ธาตุมีอะไรบ้าง? ปฏิกิริยาธาตุคืออะไร? เกิดปฏิกิริยาไหนทำให้ตีแรงมากที่สุด? ในสตอรีนี้เราก็จะมาพูดถึงที่มาของธาตุ วิชัน และการเกิดปฏิกิริยาธาตุในเกม Genshin Impact กันครับ รวมทั้งการสร้างปฏิกิริยาทางธาตุว่าจะสามารถช่วยเหลือเพื่อน ๆ ในการจัดการศัตรูระดับอีลีทได้อย่างไรกัน
ระบบธาตุทั้งเจ็ด (The Seven Element)
ธาตุ (Element) คือระบบหนึ่งในเกม Genshin Impact ที่ภายในโลกแห่ง Teyvat นั้นมีอยู่และอยู่ร่วมกันเป็นหนึ่ง พูดง่าย ๆ คือระบบธาตุนั้นถูกสร้างขึ้นมาเพื่อให้เพื่อน ๆ ทำความเข้าใจและนำเอาไปใช้งานกับทั้งตัวละคร ศัตรู และองค์ประกอบภายในเกมผ่านการใช้ธาตุและการเกิดปฏิกิริยาธาตุเมื่อมีธาตุสองธาตุเกิดปฏิกิริยาต่อกัน ดังนั้นเพื่อน ๆ หน้าใหม่ที่เพิ่งเข้ามาเล่นเกม (หรือหน้าเก่าด้วย) เข้าใจระบบและใช้ประโยชน์มันให้เป็นประโยชน์มากที่สุด
อ่านต่อเกี่ยวกับระบบธาตุ เพื่อน ๆ ที่สนใจเกี่ยวกับระบบธาตุ และเนื้อเรื่องของเกมที่เกี่ยวกับธาตุ สามารถเข้าไปอ่านได้ที่
โดยภายในเกม Genshin Impact จะมีธาตุอยู่ทั้งหมด 7 ธาตุดังต่อไปนี้ ดังภาพประกอบสัญลักษณ์และสีประจำธาตุด้านล่าง
- ไฟ (Pyro) ธาตุแห่งการสู้รบและมอดไหม้
- น้ำ (Hydro) ธาตุแห่งความเท่าเทียม ทันสมัย และยืดหยุ่น
- ลม (Anemo) ธาตุแห่งความเสรี
- ไฟฟ้า (Electro) ธาตุแห่งความนิรันดร์
- ไม้ (Dendro) ธาตุแห่งความรู้
- น้ำแข็ง (Cryo) ธาตุแห่ง ???
- หิน (Geo) ธาตุแห่งการค้าขาย







โดยสีและเครื่องหมายเหล่านี้จะแสดงบนศัตรูและตัวเลขความเสียหายจากการโจมตี หรือที่เรียกว่าความเสียหายธาตุ (หรือ Elemental Damage) อย่างไรก็ตามการโจมตีทั่วไปในตัวละครหรือศัตรูอาจไม่มีธาตุติดอยู่ด้วย ซึ่งการโจมตีนั้นเรียกมันว่าการโจมตีกายภาพ (หรือ Physical Damage)
ปฎิกิริยาธาตุ (Elemental Reaction)
ปฏิกิริยาธาตุ (Elemental Reaction) คือระบบหนึ่งในเกม Genshin Impact ที่จะทำให้ศัตรูและตัวละครนั้นได้รับความเสียหายธาตุเพิ่มเติมจากการรวมธาตุ 2 ธาตุเข้าด้วยกัน ซึ่งระบบนี้อาจสร้างข้อได้เปรียบในยามคับขัน หรือจะสร้างปัญหาให้กับผู้เล่น “คับขัน” ก็เป็นได้
เกี่ยวกับธาตุเริ่มต้น (Initial Element) และธาตุกระตุ้น (Trigger Element)
โดยในบางปฏิกิริยาธาตุนั้นจะมีลำดับในการติดธาตุ (ตัวอย่างเช่นการเกิดปฏิกิริยาธาตุระเหย Vaporize) ที่จะทำการคูณความเสียหายธาตุ 2 เท่าตัวหากว่าศัตรูนั้นได้ติดค่าสถานะธาตุไฟก่อนและกระตุ้นด้วยธาตุน้ำ ดังนั้นเราจึงต้องมีการแยกธาตุออกมาตามลำดับการติดธาตุได้แก่ ธาตุเริ่มต้น (Initial Element) และธาตุกระตุ้น (Trigger Element)
ธาตุเริ่มต้น (Initial Element)
เป็นธาตุแรกที่ศัตรูติด (จะเห็นเป็นไอคอนรูปธาตุเดียว) โดยผู้เล่นสามารถที่จะเป็นคนติดธาตุเริ่มต้นให้กับศัตรูเอง ศัตรูติดธาตให้ตัวเอง หรือเกิดจากสิ่งแวดล้อมก็เป็นได้ โดยจะไม่ส่งผลต่อค่าความเสียหายที่เกิดจากปฏิกิริยาธาตุ
ธาตุกระตุ้น (Trigger Element)
เป็นธาตุที่ทำให้เกิดปฏิกิริยาธาตุ โดยผู้เล่นมักจะเป็นคนติดธาตุที่สองนี้ด้วยตนเอง เนื่องจากการโจมตี (และค่าสถานะอื่น) ของตัวละครอาจจะเป็นตัวกำหนดพลังความเสียหายที่เกิดโดยปฏิกิริยาธาตุ
และเช่นกันที่บางปฏิกิริยาธาตุนั้นจะไม่มีลำดับในการติดธาตุก่อนหลัง ตัวอย่างเช่นธาตุไฟฟ้าและธาตุน้ำที่ทำให้เกิดปฏิกิริยาธาตุชาร์จไฟฟ้า (Electro-charged) หรือบางปฏิกิริยาธาตุนั้นไม่มีอยู่จริงเช่นธาตุลมและธาตุหินเป็นต้น
แล้วจะทำอย่างไรให้เกิดปฏิกิริยาธาตุแรง ๆ
โดยในทุกปฏิกิริยาธาตุสามารถเพิ่มความรุนแรงได้จากค่าสถานะความชำนาญธาตุ (Elemental Mastery หรือ EM) ที่สามารถเพิ่มได้จากค่าสถานะรองของอาวุธและค่าสถานะภายในอาร์ติแฟกต์
เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง โดยหากว่าเพื่อน ๆ สนใจอยากจะทำความเข้าใจค่าสถานะในอาร์ติแฟกต์ให้มากขึ้น พร้อมกับการปั้นอาร์ติแฟกต์ในฝันก็สามารถเข้าไปอ่านต่อได้ที่สตอรี ทำความเข้าใจ ระบบอาร์ติแฟกต์ในเกม Genshin Impact
ตารางการเกิดปฏิกิริยาธาตุ
ในปัจจุบันในเกม Genshin Impact จะมีการเกิดปฏิกิริยาธาตุทั้งหมด

- แช่แข็ง (Frozen) ธาตุน้ำ (Hydro) กับธาตุน้ำแข็ง (Cryo)
- นำไฟฟ้า (Superconduct) ธาตุไฟฟ้า (Electro) กับธาตุน้ำแข็ง (Cryo)
- ระเหย (Vaporize) ธาตุน้ำ (Hydro) รวมกับธาตุไฟ (Pyro)
- ระเหยย้อนหลัง (Reverse Vaporize) ธาตุน้ำ (Hydro) กับธาตุไฟ (Pyro)
- ละลาย (Melt) ธาตุไฟ (Pyro) กับธาตุน้ำแข็ง (Cyro)
- ละลายย้อนหลัง (Reverse Melt) ธาตุไฟ (Pyro) กับธาตุน้ำแข็ง (Cyro)
- โอเวอร์โหลด (Overload) ธาตุไฟฟ้า (Electro) กับธาตุไฟ (Pyro)
- ชาร์จไฟฟ้า (Electro-charged) ธาตุไฟฟ้า (Electro) กับธาตุน้ำ (Hydro)

- กระจาย (Swirl) 4 ธาตุหลัก (ไฟ น้ำแข็ง น้ำ ไฟฟ้า) กับธาตุลม (Anemo)
- ตกผลึก (Crystalize) 4 ธาตุหลัก (ไฟ น้ำแข็ง น้ำ ไฟฟ้า) กับธาตุหิน (Geo)
โดยธาตุไม้, ลม, และหินจะไม่เกิดปฏิกิริยาธาตุกับลมและหินแต่อย่างใด

- ปลุกเร้า (Quickening) จากธาตุไม้ (Dendro) และธาตุไฟฟ้า (Electro)
- แพร่ขยาย (Spread) จากการปลุกเร้าและธาตุไฟฟ้า (Electro)
- บีบอัด (Aggravate) จากการปลุกเร้าและธาตุไม้ (Dendro)
- งอกเงย (Bloom) จากธาตุไม้ (Dendro) และธาตุน้ำ (Hydro) โดยจะทำให้เกิด Dendro Core และจะเกิดปฏิกิริยาธาตุ-สถานะ กับ Dendro Core
- เบ่งบาน (Burgeon) จาก Dendro Core และธาตุไฟ (Pyro)
- ไฮเปอร์บลูม (Hyperbloom) จาก Dendro Core และธาตุไฟฟ้า (Electro)
- ติดไฟ (Burning) จากธาตุไม้ (Dendro) และธาตุไฟ (Pyro)
เคล็ดลับ การโจมตีด้วยปฏิกิริยาธาตุนั้นไม่มีคูลดาวน์ ทำให้เราสามารถใช้ปฏิกิริยาธาตุสร้างความเสียหายได้เรื่อย ๆ หากยังสามารถกดสกิลหรือโจมตีธาตุได้เรื่อย ๆ ดังนั้นหากใครอยากเข้าไปเล่น Co-Op แล้วอยากทำตัวมีประโยชน์ก็สามารถใช้วิธีนี้ได้ครับ (รวมไปถึงโบนัสการโจมตีเพิ่มเติม)
คำอธิบายเกี่ยวกับแต่ละปฏิกิริยาธาตุ
กระจาย (Swirl)
ธาตุลม (ธาตุกระตุ้น) จะทำการดึงเอาธาตุที่อยู่ในบริเวณและธาตุที่ติดอยู่กับศัตรูเข้ามาและกระจายธาตุนั้นไปยังศัตรูที่อยู่ในรัศมีกระจาย (แล้วแต่การโจมตีธาตุของแต่ละตัวละครธาตุลม) ซึ่งก็จะมีความเป็นไปได้สูงที่ธาตุที่กระจายไปนั้นจะไปกระตุ้นให้เกิดปฏิกิริยาธาตุขึ้นและเป็นการช่วยตัวละครธาตุอื่นให้สามารถปล่อยธาตุกระตุ้นได้ง่ายขึ้นได้เช่นกัน

พลังการดูดธาตุ
เมื่อตัวละครทำการกระจายธาตุ (Swirl) ให้กับศัตรูได้แล้ว ศัตรูก็จะได้รับการโจมตีสูงสุดสองธาตุ ได้แก่ความเสียหายธาตุลม (Anemo) และความเสียหายธาตุที่ติดไปด้วย เราจึงเห็นว่าตัวละครธาตุลมหลายตัวมักให้ความสำคัญกับการจัดทีมกับตัวละครธาตุอื่นเพื่อทำให้เกิดปฏิกิริยาธาตุ โดยค่าที่เกี่ยวข้องที่ว่านั้นคือค่าสถานะ Elemental Mastery (EM) ที่จะเพิ่มความเสียหายมากขึ้นหากเกิดปฏิกิริยาธาตุกระจาย (Swirl)
ลำดับการดูดธาตุ
หากว่าในบริเวณโดยรอบมีศัตรูติดธาตุหรือพื้นที่โดยรอบมีธาตุมากกว่าหนึ่งธาตุ เมื่อเกิดปฏิกิริยาธาตุกระจาย (Swirl) ก็จะมีการดูดธาตุก่อนหลังตามลำดับดังต่อไปนี้ แล้วจึงกระจายธาตุที่ดูดได้ ไปแปะธาตุยังศัตรูที่อยู่บริเวณโดยรอบที่ได้รับผลกระทบจากการกระจาย
ไฟ (Pyro) → น้ำ (Hydro) → ไฟฟ้า (Electro) → น้ำแข็ง (Cryo)
ตกผลึก (Crystalize)
ธาตุ : ไฟ/น้ำแข็ง/น้ำ/ไฟฟ้า ⮂ หิน (Geo)
เมื่อมีธาตุที่ติดอยู่กับศัตรูแล้วมีการกระตุ้นโดยธาตุหินก็จะทำให้เกิดปฏิกิริยาธาตุ “ตกผลึก” ที่จะเป็นการสร้างเม็ดคริสตัลธาตุที่ผู้เล่นสามารถเดินเข้าไปเก็บเพื่อรับโล่ป้องกันเพื่อป้องกันการโจมตีสูงสุด 15 วินาที หรือเท่ากับ HP ของโล่ ซึ่งเพื่อน ๆ สามารถเก็บผลึกเพิ่มเพื่อรีเซ็ทเวลาหรือ HP คงเหลือได้
การเกิดปฏิกิริยาธาตุนี้จึงได้รับความนิยมในหมู่ผู้ใช้งานเพราะสามารถทำให้เราได้รับความเสียหายจากการโจมตีได้น้อยลง ทำให้เราไม่จำเป็นต้องเสียเวลาหรือทรัพยากรในการฮีลตัวละครหรือต้องคอยหลบการโจมตี

ความแข็งแรงของโล่ที่เกิดจากการตกผลึก (Crystalize)
เมื่อตัวละครได้ทำการเก็บผลึกที่เกิดจากปฏิกิริยาตกผลึก ก็จะมีการคำนวณความแข็งแรงโดยอ้างอิงจาก Elemental Mastery (EM) ของตัวละครธาตุหินที่ทำให้เกิดปฏิกิริยานี้ขึ้นสูงสุด 1851 x (444 x (EM / EM + 1400) ) HP ซึ่งจะทำหน้าที่ได้ดีกว่าเมื่อใช้ในการป้องกันการโจมตีธาตุที่ตรงกันกับที่เป็นธาตุเริ่มต้น/ธาตุกระตุ้น
ละลาย (Melt)
โดยคอมโบละลายนั้นเป็นหนึ่งในสองคอมโบ (ร่วมกับคอมโบระเหย) ที่จะทำให้ผู้เล่นสามารถโจมตีศัตรูได้แรงมากยิ่งขึ้น แต่เพื่อที่จะให้โจมตีแรงขึ้นถึง 2x นั้น ผู้ทำปฏิกิริยาธาตุจะต้องเป็นธาตุไฟเท่านั้น (คำนวณ x2 จากพลังการโจมตีธาตุจากการโจมตีไฟ)

กระตุ้นโดยธาตุไฟ (Melt)
เมื่อเกิดปฎิกิริยาละลายด้วยการใช้ธาตุไฟในการกระตุ้น จะทำให้ความแรงในการโจมตีครั้งที่เกิดปฏิกิริยานั้นเพิ่มขึ้น 2x เมื่อเปรียบเทียบกับการโจมตีธาตุไฟปกติ
กระตุ้นโดยธาตุน้ำแข็ง (Reverse Melt)
เมื่อเกิดปฎิกิริยาละลายด้วยการใช้ธาตุน้ำแข็งในการกระตุ้น จะทำให้ความแรงในการโจมตีครั้งที่เกิดปฏิกิริยานั้นเพิ่มขึ้น 1.5x เมื่อเปรียบเทียบกับการโจมตีธาตุน้ำแข็งปกติ
แช่แข็ง (Frozen)
ศัตรูที่ถูกแช่แข็งจะไม่สามารถเคลื่อนไหวได้จนกว่าสถานะแช่แข็งจะหมดลง ซึ่งหากว่าตัวละครของเราโจมตีแบบกายภาพใส่ศัตรูที่ถูกแช่แข็ง ศัตรูก็จะได้รับโบนัสความเสียหาย “แตกกระจาย (Shattered)” เมื่อมีการโจมตีที่ใช้ตัวละครอาวุธประเภทดาบใหญ่ หรือระเบิด (ทั้งจากตัวละครและสภาพแวดล้อม) อีกด้วย

นำไฟฟ้า (Superconduct)
เมื่อเกิดปฏิกิริยานำไฟฟ้า (Superconduct) ศัตรูที่โดนปฏิกิริยานี้จะถูกลดค่าการป้องกัน (DEF) ลง 40% หรือก็คือรับค่าความเสียหายได้เพิ่มขึ้นจากการโจมตีครั้งต่อไปนั่นเอง ซึ่งผลของการนำไฟฟ้านีก็จะถูกกระจาย (ไม่เกี่ยวกับปฏฺิกิริยากระจาย) ไปยังศัตรูในบริเวณอีกด้วย

ระเหย (Vaporize)
โดยการระเหยนั้นจะสามารถเกิดขึ้นได้สองทางแต่ผลนั้นจะแตกต่างกัน
- ระเหย (Vaporize)
ธาตุกระตุ้น (Trigger Element) เป็นธาตุน้ำ (Hydro) จะสร้างความเสียหายธาตุน้ำ 2x เท่า - ระเหยย้อนหลัง (Reverse Vaporize)
ธาตุกระตุ้น (Trigger Element) เป็นธาตุไฟ (Pyro) จะสร้างความเสียหายธาตุไฟ 1.5x เท่า

กระตุ้นโดยธาตุน้ำ (Vaporize)
การเกิดปฏิกิริยาธาตุระเหยแบบปกตินั้นจำเป็นต้องใช้ธาตุน้ำ (Hydro) ในการกระตุ้นธาตุ ซึ่งจะสร้างความเสียหายให้แก่ศัตรู 2x จากการโจมตีธาตุน้ำ
ซึ่งการทำให้เกิดปฏิกิริยาธาตุนี้มีความลำบากในเรื่องของการหาตัวละคร DPS ธาตุน้ำ ที่ปัจจุบันมีให้เลือกเพียงสองตัวได้แก่ Nilou และ Childe (Targalia) เท่านั้น และใช้งานคู่กับ Xiangling หรือ Bennett ก็ได้
กระตุ้นโดยธาตุไฟ (Reverse Vaporize)
เหมือนกับระเหยปกติแต่มีตัวคูณการโจมตี 1.5x เท่า
โอเวอร์โหลด (Overload)
ปฏิกิริยาโอเวอร์โหลดจะทำให้ศัตรูได้รับความเสียหายระเบิดในรัศมีบริเวณ (AoE) ซึ่งโดยส่วนตัวแล้วชอบเพราะผู้เล่นจะสามารถตีเกราะให้แตกได้เร็วขึ้น และยังทำให้ศัตรูล้มและปลิวออกจากบริเวณไป

ชาร์จไฟฟ้า (Electro-charged)
ปฏิกิริยาขาร์จไฟฟ้าจะทำให้ศัตรูโดนไฟฟ้าช็อตและกระจายไปยังศัตรูรอบข้าง แม้ว่าคุณจะไม่ได้รับอะไรเพิ่มจากการเกิดปฏิกิริยา แต่เมื่อเกิดปฏิกิริยานี้แล้ว ธาตุน้ำและธาตุไฟฟ้าจะไม่หายไปเหมือนปฏิกิริยาอื่น เท่ากับว่าเป็นการเปิดช่องให้เกิดปฏิกิริยาพร้อมกันทั้งธาตุน้ำและไฟฟ้า กับธาตุไฟหรือธาตุน้ำแข็ง

[ใหม่] ธาตุไม้และปฏิกิริยาธาตุไม้ (Dendro)
เนื่องจากธาตุไม้นั้นเพิ่งได้รับการเปิดตัวอย่างเป็นทางการใน Genshin Impact แพทช์ 3.0 พร้อมกับเนื้อหาเมือง Sumeru เราจึงได้ทำเนื้อหาพิเศษสำหรับปฏิกิริยาธาตุไม้เอาไว้เป็นพิเศษ โดยธาตุไม้นั้นมีการเกิดปฏิกิริยาธาตุดังนี้

ปลุกเร้า (Quicken)
เมื่อเกิดปฏิกิริยาธาตุระหว่างไฟฟ้าและธาตุไม้ (ไม่มีลำดับการติด) จะทำให้ศัตรูติดค่าสถานะปลุกเร้าและจะสามารถเกิดปฏิกิริยาธาตุต่อไปได้โดยการติดธาตุไฟฟ้าหรือไม้เป็นธาตุกระตุ้นการเกิดปฏิกิริยาบีบอัดหรือแพร่ขยาย
หากศัตรูติดค่าสถานะปลุกเร้า (Quicken) แล้วโจมตีอีกครั้งด้วยธาตุไฟ (Pyro) หรือน้ำ (Hydro) ก็จะทำให้เกิดปฏิกิริยาธาตุติดไฟ (Burning) หรือ งอกเงย (Bloom)


ธาตุไฟฟ้า: บีบอัด (Aggravate)
เมื่อศัตรูได้รับค่าสถานะปลุกเร้า (Quicken) และถูกกระตุ้นด้วยธาตุไฟฟ้า (Electro) อีกครั้งก็จะทำให้เกิดค่าสถานะ “บีบอัด”
โดยค่าสถานะบีบอัดนั้นจะเพิ่มพลังการโจมตีธาตุไฟฟ้าและสามารถเพิ่มพลังการโจมตีนี้จากค่า Elemental Mastery (EM) ของตัวละคร

ธาตุไม้: แพร่ขยาย (Spread)
เมื่อศัตรูได้รับค่าสถานะปลุกเร้า (Quicken) และถูกกระตุ้นอีกครั้งด้วยธาตุไม้ (Dendro) อีกครั้งก็จะทำให้เกิดค่าสถานะ “แพร่ขยาย”
โดยค่าสถานะแพร่ขยายจะเพิ่มพลังการโจมตีธาตุไม้และสามารถเพิ่มพลังการโจมตีนี้จากค่า Elemental Mastery (EM) ของตัวละคร
ติดไฟ (Burning)
ปฏิกิริยานี้จะทำให้สิ่งของหรือตัวละครที่ติดธาตุพืชได้รับความเสียหายไฟ (Pyro) เผาไหม้อย่างต่อเนื่อง โดยศัตรูจะมีการติดไฟจนกว่าการเกิดปฏิกิริยาธาตุสิ้นสุดลงหรือเกิดปฏิกิริยาธาตุอื่นที่ลบล้างการติดค่าสถานะ

งอกเงย (Bloom)
เมื่อธาตุน้ำเจอกับธาตุไม้จะทำให้เกิดปฏิกิริยางอกเงย ก่อให้เกิด Dendro Core และเมื่อเราได้ทำการสร้างปฏิกิริยาธาตุกับ Dendro Core ด้วยธาตุดังต่อไปนี้ก็จะเกิดปฏิกิริยาดังต่อไปนี้


ธาตุไฟฟ้า: ไฮเปอร์บลูม (Hyperbloom)
Dendro Core จะถูกเปลี่ยนมาเป็น Sprawling Shot คล้าย Homing Missile ที่จะโจมตีผู้ติดสถานะอย่างต่อเนื่อง
และหากว่าเราสามารถกระจายธาตุไม้และไฟฟ้าได้อย่างรวดเร็ว ธาตุไฟฟ้าและไม้ที่คงเหลืออยู่ในฟิลด์ก็จะทำให้เกิดปฏิกิริยาธาตุบีบอัดหรือแพร่ขยายได้อีกด้วย

ธาตุไฟ: เบ่งบาน (Burgeon)
เมื่อ Dendro Core สำผัสกับธาตุไฟจะทำให้เกิดการเบ่งบาน และทำให้เกิดความเสียหายแบบวงกว้าง (AoE) รุนแรงมากขึ้น
Dendro Core
แม้ว่าการทำให้เกิดปฏิกิริยาธาตุเบ่งบานนั้นจะทำให้เกิด Dendro Core แล้ว หากว่าผ่านไปเป็นเวลา 3 วินาทีหรือมี Dendro Core ในฟิลด์มากเกินไป ก็จะทำให้ Dendro Core เก่านั้นเกิดการระเบิด สร้างความเสียหายธาตุไม้ (Dendro) แก่ศัตรูบริเวณโดยรอบทันที พร้อมกับการติดธาตุไม้อีกด้วย เราจึงอาจจะเห็นการใช้-ติดธาตุไม้ซ้ำ ซึ่งก็เป็นผลพลอยได้มาจากการระเบิด Dendro Core นี่เอง
การติด/แปะธาตุ
เพื่อทำให้ศัตรูได้รับความเสียหายธาตุต่อเนื่องหรือเกิดปฏิกิริยาธาตุ ผู้เล่นก็จะต้องทำการติดธาตุให้กับศัตรูก่อน โดยเราจะขอเรียกธาตุแรกที่ศัตรูติดเป็น “ธาตุเริ่มต้น” และธาตุต่อไปที่ติดและทำให้เกิดปฏิกิริยาธาตุเป็น “ธาตุกระตุ้น”
โดยวิธีในการติดธาตุนั้นจะส่งผลต่อระยะเวลาที่ศัตรูจะติดค่าสถานะ ซึ่งจะสามารถติดศัตรูได้สูงสุดถึง 15 วินาทีและสามารถติดธาตุซ้ำเพื่อเพิ่มหรือรีเซ็ทระยะเวลาในการติดธาตุเข้าไปได้อีกด้วย
วิธีการติดแปะธาตุ
เราสามารถทำให้ตัวละครหรือศัตรูติดธาตุได้โดยการใช้หนึ่งหรือหลายวิธีดังต่อไปนี้
- การโจมตีปกติและการชาร์จโจมตี (Normal / Charged Attack)
- การใช้สกิลธาตุ (Elemental Skill หรือ E)
- การใช้ท่าไม้ตาย (Elemental Burst หรือ Q)
- สภาวะแวดล้อมภายในเกม เช่นถังระเบิดธาตุ, หญ้าที่กำลังไหม้, ฝนที่กำลังตก, ดอกไม้ธาตุที่อยู่โดยรอบเป็นต้น
- (เฉพาะในโดเมน) Lay line Disorder ที่จะมีการปล่อยธาตุอย่างต่อเนื่อง
- การใช้ธาตุบริเวณโดยรอบ (จากทั้งตัวศัตรูและสภาพแวดล้อม) ในการกระจายธาตุไปยังบริเวณโดยรอบ
โดยธาตุที่ตัวละครหรือศัตรูจะติดนั้นก็จะขึ้นอยู่กับธาตุที่ตัวละครใช้ หรืออยู่ในสภาพแวดล้อม หรือ Lay Line Disorder ใด ซึ่งการติดธาตุนี้จะไม่มีระบบ Cooldown แต่อย่างใด ทำให้เราสามารถติดค่าสถานะใด ๆ ซ้ำได้โดยไม่จบไม่สิ้น แต่ตัวละครของเราก็จะมี Internal Cooldown (หรือ ICD) ในการใช้สกิลธาตุ-ท่าไม้ตาย หรือการโจมตีปกติ ที่จะเป็นตัวสร้างช่องว่างเวลาของการแปะธาตุแทน

แล้วทำไมตัวละครถึงต้องมีวิชัน?
ธาตุประจำตัวที่ได้รับพลังงานอันบริสุทธิ์จากเทพเจ้า “วิชั่น (Vision)” ที่เป็นดั่งสิ่งที่ตัวละคร “ผู้ใช้งานวิชั่น” ใช้ในการสร้างพลังงานธาตุและปลดปล่อยมันออกมา แต่ผู้ที่ไม่มีวิชั่นนั้นจะไม่สามารถใช้พลังงานธาตุได้ อย่างไรก็ตามก็ยังมีข้อยกเว้นอยู่อย่างเช่นกลุ่ม Fatui นั้นก็ได้ทำการผลิตตัวสร้างพลังงานธาตุเทียมอย่าง “ดีลูชั่น (Delusion)” หรือเครื่องสกัดพลังงานที่จะทำให้ผู้ใช้นั้นสามารถใช้พลังงานธาตุโดยไม่ต้องมีวิชั่นก็ได้
แต่ตัวละครเอกของเรานั้นก็ไม่มีวิชั่นเช่นกัน แต่การที่นักเดินทางไปสักการะรูปปั้นเทพเจ้าทั้งเจ็ด “The Statue of the Seven” นอกเมือง Mondstadt รูปปั้นเทพเจ้า Barbatos ก็ได้มอบพลังธาตุลมให้กับนักเดินทางทันที หรือนักเดินทางจะเป็นดั่ง “ข้อยกเว้น” ของการใช้พลังงานธาตุในประเทศ Teyvat กันแน่?

ข้อมูลอ้างอิง
- Elemental Reactions | Genshin Impact Wiki | Fandom
- Melt | Genshin Impact Wiki | Fandom
- Vaporize | Genshin Impact Wiki | Fandom
- Electro-Charged | Genshin Impact Wiki | Fandom
- Frozen | Genshin Impact Wiki | Fandom
- Superconduct | Genshin Impact Wiki | Fandom
- Overloaded | Genshin Impact Wiki | Fandom
- Electro-Charged | Genshin Impact Wiki | Fandom
- Elemental Absorption | Genshin Impact Wiki | Fandom
- Crystallize | Genshin Impact Wiki | Fandom