เรื่องนั้นเกิดจากที่ว่าเอปิกนั้นได้ทำการเพิ่มระบบการซื้อเครดิตในเกมและสินค้าที่เป็นเซ็ทที่สามารถซื้อได้ผ่านเงินสด ซึ่งเพิ่มระบบนั้นก็ยังไม่พอ ยังได้ทำการโฆษณาให้กับผู้เล่นทุกคนด้วยการแจกที่ขุดทรัพยากรและลดราคาทั้งสโตร์ 20% อีกด้วย ซึ่ง Fortnite ได้ทำการบอกว่าเป็นราคาใหม่ ไม่ใช่การลดราคาเพียงชั่วคราว แต่มีเงื่อนไขที่ว่า ลูกค้าจะต้องทำการซื้อสินค้าผ่านระบบการชำระเงินโดยตรงของเอปิคเท่านั้น (ในประเทศไทยไม่มีตัวเลือกให้ชำระเงินโดยตรง ระบบการชำระเงินจะมีเฉพาะในบางประเทศเท่านั้น) นั่นหมายความว่าลูกค้าจะมีทางเลือกให้สามารถเติมเงินเกมผ่านระบบชำระตรง โดยไม่ผ่าน App Store หรือ Google Play Store นั่นเอง

แต่โปรโมชันบนมือถือนั้นก็จบอย่างรวดเร็ว เพราะทางแอปเปิลนั้นก็ได้ทำการปิดการอับเดทและการดาวน์โหลดตัวเกมโดยทันที เพราะด้วยว่าการที่มีระบบการชำระเงินโดยตรงนั้น เป็นการขัดนโยบายของทาง App Store ในหัวข้อการทำงานด้านการชำระเงินของแอพลิเคชัน

If you want to unlock features or functionality within your app, (by way of example: subscriptions, in-game currencies, game levels, access to premium content, or unlocking a full version), you must use in-app purchase. Apps may not use their own mechanisms to unlock content or functionality, such as license keys, augmented reality markers, QR codes, etc. …

If you attempt to cheat the system … your apps will be removed from the store and you will be expelled from the Developer Program.

Reference : https://developer.apple.com/app-store/review/guidelines

หรือหมายความว่า ผู้พัฒนาใดๆ ที่ต้องการขายสินค้าเสมือน (Digital Goods) ผ่านแอพของตนนั้นต้องใช้การชำระเงินผ่านระบบของทางสโตร์เท่านั้น ห้ามให้การซื้อขายนั้นทำผ่านการซื้อขายโดยตรง (Direct Payment) และผลการกระทำที่ไปล่วงละเมิดนโยบายของแอพสโตร์นี้ก็ทำให้แอปเปิลจำเป็นที่จะต้องถอดเกมฟอร์ทไนท์ทันที และเริ่มขั้นตอนการปิดบัญชีผู้พัฒนาของเกมต่อไป

และเมื่อ Apple ได้กินเบ็ดอย่างเต็มอึก เอปิคก็ได้จัดแพ็คเกจมาอย่างครบเซ็ทด้วยการออกวิดีโอล้อเลียนโฆษณา 1984 ของแอปเปิล ซึ่งเป็นโฆษณาที่แอปเปิลได้แสดงถึงความเปลี่ยนแปลงอนาคตของตลาดคอมพิวเตอร์ ซึ่งตอนนั้นยังเป็น IBM ที่เป็นเจ้าตลาดในปีนั้นอย่างอยู่หมัด ทำให้แค่หมัดแรกของเอปิคก็เล่นแรงเสียแล้ว และก็ดูเหมือนกับว่าทางเอปิคนั้นต้องการให้แอปเปิลปิดแอพของเขาตั้งแต่แรกอยู่แล้ว (เพราะว่าตัวเองได้ทำผิดสัญญากับทางแอปเปิล)

แต่นั่นก็ยังไม่พอ ทางเอปิคจึงได้ทำการจัดทัวร์นาเมนท์ปิดซีซันในธีม #freefortnite ด้วยการแจกสกินผู้เล่นที่เข้าร่วมการแข่งขันที่ได้คะแนนมากกว่า 10 คะแนน (ซึ่งวิธีได้คะแนนนั่นก็คือการกำจัดผู้เล่นให้ได้ มีชีวิตรอด หรือชนะเกมภายในการเล่นทัวร์นาเมนต์ 40 ตา) ซึ่งจะบอกว่าหากคนไหนเล่น Fortnite อยู่แล้ว ก็จะบอกได้เลยครับว่ามันเหมือนกับแจกสกินกันเลยทีเดียว โดยหน้าตาของสกินนั้นก็ดูคับคล้ายกับคนหัวแอปเปิลในตัววิดีโอล้อเลียน เพื่อให้ผู้เล่นที่เข้าร่วมเอาไปเล่นในเกมไปเลยฟรีๆ

ซึ่งทัวร์นั้นก็ได้ไปลงกับทางแอปเปิลตามที่เอปิคต้องการ เพราะว่ามีผู้ใช้งานทวิตเตอร์จำนวนหนึ่ง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้เล่นบนระบบ iOS และ iPadOS ได้ทำการระบายความในใจให้กับแอปเปิล และได้ทำการติดแฮชแท็ก #freefortnite เพื่อแสดงถึงการต่อต้านแอปเปิลนั่นเอง แต่อีกฝ่ายหนึ่งก็ได้ทำการอธิบายว่าเอปิคนั้นก็แค่ต้องการเอาผู้เล่น Fortnite มาเป็นลูกสมุนเพื่อมาเป็นโล่ป้องกันและเอาชนะแอปเปิลเท่านั้นเอง

แม้ว่าการเล่นเกม Fortnite นั้นจะดูเหมือนว่าจะกระทบผู้ใช้งานบนอุปกรณ์พกพาแล้ว แต่ทว่า Fortnite บนระบบปฏิบัติการ macOS ที่ดูเหมือนว่าจะรอดกับเหตุพิพากนี้ แต่ทางเอปิคก็ได้ทำการหยุดการอับเดท Fortnite ให้กับผู้ใช้งานแมคด้วยเช่นกันเนื่องจากเป็นการ “ผิดกฏของแอปเปิลจึงทำให้ไม่สามารถอับเดทได้เช่นกัน”

พร้อมทั้งเรื่องดราม่าที่เอปิคหยิบยกขึ้นมา เช่นว่าแอปเปิลเป็นเหตุที่ทำให้ฟอร์ทไนท์เสียฐานผู้เล่นมากกว่า 60% เนื่องจากผู้เล่นหลายคนที่เล่นบนอุปกรณ์พกพาของแอปเปิลนั้นไม่สามารถเล่นกับเพื่อนที่อยู่ต่างระบบปฏิบัติการได้ หรือในเรื่องของการที่แอปเปิลนั้นได้ทำการยกเลิกบัญชีนักพัฒนาของเอปิค ทำให้แอพฯ ที่อยู่ในเครือ Epic Games โดนพ่วงเล่ไปด้วย

แต่นั่นก็ไม่ได้หยุดให้เอปิคนั้นทำการงัดไม้ตายด้วยการฟ้องร้องต่อศาลด้านการผูกขาดของแอพสโตร์ในระบบปฏิบัติการของแอปเปิล โดยให้เหตุผลอย่างสั้น ว่าไม่ต้องการเงินค่าทำขวัญจากการนำ Fortnite ออกจากสโตร์และทำให้ผู้ใช้ไม่สามารถซื้อสินค้าออนไลน์ แต่ต้องการเพียงให้ปลดความเป็น “ผูกขาด” อย่างถาวร ซึ่งถ้าบวกกับเรื่องคดีของแอปเปิลที่โดนตรวจสอบเรื่องความผูกขาดจากศาลต่อต้านการผูกขาดของสหรัฐฯ อยู่แล้วใน ณ ขณะนั้นก็ทำให้รถทัวร์ที่เอปิคเอามาจอดไว้หน้าบ้านแอปเปิลนั้นทวีคูณความกดดันให้กับแอปเปิลเป็นอย่างมาก โดยกูเกิลก็โดนเช่นกัน แต่ผู้ใช้งานก็สามารถหาโหลดเกมได้ผ่านการดาวน์โหลดไฟล์ APK ของเอปิคผ่านเว็บไซต์ Fortnite หรือหาโหลดจากทางสโตร์ตัวเลือกได้เช่นกัน ทำให้ผู้ใช้งานแอนดรอยด์อาจจะไม่ร้อนเนื้อร้อนตัวซักเท่าไหร่สิ่งที่เป็นคำถามเป็นเรื่องที่ว่า ทำไมเอปิคนั้นรับไม่ได้กับการที่ระบบปฎิบัติการของแอปเปิลบนอุปกรณ์พกพาไม่มีสโตร์ตัวเลือกให้กับลูกค้าและการคิดค่าธรรมเนียมการซื้อของออนไลน์ 30% ของสโตร์อย่างเช่นแอพสโตร์นั่นเอง

30% นี้มาจากไหน

เริ่มต้นจากที่ทางแอปเปิลในยุคของผู้นำสตีฟ จ๊อปส์ ที่ได้เริ่มทำแอพ สโตร์ขึ้นมาเพื่อให้ลูกค้าที่ใช้ไอโฟนในรุ่น 2 นั้นสามารถโหลดแอพที่ผู้ใช้งานต้องการใช้นั้นโหลดแอพได้โดยตรงเลย ไม่จำเป็นที่จะต้องไปโหลดผ่านคอมพิวเตอร์และเอาขึ้นโทรศัพท์อีกทีหนึ่ง โดยสโลแกนนั่นก็คือ แอพส่วนใหญ่นั้นจะฟรีหมด แต่หากว่านักพัฒนาคนใดต้องการมาหารายได้ร่วมกับทางแอปเปิล ก็จะคิดค่าธรรมเนียม 30% ให้กับแอปเปิล นั่นก็ทำให้แอพที่ฟรีนั้นไม่จำเป็นที่จะต้องเสียค่าธรรมเนียมในการนำแอพไปลงนั่นเอง และจะยอมจ่ายค่าดูแลแอพ ค่านำแอพไปวางไว้บนสโตร์อีกด้วย ซึ่งการที่นักพัฒนาตัวเล็กๆ นั้นจะเข้าไปทำพวกนี้เอง และสามารถดึงดูดลูกค้าได้ก็แทบจะไม่มีความเป็นไปได้เลยที่จะทำให้มันสำเร็จ

ผ่านมามากกว่า 10 กว่าปีแล้ว แต่ละสโตร์เกมก็ลอกเรทค่าธรรมเนียม 30% นั้นมาจากแอปเปิลกันหมดและก็ดูเหมือนว่านักพัฒนาก็จะชินกับค่าธรรมเนียมนี้กันไปหมดแล้ว ลูกค้าเองก็สะดวกที่สามารถทำให้ตนเองนั้นสามารถซื้อเกมหรือเติมเกมได้เลยผ่านทางโทรศัพท์สมาร์ทโฟน ไม่จำเป็นที่จะต้องไปซื้อบัตรเติมเงินหรือซื้อแผ่นกันอีกต่อไป

แล้ว 30% นี่เยอะหรือไม่

ตามการคำนวณอย่างทั่วๆ ไปสำหรับร้านค้าออนไลน์แล้ว (ซึ่ง App Store นั้นก็เป็นร้านค้าออนไลน์ แต่ทำการขายการเข้าถึงแอพ (หรือที่เรียกกันอย่างติดปากแล้วว่า “ซื้อแอพ”) หรือทำการซึ้อสินค้าภายในเกม (หรือที่เรียกกันว่า In-app Purchase)

  • สำหรับค่ารูดบัตรเครดิต เดบิท
  • ส่วนลดการซื้อบัตรเติมเงินเพื่อซื้อสินค้าใน App Store
  • ค่าใช้จ่ายในด้านเซิฟเวอร์ เพื่อให้ลูกค้าโหลดแอพจากที่ไหนก็ได้ทั่วโลก
  • ด้านการพัฒนา SDK ให้กับผู้พัฒนาได้นำไปใช้งาน
  • ค่าดูแลลูกค้าที่ต้องการแจ้งปัญหาด้านการชำระเงิน
  • ค่าตรวจสอบแอพ เพื่อให้ลูกค้าใช้งานแอพได้อย่างสบายใจ ไม่ต้องกังวลว่าจะโดนโกง

และต้องอย่าลืมว่า App Store นั้นไม่คิดเงินเพิ่มเติมกับนักพัฒนาที่ไม่แสวงหากำไรผ่าน App Store อีกด้วย

แต่การขายบางอย่าง เช่นแอพ Amazon.com ที่เป็นการซื้อของที่มีตัวตน (Physical Goods) นั้นก็ได้รับการยกเว้นการคิดค่าธรรมเนียม โดยเหตุผลนั้นอาจจะเกี่ยวข้องกับต้นทุนการขายที่แอพนั้นต้องแบกรับไว้นั่นเอง

แต่นั่นทำให้ตัวเลข 30% ที่ออกมาอย่างกลมๆ นั้นเป็นข้อสงสัยให้กับนักพัฒนามาจนถึงวันนี้ ว่าทำไมต้องหักเท่านี้ ถ้าเราออกมาทำเองแล้วจะคุ้มหรือไม่ และด้วยเหตุผลที่แอปเปิลนั้นทำการสร้างข้อยกเว้นอย่างต่อเนื่องก็ยิ่งทำให้เป็นเรื่องวิพากษณ์วิจารณ์เป็นอย่างมากถึงความเป็นธรรมในการคิดค่าธรรมเนียมในแต่ละแอพ

คนทำเกมรวยขึ้นถ้าร้านนั้นเก็บค่าเช่าน้อยลง (?)

เพราะการที่ Epic นั้นเคยทำการขอเจรจากับ Apple เพื่อขอให้แอพของทางเอปิค (ซึ่งเป็นไปได้สูงว่าจะเป็น Fortnite ซึ่งได้รับความนิยมในขณะนั้น) ได้เรทค่าธรรมเนียมที่ต่ำกว่าเจ้าอื่นเป็นพิเศษ พร้อมทั้งการเขียนหนังสือให้กับทางศาลในภาษาที่เหมือนต้องการทำให้ตนเองนั้นดูเหมือนเป็นแม่พระและต้องการเข้ามาช่วยเหลือนักพัฒนาทุกคน ทำให้ทาง Forbes เองก็ไม่สามารถที่จะทราบได้ว่าเอปิคนั้นต้องการเปิดเสรีภาพเพื่อนักพัฒนาทุกคนหรือว่าเงินกันแน่

แต่ที่เราสามารถคาดการณ์ได้ ก็เป็นในจุดที่ว่า ต้นทุนในการสร้างสินค้าออนไลน์หรือเกมนั้นเป็นการลงทุนครั้งเดียว และหวังว่าการลงทุนนั้นจะคืนทุนให้กับตัวเกมได้เมื่อมีการซื้อสินค้าหรือเกมได้เพียงพอ แต่การที่ทางสโตร์ (ไม่ว่าจะเป็น Steam, Microsoft Store, Nintendo Store, Xbox Store, PlayStation Store รวมถึง App Store และ Google Play Store) นั้นได้คิดค่าธรรมเนียมเท่ากัน (นั่นก็คือ 30%) สำหรับสินค้าที่เหมือนกัน นั้นทำให้ผู้ใช้งานนั้นซื้อเกมได้ง่ายและสะดวกขึ้นหรือไม่ และความสะดวกนั้นทำให้เกมสามารถขายได้มากจำนวนขึ้นหรือไม่ ทำให้เกมนั้นทำกำไร (หลังหักค่าธรรมเนียม) ให้กับนักพัฒนามากน้อยขนาดไหน

แต่สำหรับนักพัฒนาตัวน้อยแล้ว (หรือแม้กระทั่งนักพัฒนาของบริษัทขนาดใหญ่) นั้นก็ได้ผลกระทบกับการตั้งค่าธรรมเนียมที่สูงเช่นกัน เพราะมันก็จะทำให้เงินที่ได้จากการซื้อหนึ่งครั้งนั้นมาหานักพัฒนาไม่เต็มหน่วยซักทีหนึ่งนั่นเอง แต่ก็จะต้องมองว่าทำไมจึงต้องมีการตั้งราคาเดียว หรือความเป็นไปได้ที่จะตั้งราคาตามลักษณะของแอพ หรือคำถามที่ว่า “เมื่อไหร่จะพอ” กับค่าธรรมเนียมที่แต่ละคนไฝ่ฝันว่าจะเท่าเทียม และหลายๆ บริการนั้นก็เริ่มแอบทำ Direct Payment ผ่านการสมัครสมาชิกบนเว็บแล้ว โดยราคานั้นก็จะเป็นราคาที่ไม่ได้หัก 30% โดยแอปเปิลนั่นเอง หรืออีกทางหนึ่งก็คือการโยนให้ลูกค้านั้นต้องไปสมัครบริการผ่านทางเว็บไซต์โดยตรง และกลับมาใช้งานผ่านแอพสโตร์อีกครั้งหนึ่ง ตัวอย่างเช่น Netflix และ Spotify ที่มีการเจรจากับทางแอปเปิลแล้วไม่เป็นผลสำเร็จ

หลายๆ แอพที่มีฟังก์ชันการทำงานที่เกี่ยวกับการโดเนท (เช่น Facebook ที่จะให้ลูกค้าตนนั้นสามารถเปย์หรือจ้างคนเพื่อให้สอน หรือให้ดาวเพื่อเป็นทิป หรือ Youtube ที่มีระบบสมัครสมาชิก เพื่อให้ลูกค้านั้นสามารถจ่ายรายเดือนเพื่อให้ได้รับสิทธิพิเศษตจากยูทูปเบอร์ที่ตนชื่นชอบ และได้เป็นการสนับสนุนการทำงานให้แก่ผู้ผลิตคอนเทนท์อีกด้วย ซึ่งก็โดนแอปเปิลปิดไป เพราะว่าไม่ได้จ่ายค่าธรรมเนียม 30% ให้แก่แอปเปิล แต่นั่นก็ทำให้ทั้งสองค่ายนี้ไม่แฮปปี้เป็นอย่างมาก เพราะว่า 30% นั้นมากเกินไปที่จะมาเก็บกับเงินที่จะเอาไปให้ผู้ผลิตคอนเทนท์ และเหมือนจะเป็นการขูดรีดผู้ใช้งานซะมากกว่าการขอเก็บค่าธรรมเนียม

แต่การที่ทาง Fortnite นั้นได้ผิดกฏแบบนี้ ผมเองก็เชื่อว่าแอปเปิลก็คงไม่อยากที่จะปิดการอับเดทอย่างแน่นอน เพราะว่าฟอร์ทไนท์นั้นเป็นหนึ่งในเกมที่ทำเงินผ่านระบบ App Store ได้มากถึง 2.75 ล้านเหรียญสหรัฐต่อวันกันเลยทีเดียว (ข้อมูลจาก Finbold ผ่าน 9to5Mac) ซึ่งถ้ามาคำนวนแล้ว Fortnite นั้นก็ได้เงินเกือบสองล้านเหรียญต่อวัน แม้ว่าจะหักค่าธรรมเนียมการซื้อของดิจิตัลไปแล้วก็ตาม

หรืออนาคตคือการเพิ่ม Direct Payment

นอกจากข้อดีที่นักพัฒนาได้เงินอย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วยมากขึ้นและมีอำนาจในการจัดการราคาเป็นของตัวเองแล้ว ก็ยังมีหลายข้อเสียที่ว่าหากมีแอพใดแอพหนึ่งนั้นทำการเพิ่มระบบการชำระเงินของตนเอง แล้วเกิดเรื่องว่าข้อมูลลูกค้ารั่วไหล หรือว่าทุกแอพที่ปัจจุบันขายเกม (ต้องซื้อเกมก่อนเล่น) ย้ายมาให้ลูกค้าจ่ายเงินบนระบบของตัวเองหมด อนาคตที่แอปเปิลวาดฝันไว้ และความน่าเชื่อถือของแอปเปิลจะต้องสั่นคลอนอย่างแน่นอน และก็จะเกิดเป็นคำถามไปว่า App Store นั้นมีประโยชน์อย่างไรอีกด้วย ซึ่งอนาคตอย่างนี้ ชาวแอปเปิลจำนวนมากก็ได้มาเขียนระบายเช่นกันว่านี่คือการพังร้านค้าที่ตัวเองเคยได้บารมีมา และแต่ละแอพก็จะไม่มีใครตรวจสอบ ไม่มีใครห้ามปรามอีกต่อไป

ซึ่งฟังดูแล้วอาจจะดีก็ได้ แต่เพราะว่ามีข้อมูลมากมาย รวมทั้ง App Store เองก็ได้ระบุว่าคนที่ใช้อุปกรณ์แอปเปิลส่วนใหญ่นั้นเป็นคนรุ่นใหม่ รวมถึงเด็กอีกด้วย ซึ่งการที่มี App Store ขึ้นมาก็เพื่อให้พ่อแม่สามารถไว้ใจได้ว่าแอพนั้นจะไม่หลอกกินตังกับเด็กหรือแสดงออกในเรื่องที่ไม่เหมาะสมอีกด้วย

แล้วต่อจากนี้จะเป็นอย่างไร

จากการคาดการณ์จากทางสำนักข่าวด้านเทคโนโลยีหลายเจ้า ผลของการตีกันครั้งนี้คงมีวิธีจบได้ดังนี้

  • แอปเปิลต้องทำการลดค่าธรรมเนียมให้เหมาะสมสำหรับนักพัฒนาทุกคน นั่นหมายความว่าเอปิคนั้นชนะขาดลอย
  • แอปเปิลต้องทำการลดค่าธรรมเนียมให้แก่บริษัทขนาดใหญ่ที่มีฐานลูกค้าแน่นอยู่แล้ว นั่นทำให้เอปิคได้รับผลประโยชน์ กินอิ่มนอนหลับแน่นอน
  • เอปิคแพ้ แต่นั่นก็ทำให้แอปเปิลต้องไปอธิบายกับศาลการต่อต้านการผูกขาดในแต่ละประเทศ ว่าทำไมแอพสโตร์จึงไม่ถือว่าผูกขาด
  • แอปเปิลชนะ เอปิคก็จำเป็นที่จะต้องรับผลกรรมจากการที่ไม่มีลูกค้าระหว่างที่ Fortnite นั้นไม่อยู่บนสโตร์ของแอปเปิล และค่าธรรมเนียม 30% ก็อาจจะเป็นไปได้ว่าจะคงราคาไว้เท่าเดิม

แต่อย่างน้อยก็ตาม การตบตีครั้งนี้ก็ทำให้นักพัฒนาที่ทำการใช้ Unreal Engine เพื่อพัฒนาเกมสำหรับระบบ iOS สั่นคลอนและเริ่มย้ายออกกันแล้ว เพราะว่าไม่มั่นใจถึงความมั่นคงของเอปิคว่าจะเล่นไม้ตายอะไรกับแอปเปิลอีก พร้อมทั้งทาง Unity เองก็โฟกัสเอนจินของตนเองมาเพื่อการใช้บนมือถือเสียด้วย ก็อาจจะทำให้รายได้ที่ Unreal Engine ที่จะต้องคิดค่าใช้งานเอนจินของตนนั้นหายไปเช่นกัน

พร้อมทั้งท่าทีของเอปิคที่ออกตัวมาอย่างก้าวร้าว เพราะเหมือนกับเตรียมบุก เตรียมรบกับทางแอปเปิลแบบตรงๆ และรู้อยู่แล้วว่าการทำแบบนี้เป็นการละเมิดกฏของแอปสโตร และเห็นถึงความตั้งใจด้วยว่าจะละเมิดอีกด้วย เพราะมีการเตรียมด้านกฏหมายและวิดีโอล้อเลียน แค่ให้รอให้แอปเปิลกินเบ็ตเท่านั้น

และแอปเปิลก็ไม่ใช่ว่าจะรอดในสมรภูมินี้ เพราะในหลายประเทศชั้นนำทางด้านเศรฐกิจของโลกก็ได้เริ่มการตรวจสอบถึงความไม่เป็นธรรมของสโตร์ทั้งหลายแล้ว โดยเริ่มจากเจ้าใหญ่อย่างกูเกิลและแอปเปิล โดยในหัวข้อที่ทางฝ่ายด้านการตรวจสอบของประเทศออสเตรเลียนั้นได้เริ่มตรวจสอบแล้วนั่นก็คือในเรื่องของค่าธรรมเนียมต่อการสร้างนวัตกรรม ความเท่าเทียมของแอพที่นักพัฒนาได้รับ หรือแม้กระทั่งการให้บริการที่คล้ายคลึงกับแอพอื่นๆ ในสโตรเพื่อแย่งฐานลูกค้าอีกด้วย [ข้อมูลจาก ACCC]

ซึ่งหากการตรวจสอบแล้วมีความสำคัญและทำให้ประชาชนนั้นต้องแบกรับภาระจากการผูกขาดสโตร์นี้ ในอนาคตนี้ท้องฟ้าก็คงเริ่มจะไม่เปิดสว่างให้ทางแอปเปิลได้ตั้งกฎแบบตามใจเสียแล้ว

จบสวยๆ (?)

เรื่องราวนี้ไม่จบสวยอย่างแน่นอน ในการสู้รบนี้เอปิคจะเป็น “นักธุรกิจที่ไม่ยอมทำดีลแล้วอยากได้เงินเยอะไป” ตามที่แอปเปิลเกล่าอ้าง หรือจะเป็น “ฮีโร่ของนักพัฒนาทั่วโลก” ตามที่เอปิคเกล่าอ้างกันแน่ หากใครต้องการติดตามก็สามารถเข้ามาอ่านสตอรีนี้ได้อีกในภายหลัง เพราะว่าผมจะทำการอับเดทสถานการณ์ในสตอรีนี้อย่างต่อเนื่องอย่างแน่นอนครับ

สนับสนุนโดย

Share this post

About the author