ถ้าหากว่าเราสามารถช่วยคนทั้งโลกจาก COVID-19 ด้วยคอมพิวเตอร์ของแต่ละคนได้ เพื่อนๆ จะเชื่อหรือไม่ แต่นี่กำลังเป็นจริงแล้วกับโปรเจ็กต์ Folding @ Home
ตอนนี้อาการของ COVID-19 ก็ดูเหมือนกับว่าจะไม่ลดลงไปเลย แม้จะมีผู้ป่วยลดลงก็ตาม แต่เราเองก็ประมาทไม่ได้ ว่าจะไปยกเลิกการทำ “อยู่ห่างทางสังคม” หรือว่า Social Distancing นั่นเอง จากคำเขียนของ Ed Young แล้ว เรานั้นมี 3 วิธี เพื่อที่จะทำให้โรคระบาด (หรือที่เรียกกันว่า Pandemic) หายไปจากโลก นั่นก็คือ
- วิธีที่น่าจะเป็นไปไม่ได้ Unlikely way
- วิธีที่เสี่ยงสุดๆ Dangerous way
- วิธีแก้ไขปัญหาในระยะยาว Long way
วันนี้ เราจะมาอธิบายอย่างคร่าวๆ สำหรับวิธีแบบแก้ไขในระยะยาวกันนะครับ ส่วนเพื่อนๆ ที่สนใจอ่านว่าอีกสองวิธีนี้คืออะไร แล้วมันคือการทำอย่างไร รอติดตามได้โดยการกด ‘Subscribe’ หรือติดตาม blog ต่อๆ ไปของผมกันนะครับ
The long way
เป็นวิธีที่ว่าเราจะต้องอยู่บ้าน และรอให้มีวัคซีนพร้อมใช้งานพร้อมกับว่าทุกคนต้องมีภูมิคุ้มกันกันทั้งหมด แต่แค่คำว่าต้องมีวัคซีนเนี่ยแหละก็ยากแล้วครับ เพราะวัคซีนที่ “ตัวนี้แหละที่สามารถทำให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันได้” ก็ใช้เวลาในการวิจัยและตรวจสอบความพร้อมใช้งานอย่างแพร่หลาย ก็ต้องใช้เวลาอย่างน้อย 12 ถึง 18 เดือนกันเลยที่เดียว เพราะว่าต้องนำไปใช้กับมนุษย์จริง พร้อมกับว่าต้องตรวจว่าวัคซีนนี้ต้องไม่ทำให้เกิดผลข้างเคียง พร้อมกับต้องป้องกันโรคได้อย่างแท้จริงอีกด้วย
แต่กว่าเราจะทำการหาว่าวัคซีนอันไหนนั้นทำงานได้ดีที่สุดมันก็นานอยู่เหมือนกัน แล้วทำไมเราจะเข้าไปช่วยในการหาวัคซีนไม่ได้หล่ะ สิ่งที่ผู้อ่านช่วยได้ในตอนนี้คือพลังการคำนวณของคอมพิวเตอร์นั่นเอง ด้วยโปรเจ็กต์ Folding@Home ครับ
หลักการณ์ของ Protein Folding
Protein Folding คือโครงสร้างของโปรตีนอย่างเช่นกรดอมีโน หรือ แอนติบอดี ซึ่งเราต้องการที่จะเข้าใจมัน ว่าโครงสร้างที่ถูกต้องของมันคืออย่างไร เพราะว่าโรคที่เกิดขี้นในตัวบุคคล เช่นโรคความจำเสื่อมนั้นก็อาจจะเกิดจากการพับกันของโปรตีนที่ไม่ถูกต้องนั่นเอง ซึ่งวิธีในการหาวิธีรักษาปัญหาการพับกันของโปรตีนที่ผิดก็คือการเข้าใจว่าการพับที่ถูกต้องจากคนที่ไม่ได้มีโรคนี้เป็นอย่างใด แล้วนำมาเปรียบเทียบกับคนที่มีโรคนี้อยู่และทำการแก้ไขให้ถูกต้องนั่นเอง แต่เพราะว่ามันมีรายละเอียดที่ซับซ้อนค่อนข้างมาก และอาจจะใช้เวลานานหากว่าทางผู้วิจัยจัดซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อมาเข้าใจโครงสร้างของโปรตีนนั่นเอง
โปรเจ็กต์ของ Folding@Home จึงเกิดขึ้น โดยการนำพลังการคำนวณของคอมพิวเตอร์อะไรก็ได้ (ทั้งเซิฟเวอร์ หรือแม้กระทั่งคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ) มาทำการตรวจสอบว่าการตรวจสอบโปรตีนของทางผู้วิจัยกับข้อมูลจริงนั้นถูกต้องหรือไม่ ด้วยหลักการณ์ Peer Review
วันนี้ผมจึงนำโปรเจ็กต์นี้มานำเสนอเพื่อนๆ เพื่อให้โปรเจ็กต์นี้หาวิธีการแก้ไขโจทย์การเข้าใจแอนติบอดี้ที่จะมาป้องกัน COVID-19 ในร่างกายนั่นเองครับ
Folding @ Home
โปรเจ็กต์ Folding at home นี้เป็นไอเดียของมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด มหาลัยชื่อดังของประเทศอเมริกาที่อยากจะขอใช้พลังการคำนวณของคอมพิวเตอร์ ทั้ง CPU และ GPU ในการคำนวณวิธีของ Protein Folding เพื่อที่จะไปทำเป็นวิธีรักษาต่อไปครับ
สิ่งที่เพื่อนๆ จะต้องมีนั่นก็คือคอมพิวเตอร์ที่มี CPU หรือ/และ GPU นั่นเอง และก็แค่เปิดเครื่องเพื่อให้ทางโปรเจ็กต์ Folding at home เค้าส่งงานมาให้เราทำการคำนวณและก็คำนวณให้เสร็จตามที่เค้า “ให้การบ้านมา” เท่านั้นเองครับ ไม่ยากใช่มั้ยหล่ะ
จริงๆ แล้ว โปรเจ็กต์นี้ ทุกคนที่เข้ามาเป็นหนึ่งในผู้บริจาคพลังการคำนวณน้ันก็ถือว่ามีส่วนที่จะทำให้การหาวิธีการรักษานี้เป็นจริง ทั้งบริษัทอย่าง Amazon Web Service (หรือ AWS) , Intel, NVIDIA, AMD, Oracle, Avast หรือแม้กระทั่ง Linus Tech Tips ก็มีส่วนร่วมในการคำนวณเช่นกัน
โปรเจ็กต์การหาวิธีการ Folding ของ COVID-19 นี้ มีผู้สนใจในทั้งในประเทศและต่างประเทศมากมาย เพื่อนๆ ที่สนใจเรื่องเกี่ยวกับโปรเจ็กต์การ Fold ของ COVID-19 ก็สามารถเข้าไปอ่านได้จากในลิ้งค์นี้ครับ https://foldingathome.org/covid19/
ขั้นตอนการเข้าเป็นส่วนร่วม
ให้เข้าไปยังเว็บไซต์ https://foldingathome.org/start-folding/ และกดดาวน์โหลดตัวโปรแกรมครับ และกดติดตั้งตามปกติ
ขั้นตอนการตั้งค่าก่อนการคำนวณ
หลังจากทำการกดติดตั้งและเรียกใช้งานเรียบร้อย เพื่อนๆ จะเห็นหน้าจอนี้ครับ ซึ่งเป็นการแสดงสถานะการทำงานของโปรแกรมนั่นเอง เพื่อนๆ สามารถกดคำว่า ‘Start Folding’ เพื่อเริ่มคำนวณได้เลย
ขั้นตอนการคำนวณ
ในช่อง ‘I support research fighting’ หากว่าเพื่อนๆ ต้องการช่วยเหลือการคำนวณของโปรเจ็กต์ COVID-19 เท่านั้น ก็ให้เพื่อนๆ เลือกเป็น COVID-19 ครับ
ส่วน Power นั้น เป็นการให้เพื่อนๆ เลือกว่าจะใช้พลังการคำนวณของคอมพิวเตอร์ไปคำนวณมากเท่าไหร่ หากว่าเพื่อนๆ รู้สึกว่าตอนนี้กำลังใช้งานคอมพิวเตอร์อยู่และรู้สึกว่าทำงานทั่วไปไม่ได้ ก็อาจจะลดมาเป็น Light เพื่อลดทรัพยากรของคอมพิวเตอร์ให้น้อยลงได้เช่นเดียวกันกับการเพิ่มเป็น Full เพื่อให้งานนั้นเสร็จเร็วขึ้นนั่นเองครับ
โดยเพื่อนๆ จะสามารถส่งงาน เพื่อนำไปเป็นสวนหนึ่งของการค้นหาวิธีการรักษาได้ก็ต่อเมื่อเพื่อนๆ ทำการคำนวณ “การบ้าน” นั้นสำเร็จ ด้วยการทำให้บาร์ตรงกลางนั้นเต็มด้วยการคำนวณนั่นเอง
แต่หากว่าวันนี้ เพื่อนๆ อยากจะปิดเครื่องไปก่อน แล้วเดี๋ยวมาทำต่อก็สามารถทำได้เลยนะครับ ไม่ต้องรอให้ทำงานเสร็จก่อนที่จะปิดก็ได้นะครับ เดี๋ยวครั้งต่อไปที่เพื่อนๆ มาเปิดเครื่องอีกครั้งหนึ่ง โปรแกรมจะทำการคำนวณต่อจากเดิมให้เองครับ
แล้วนอกจาก COVID-19 หล่ะ
จริงๆ แล้วโปรเจ็กต์นี้เกิดขึ้นมา เพื่อมารักษาโรคอย่างจริงๆ จังๆ มาหลายปีแล้วนะครับ เช่นโรคเบาหวาน เนื้องอก (จากโปรตีน p53) มะเร็งเต้านม อีโบลา อัลไซเมอร์ ฮันติงตันส์ พาร์คินสัน และก็อื่นๆ อีกมากมาย ซึ่งเพื่อนๆ ก็สามารถเข้าไปดูในเว็บไซต์ของทาง Folding@home ได้เลยครับจากในลิ้งค์นี้ https://foldingathome.org/