ปัญหาของโปรแกรมเมอร์นั่นคือ พอเราทำงานไป เราก็ต้องการที่จะไปทำอย่างอื่น ถูกต้องไหมครับ เช่นเราอยู่ใน Slack เราก็คุยงาน แต่พอเราจะทำงานจริงๆ เพื่อแก้ Issue เราก็ต้องเปิด Jira หรือ GitHub (หรีอบริการที่ทำหน้าที่ใกล้เคียง) เพื่อไปดู Issue แล้วก็ค่อยกลับไปคุยงานต่ออีก แล้วถ้ามีว่าจองเวลาประขุมอีก ก็ต้องเข้า Calendar เข้าไปอีก บอกเลยว่าถ้าเพื่อนๆ เป็นแบบนี้ ก็ต้องจ่ายซักเดือนละ $20 ต่อผู้ใช้งานต่อเดือนหล่ะครับ อันนี้ยังไม่รวมว่าจะมี CI/CD อีก มี wiki มี เขียนคุยกับฝ่ายอื่นอีก บอกเลยว่าแอบแพงอยู่เหมือนกัน

อีกทั้งว่าพอเรามีหลายอัน พนักงานในทีมก็อาจจะงงเอาใหญ่เลย ว่าอันไหนต้องใช้ยังไง แล้วมันเชื่อมบริการกันยังไง จะค้นหาอะไรซักอย่างก็ไม่รู้ว่าเพื่อนในทีมไปเก็บอันนั้นไว้ไหน มันอยู่ในแชท หรีอ issue หรือ request มันก็ยุ่งเหยิงกันไปหมดหน่ะสิครับ จะเขียนโปรแกรมแล้วจะไปดู Issue ก็ยากอีก ปัญหาสารพัด จะให้มันมีบริการเดียวที่ไปแล้วจอดเลยได้มั้ย’

แล้ววันนี้ผมมาขายอะไรกัน

Jetbrains Space คือบริการใหม่ล่าสุดจากผู้พัฒนาภาษา Kotlin และ IDE ชื่อดังอย่าง IntelliJ IDEA ที่จะมาทำหน้าที่เป็นตัวกลางและให้บริการมันซะทุกอย่างไปเลย

ฟีเจอร์ที่น่าสนใจ

สำหรับการพัฒนาซอฟท์แวร์ (Software Development)

นอกจากฟีเจอร์ที่ต้องมีอยู่แล้ว สำหรับการทำ Version Control แล้ว ก็ยังสามารถแยก Repository ออกมา และให้อยู่บนโปรเจ็กต์เดียวกันก็สามารถทำได้ รวมไปถึงการรองรับ Package Repository ที่เอาไว้จัดเก็บพวกคอนเทนเนอร์ (Container) ที่จะต้องใช้งานบ่อยๆ ได้อีกด้วย และนอกจากจะสามารถส่ง Pull/Merge Request ได้แล้ว Space ก็สามารถทำการรีวิวโค้ดของเพื่อนและเขียนคอมเมนท์แก้ไขได้

สำหรับจัดการและทำงานทีม (Team Management)

นอกจากฟีเจอร์พื้นฐานสำหรับการจัดการเวลาและทรัพยากรมนุษย์แล้วผ่านการใช้ Issue Board แล้ว ก็ยังสามารถมองเห็นว่าทีมนั้นแจ้งว่ากำลังทำอะไรอยู่ และรวมไปถึงการแจ้งขอลาหยุดหรือลาป่วย เพื่อให้ข้อมูลตารางเวลาของแต่ละคนเป็นปัจจุบันและหัวหน้าทีม

และฟีเจอร์อย่างการนัดประชุม ที่ก็จะเหมือนกับบริการปฏิทินทั่วไป แต่มันก็จะทำให้เราสามารถเห็นได้ว่าสมาชิกในทีมคนไหนกำลังติดประชุมอยู่ หรือวันนี้ลากิจ/ลาป่วยกันแน่

หากเพื่อนๆ มองจากภายนอกแล้ว ระบบนี้ก็เป็นเพียงระบบ HR ธรรมดาเท่านั้นเอง แต่การที่ JetBrains นำฟีเจอร์พวกนี้มาใส่ใน Space ก็จะทำให้ทั้งตัวหัวหน้าทีมเองและรวมไปถึงสมาชิกในทีมสามารถนำข้อมูลพวกนี้ไปจัดการเวลาและลดความยุ่งยากที่จะเกิดขึ้นจากการไม่ทำให้ข้อมูลเหล่านี้อยู่ในที่เดียวกัน

(Project management)

ปรับแต่งได้ตามใจชอบ

นอกจากผู้ใช้งานทั่วไปที่สามารถปรับเปลี่ยน Theme เป็นโหมดกลางวัน (Light) และกลางคืน (Dark) เพื่อให้เหมาะสมกับการใช้งานของผู้ใช้งานแล้ว

องค์กรที่ต้องการสร้างฟีเจอร์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของ JetBrains Space ก็สามารถจะใช้ภาษา Kotlin ในการเขียน Extension ตามความต้องการได้เลย หรือจะจัดการ API และ Webhook เพื่อให้สามารถทำงานร่วมกับระบบเดิมที่บริษัทมีอยู่ หรือจะเอาไว้เชื่อมต่อกับบริการภายนอกเพื่อทำงานร่วมกับ JetBrains Space

อย่างเช่นการเชื่อมต่อกับ JIRA ของบริษัทเพื่อให้ทั้งสองบริการนี้มีการ์ด Issue ที่ใช้รหัสร่วมกันและข้อมูลที่ถูกแก้ไขบน JetBrains Space ก็จะอัพเดทขึ้นบน JIRA ด้วย

แอพบนสมาร์ทโฟนก็มีเหมือนกัน

นอกจากจะมีบนเว็บไซต์และแอพฯ บนคอมพิวเตอร์แล้ว JetBrains Space ก็ยังมีเวอร์ชันสำหรับบนสมาร์ทโฟนอีกด้วย โดยก็จะสามารถใช้ฟีเจอร์อย่างการแชทและการแจ้ง Issue ใหม่ภายในโปรเจ็กต์ได้ผ่านแอพฯ เลย

แล้วเรื่องราคาหล่ะ

สำหรับเรื่องราคาแล้ว ก็จะมีให้เลือกถึง 2 แบบ นั่นก็คือการโฮสท์บนเซิฟเวอร์ส่วนตัว (เป็นการซื้อ License) หรือ จะใช้โฮสท์ของ JetBrains เองก็ได้เช่นกัน แต่ ณ ขณะนี้จะมีเฉพาะโฮสท์โดย JetBrains เท่านั้น โดยราคาก็จะเป็นตามนี้ครับ

โดยเฉพาะสายฟรีหรือต้องการทดลองใช้งาน Space ก็จะมีตัวเลือกฟรีตลอดชีพ โดยทาง JetBrains ก็จะให้เครดิตการคำนวณ CI มาถึง 2,000 CI Credits ต่อเดือน หรือเท่ากับ 83 วันเครดิต CI ต่อเดือน ซึ่งถือว่าให้มาเยอะมากเกินพอแน่นอนครับ พร้อมกับฟีเจอร์มาตรฐาน แม้ว่าจะไม่ได้เหมาะสำหรับการใช้งานฟรีกันทั้งองค์กรอะไรขนาดนั้น แต่ก็ถือว่าให้มาเพียงพอให้ผู้ใช้อัพเกรดมาใช้ฟีเจอร์ขั้นสูงและเครดิต CI ที่สูงขึ้นอย่างแน่นอน

และสำหรับผู้ใช้งานที่เป็นโรงเรียน มหาวิทยาลัย หรือองค์กรไม่แสวงหากำไร ก็จะได้ข้อเสนอราคาพิเศษอีกด้วย หรือหากว่าผู้ใช้งานต้องการซื้อเครดิตหรือพื้นที่จัดเก็บเพิ่มก็สามารถซื้อเพิ่มได้เช่นกัน โดยภายในเว็บไซต์ JetBrains Space ก็ได้ทำการอธิบายตัวเลือกแผนราคาและฟีเจอร์ที่จะได้ไว้แล้วครับ


ข้อมูลอ้างอิง
สนับสนุนโดย

Share this post

About the author