเดือนหรือมีรายได้ลดลงแล้วจะเป็นอย่างไร การประหยัดเงินและเก็บหอมรอมริบนั้นจึงเป็นคำตอบของปัญหา

การอุ้มประชากรที่มีรายได้น้อยเพียงอย่างเดียวนั้นก็อาจจะไม่เป็นการแก้ไขได้อย่างเต็มรูปแบบ เด็กจบใหม่ พนักงานปัจจุบันที่มีงานทำอยู่ หรือกลุ่มประชาชนที่เปราะบางนั้นก็ได้รับผลกระทบเช่นกัน เพราะไม่สามารถที่จะเตร็ดเตร่ไปทำให้เศรษฐกิจนั้นดีขึ้นได้ เพียงแค่ว่าไม่มีเงินสนับสนุนเพื่อให้เกิดการใช้สอยนั่นเอง แต่นั่นเป็นเพียงการกระตุ้นเศรษฐกิจที่รวดเร็วและระยะสั้นมาก

และการที่มีประชาชนเป็นจำนวนมากนั้นเข้าโหมดเก็บเงินอย่างเดียวแล้ว ธนาคารนั้นก็จะมีโจทย์ยากว่าจะเอาเงินเยอะๆ นี้ไปทำอะไร และจะทำอย่างไรเพื่อให้นำไปชำระเป็นดอกเบี้ยเงินฝากให้กับลูกค้าอีกด้วย

แล้วจะมีโอกาสฟื้นตัวหรือไม่

“Generally for the region … it’s somewhat of a U-shape recovery at best, I would say, because it’s still full of uncertainty and I think the risks are still tilted to the downside,” — Euben Paracuelles, Nomura’s chief Asean economist

การคาดการณ์ด้านการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของคุณ Paracuelles นั้นคาดว่าประเทศอาเซียนนั้นจะเป็นรูปตัว U นั่นคือการที่ตอนนี้ก็จะอดอยากตายอยาก และเมื่อเวลาเหมาะสม สถานการณ์เหมาะสม เศรษฐกิจกก็จะกลับมาเป็นเหมือนเดิมนั่นเอง

แม้ประเทศไทยนั้นมีความพร้อมทุกอย่าง พร้อมเปิดประเทศและเริ่มเข้าสู่การฟื้นตัวกลับมาเป็นเหมือนเดิม ก็ไม่สามารถลืมได้ว่าประเทศเรานั้นอาจจะเจอการแพร่ระบาดในระรอกที่สอง หรือการติดเชื้อโดยนักท่องเที่ยวที่ได้รับการผ่อนปรนมาตรการจากทางรัฐก็อาจจะทำให้เรานั้นฟื้นตัวทันที หรือนอนนึ่งเลยก็ได้เช่นกัน

ภาพประกอบจาก nwm.com

ข้อมูล

เนื้อหาหลักจาก CNBC

ข้อมูลเบื้องลึกด้านผลกระทบทางเศรษฐกิจโดย UNCTAD

ข้อมูลด้านการคาดการณ์ประเทศในอาเซียนจาก https://asean.org/storage/2020/04/ASEAN-Policy-Brief-April-2020_FINAL.pdf

ภาพประกอบจาก Claudio Schwarz | @purzlbaum บน Unsplash

โฆษณา

Share this post

About the author