จากการประกาศของทาง Google ในวันที่ 11 พฤศจิกายน 2020 ว่าจะมีการจัดการพื้นที่ยกแผง ทั้งผู้ใช้งานทั่วไปและลูกค้าองค์กร พร้อมกับการเปิดตัว Google Workspace ที่เปลี่ยนวิธีการทำงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ด้วยค่าบริการเท่าเดิม
Google ได้ออกมาอธิบายการเปลี่ยนแปลงพื้นที่จัดเก็บนี้ก็เพื่อให้บริการผู้ใช้งานด้วยประสบการณ์ที่ดียิ่งขึ้นและเพื่อการจำกัดการเติบโตของความต้องการใช้งานที่จัดเก็บมากขึ้นที่ปัจจุบันมีถึงวันละ 4.3 PB (4.3 ล้านกิกไบต์) อีกด้วย
ส่วนผู้ใช้งานอย่างเราก็ได้รับผลกระทบไปด้วยเช่นกัน ที่จากเดิมเราสามารถใช้งานพื้นที่จัดเก็บสำหรับไฟล์และรูปบางประเภทได้ไม่อั้น แต่ตอนนี้หมดช่วงโปรโมชันแล้ว ในสตอรีนี้เราจะมาพูดถึงว่ามีอะไรเปลี่ยนไป และวิธีการแก้ปัญหาพื้นที่จัดเก็บไม่เพียงพอกันครับ
แล้วมีอะไรเปลี่ยนไปบ้าง
Google Photos
นอกจากวิดีโอ (มากกว่า 1080p) และภาพคุณภาพระดับ Original Quality ที่จัดเก็บพื้นที่ตามเดิมแล้ว คุณภาพระดับ High Quality (รูปและวิดีโอที่ถูกย่อขนาด) และ Express Backup (รูปและวิดีโอย่อขนาดเป็นพิเศษ) ก็จะถูกคิดพื้นที่อีกด้วย
โดยรูปคุณภาพระดับ High Quality และ Express Backup จะคิดพื้นที่เพียงรูปที่อัปโหลดตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2021 เป็นต้นไปเท่านั้น
ผู้ใช้งานทั่วไปอาจจะยังไม่ต้องรีบแตกตื่น เพราะ 80% ของผู้ใช้งาน Google นั้นมีแนวโน้มว่าจะใช้งานตามปกติด้วยพื้นที่จัดเก็บฟรีได้ยาวนานถึง 2–3 ปีก่อนที่พื้นที่จะเต็ม
และสำหรับผู้ใช้งาน Google Pixel เดิม (รุ่นที่สูงกว่า Pixel 5) ก็จะได้ข้อเสนอในการเก็บรูปและวิดีโอแบบ High Quality แบบไม่จำกัดและ Original Quality ตามเวลาเดิม
Google Drive — Google Docs
แต่เดิมการใช้งาน Google Drive จะคิดพื้นที่จัดเก็บไฟล์ทั่วไป (ไม่ใช่ไฟล์ของบริการ Google) ตั้งแต่ 1 มิถุนายน 2021 (หรือ 1 กุมภาพันธ์ 2022 สำหรับลูกค้า Google Workspace) จะรวมไฟล์ที่เป็นบริการของ Google เข้าไปด้วย
โดยบริการประเภทนี้รวมไปถึง Google Docs, Google Sheets, Google Slides, Google Drawings, Google Forms, Google Jamboard ที่มีการสร้างไฟล์หรือแก้ไขไฟล์โดยผู้ใช้งานใดๆ หลังจากวันที่ 1 มิถุนายน 2021 (หรือ 1 กุมภาพันธ์ 2022 สำหรับลูกค้า Google Workspace) โดยเจ้าของไฟล์ (Owner) จะต้องรับผิดชอบพื้นที่จัดเก็บใหม่ทั้งหมด
ถ้าพื้นที่จัดเก็บเต็มจะเกิดอะไรขึ้น?
หากว่าเพื่อนๆ ใช้งานเกินพื้นที่จัดเก็บ เพื่อนๆ จะไม่สามารถ
- อับโหลดไฟล์/รูปบน Google Drive
- อับโหลด/แบ็คอัพ รูปและวิดีโอบน Google Photos
- รับ/ส่งอีเมล์บน Gmail
- สร้างไฟล์ แก้ไข ทำสำเนาไฟล์ Google Docs, Sheets, Slides, Drawings, Forms, Jamboard ที่ผู้ใช้งานเป็นเจ้าของ/จัดเก็บ
- แบ็คอัพสมาร์ทโฟน (Android เท่านั้น) ได้
และอาจถูกบังคับลบไฟล์ทั้งหมดโดยอัตโนมัติ หาก
- บริการใดไม่ได้ถูกใช้งาน (Inactive) เกิน 2 ปี
- หรือใช้พื้นที่จัดเก็บเกิน 2 ปี (นับจากเวลาที่มีพื้นที่จัดเก็บเกิน)
โดยทาง Google จะทำการแจ้งเตือนล่วงหน้าให้กับผู้ใช้งานว่าพื้นที่จัดเก็บนั้นไม่เพียงพอผ่านอีเมล์หรือ/และวิธีแจ้งเตือนอื่นๆ เพื่อให้เพื่อนสามารถเลือกที่จะจัดการพื้นที่จัดเก็บหรือ/และดาวน์โหลดไฟล์ที่อยู่บนพื้นที่จัดเก็บ ก่อนที่ไฟล์จะถูกจัดการโดยอัตโนมัติ
แล้วตอนนี้ใช้ไปแล้วเท่าไหร่หล่ะ?
หากว่าเพื่อนๆ ต้องการจะเช็คว่าตัวเองใช้งานพื้นที่จัดเก็บไปแล้วเท่าไหร่ก็สามารถเข้าไปที่ตัวเลือก Google One และเลือกคำว่า ‘Storage’ จากแท็บด้านข้าง เพื่อดูว่าบริการไหนที่เราใช้ไปมากที่สุด ด้วยจำนวนเท่าไหร่
วิธีใช้เงินแก้ปัญหาพื้นที่จัดเก็บไม่พอ
โลกนี้หมุนได้ด้วยเงินจริงๆ สำหรับเพื่อนๆ ที่ยังต้องการเก็บไฟล์เหมือนเดิมก็สามารถทำได้ด้วยวิธีดังนี้ครับ
ซื้อพื้นที่จัดเก็บเพิ่มผ่านบริการ Google One (สำหรับผู้ใช้ทั่วไป)
Google One เป็นบริการสมัครสมาชิกทั้งแบบรายเดือนและรายปี ซึ่งจะทำให้เพื่อนๆ สามารถใช้งานฟีเจอร์เพิ่มเติมเฉพาะผู้ใช้บริการฯ (รอประกาศในอนาคต) และมอบพื้นที่จัดเก็บกับบัญชีผู้ใช้งานสูงสุดถึง 2TB โดยค่าสมัครเริ่มต้นเพียงเดือนละ 70 บาทสำหรับพื้นที่จัดเก็บ 100GB และมอบส่วนลด 20% (เท่ากับใช้ฟรี 2 เดือน) สำหรับการสมัครสมาชิกด้วยข้อเสนอรายปี
ผู้ใช้งานทั่วไปจะได้รับ 15GB และซื้อแผน Google One เพิ่มอีก 85GB, 185GB, 1986 GB ให้กลายเป็น 100GB, 200GB หรือ 2TB พร้อมกับโปรโมชันอื่นๆ ที่มีการเพิ่มปริมาณการจัดเก็บก็จะบวกเข้าไปจากจำนวน 100GB, 200GB และ 2TB
และพื้นที่จัดเก็บนี้ สามารถแชร์ร่วมกับเพื่อนหรือครอบครัวได้สูงสุด 5 คน (รวมผู้สมัครบริการเป็น 6) โดยไม่ต้องเสียค่าบริการเพิ่มเติมอีกด้วย พร้อมทั้งฟีเจอร์สำหรับการแชร์ที่จะเพิ่มมาสำหรับการใช้งานแบบหลายผู้ใช้งาน เช่นการแชร์อัลบั้มในวง (Shared Album) ที่จะแถมมาเป็นต้น โดยพื้นที่จัดเก็บแบบกองกลาง (Pooled Storage) ขนาด 85GB, 185GB, และ 1986 GB ตามแผน Google One ที่เพื่อนๆ ซื้อพร้อมกับ 15GB ของแต่ละคนที่ยังได้ฟรี (พื้นที่จัดเก็บส่วนตัว) เหมือนเคย
โดยการสมัคร Google One นั้นจะเหมือนการสมัครสมาชิกบน Google Play Store ด้วยวิธีชำระเงินเดียวกันกับ Google Play Store ตัวอย่างเช่น บัตรเครดิต, บัตรเดบิท, บัตรเติมเงิน Google Play Store, พร้อมเพย์ (PromptPay), True Money Wallet, AirPay, PayPal, หรือตัดผ่านบริการรายเดือนของค่ายบริการมือถือ (AIS, TrueMove, Dtac) และช่องทางอื่นๆ ที่รองรับ โดยเพื่อนๆ สามารถเข้าไปดูได้ที่ศูนย์ความช่วยเหลือ Google Play
เปลี่ยนข้อเสนอบน Google Workspace (สำหรับลูกค้าองค์กร)
หากโดเมนองค์กรยังใช้ข้อเสนอแบบ G Suite อยู่ก็ไม่รอดเช่นกัน เพราะ Google จะทำการเปลี่ยนแปลงแผนมาเป็น Google Workspace ทั้งหมดเร็วๆ นี้ และลูกค้าใหม่ก็จะมีแผนให้เลือกตามปริมาณพื้นที่จัดเก็บดังนี้ครับ
- Business Starter ($6): พื้นที่จัดเก็บ 30GB (ส่วนตัว)
- Business Standard ($12): พื้นที่จัดเก็บ 2TB ต่อผู้ใช้งาน (แชร์ร่วมกัน)
- Business Plus ($18): พื้นที่จัดเก็บ 5TB ต่อผู้ใช้งาน (แชร์ร่วมกัน)
ด้วยเงื่อนไข ‘Business’ ว่ามีผู้ใช้งานสูงสุดเพียง 300 ผู้ใช้งาน หากใช้งานมากกว่านี้ก็จะต้องใช้แผน ‘Enterprise’ โดยมีให้เลือกตามปริมาณพื้นที่จัดเก็บดังนี้ครับ (ราคา Enterprise อ้างอิงจากเว็บไซต์ MasterConcept)
- Enterprise Essentials ($10): พื้นที่จัดเก็บ 1TB ต่อผู้ใช้งาน (แชร์ร่วมกัน)
- Enterprise Standard ($20): พื้นที่จัดเก็บไม่จำกัด
- Enterprise Plus ($30): พื้นที่จัดเก็บไม่จำกัด
โดยการเริ่มใช้งานข้อเสนอใหม่นี้จะแล้วแต่สัญญาเดิมที่ทำไว้กับ Google โดยเมื่อสัญญาเก่าหมดลง (สัญญารายเดือน รายปี หรือ เวลาที่กำหนด) ก็จะถูกเปลี่ยนมาเป็นข้อเสนอใหม่นี้โดยอัตโนมัติ
เมื่อเปรียบเทียบข้อเสนอเดิม (G Suite) กับข้อเสนอใหม่ก็จะมีการเปลี่ยนแปลงในปริมาณพื้นที่จัดเก็บที่จะกลายเป็นแชร์สำหรับทั้งองค์กรเท่านั้นเอง ดังนั้นอาจจะต้องเพิ่มเงิน (เปลี่ยนข้อเสนอให้สูงขึ้น) เพื่อแก้ปัญหาพื้นที่จัดเก็บไม่เพียงพอนั่นเอง
วิธีจัดการพื้นที่จัดเก็บไม่เพียงพอ
สำหรับสายฟรีไม่เติมเงินแล้ว หาก 15GB ที่ได้มายังไม่เพียงพอสำหรับเพื่อนๆ ทาง Google ก็ได้ทำการเปิดตัวฟีเจอร์อำนวยความสะดวกในการจัดการไฟล์ผ่านหน้าเว็บไซต์ Google One โดยภายในสตอรี่นี้เราก็ได้ทำการรวบรวมวิธีการจัดการไฟล์ต่างๆ เพื่อใช้พื้นที่จัดเก็บให้เป็นประโยชน์สูงสุดมาให้เพื่อนๆ อ่านแล้วครับ
ไล่ลบไฟล์ขนาดใหญ่หรือซ้ำซ้อน
ไฟล์บางอย่างอาจจะไม่มีความจำเป็นอีกต่อไป ดังนั้นเพื่อให้เพื่อนๆ ตัดสินใจในการลบไฟล์หรือเก็บไฟล์ Google ก็ได้ทำการค้นหาไฟล์ที่ ‘ใช้พื้นที่จัดเก็บอยู่’ ที่มีขนาดใหญ่ หรือไม่ได้เปิดนานแล้ว
ลบรูปซ้ำซ้อนหรือรูปเบลอ
ใน Google Photos นั้นก็มีฟีเจอร์ในการแสดงภาพ/วิดีโอที่มีขนาดใหญ่, รูปเบลอ, ภาพถ่ายหน้าจอ ที่อาจจะไม่ได้ใช้อีกแล้ว เพื่อนๆ ก็สามารถเข้าไปยังแต่ละหัวข้อเพื่อลบหรือปรับเปลี่ยนให้เป็นรูปแบบ High Quality เพื่อประหยัดพื้นที่จัดเก็บ
โดยสามารถเข้ามาหน้านี้ได้ผ่านหน้าเว็บไซต์ Google Photos และกดที่คำว่า Storage ตรงมุมด้านซ้ายหรือคลิกที่นี่ Manage storage — Google Photos
ลบไฟล์แนบอีเมล์ที่ไม่ได้ใช้แล้ว
เอกสาร สำเนา ใบเสร็จ ใบแจ้งหนี้ หรือเอกสารแนบต่างๆ นั้นมีขนาดที่ใหญ่มากและใช้งานพื้นที่จัดเก็บของเพื่อนๆ ดังนั้นเพื่อนๆ สามารถเข้าไปที่หัวข้อ Emails with large attachments เพื่อเข้าไปดูขนาดไฟล์และเลือกที่จะลบอีเมล์ (ถาวร) เพื่อประหยัดพื้นที่
ลบไฟล์ที่เคยแชร์ไว้บน Google Drive
หากว่าเพื่อนๆ เคยเข้าไปในแท็บ ‘Shared’ ก็จะพบว่ามีไฟล์จำนวนมากที่เราเองเคยแชร์เอาไว้ตั้งแต่ชาติปางก่อน (นานไปหรือเปล่านะ?!) แต่รู้หรือไม่ว่าไฟล์พวกนี้ยังใช้งานพื้นที่จัดเก็บของเราอยู่และยังไม่ได้ถูกลบอีกด้วย
วิธีการลบนั่นก็คือการเข้าไปยังแท็บ ‘Shared with me’ บน Google Drive และลบ ‘Remove’ ในไฟล์ที่เราเป็นเจ้าของนั่นเอง หรือใช้อุปกรณ์ที่ Google ให้มา โดยเป็นอันเดียวกันกับไฟล์ขนาดใหญ่นั่นเอง
ลบไฟล์ในถังขยะ
ข้อสุดท้ายแล้วครับ สำหรับการประหยัดพื้นที่จัดเก็บไฟล์ จะบอกว่าไฟล์, รูป และอีเมล์ที่อยู่ในถังขยะก็ยังถูกนับเป็นพื้นที่จัดเก็บอยู่ดี โดยปกติแล้ว Google จะทำการทิ้งถาวรให้โดยอัตโนมัติหากอยู่ในถังขยะเกิน 30 วัน แต่ถ้าอยากทิ้งทันทีก็สามารถเข้าไปยังถังขยะบน Google Photos, Google Drive, Gmail และกด ‘Empty Trash now’
เช่นกันที่ Google ก็ได้แสดงข้อมูลทั้งหมดไว้แล้วที่หัวข้อ ‘Discarded items’
บีบอัดรูปมาเป็น High Quality
หากว่าเพื่อนๆ เผลอไปอับโหลดรูปในคุณภาพระดับ Original เพื่อนๆ ก็สามารถเลือกจาก Original มาเป็น High Quality ได้ และ Google ก็จะทำการถามว่าต้องการที่จะบีบอัดรูปเพื่อประหยัดพื้นที่จัดเก็บหรือไม่
โดยหากว่าทำการบีบอัดแล้ว Google ก็จะลบรูปคุณภาพระดับ Original ให้ทันทีเพื่อประหยัดพื้นที่จัดเก็บ
หรือจะย้ายออกดี?
หากเพื่อนๆ คิดว่าราคาของ Google One นั้นสูงเกินไป เพื่อนๆ ก็สามารถเข้าไปอ่านสตอรีที่เกี่ยวข้องด้านล่างเพื่อประกอบการตัดสินใจ โดยเริ่มต้นอยู่ที่ 35 บาทสำหรับ 50GB (Apple iCloud) และ 69 บาทสำหรับ 100GB (Microsoft OneDrive)
แอพเก็บข้อมูลบนคลาวด์ต้องมี 2020. จัดการไฟล์ แชร์ไฟล์งาน… | by Kunanon S. | The Sunny Side | Medium
แต่ย้ำอีกรอบว่า Google One แชร์กับเพื่อนๆ อีก 5 คนได้นะ 😀
ข้อมูลจาก
- An update to storage policies across your Google Account (blog.google)Upcoming changes to how your Google storage worksStarting November 11, 2020, we are updating product policies for Google Photos, Gmail, and Google Drive (including…support.google.com
- Google Photos to end support for free unlimited storage starting June 1: What to keep in mind | Technology News,The Indian Express
- Google Workspace Updates: Changes to Google Workspace storage policies timeline (googleblog.com)
- Google Workspace Updates: Changes to Google Workspace storage policies starting June 1, 2021 (googleblog.com)
- Google Workspace Updates: Introducing Google Workspace for Education (googleblog.com)
- Choose the upload size of your photos & videos — Android — Google Photos HelpHow your existing storage works with Google OneGoogle One is a subscription plan that gives you more storage to use across Google Drive, Gmail, and Google Photos…support.google.com
- G Suite vs. Office 365: What’s the best office suite for business? | Computerworld
- G Suite is now Google Workspace — Google Workspace Admin Help