ธาตุมีอะไรบ้าง? ปฏิกิริยาธาตุคืออะไร? เกิดปฏิกิริยาไหนทำให้ตีแรงมากที่สุด? ในสตอรีนี้เราก็จะมาพูดถึงที่มาของธาตุ วิชัน และการเกิดปฏิกิริยาธาตุในเกม Genshin Impact กันครับ รวมทั้งการสร้างปฏิกิริยาทางธาตุว่าจะสามารถช่วยเหลือเพื่อน ๆ ในการจัดการศัตรูระดับอีลีทได้อย่างไรกัน
ระบบธาตุทั้งเจ็ด (The Seven Element)
ธาตุ (Element) คือระบบหนึ่งในเกม Genshin Impact ที่ภายในโลกแห่ง Teyvat นั้นมีอยู่และอยู่ร่วมกันเป็นหนึ่ง พูดง่าย ๆ คือระบบธาตุนั้นถูกสร้างขึ้นมาเพื่อให้เพื่อน ๆ ทำความเข้าใจและนำเอาไปใช้งานกับทั้งตัวละคร ศัตรู และองค์ประกอบภายในเกมผ่านการใช้ธาตุและการเกิดปฏิกิริยาธาตุเมื่อมีธาตุสองธาตุเกิดปฏิกิริยาต่อกัน ดังนั้นเพื่อน ๆ หน้าใหม่ที่เพิ่งเข้ามาเล่นเกม (หรือหน้าเก่าด้วย) เข้าใจระบบและใช้ประโยชน์มันให้เป็นประโยชน์มากที่สุด
สตอรีที่เกี่ยวข้อง เพื่อน ๆ ที่สนใจเกี่ยวกับระบบธาตุ และเนื้อเรื่องของเกมที่เกี่ยวกับธาตุ สามารถเข้าไปอ่านได้ที่ [อัพเดทแล้ว] ทำความรู้จักธาตุทั้ง 7 ใน Genshin Impact พร้อมเนื้อเรื่องของเกม
โดยภายในเกม Genshin Impact จะมีธาตุอยู่ทั้งหมด 7 ธาตุดังต่อไปนี้
- ธาตุไฟ (Pyro) ธาตุแห่งการสู้รบและมอดไหม้
- ธาตุน้ำ (Hydro) ธาตุแห่งความเท่าเทียม ทันสมัย และยืดหยุ่น
- ธาตุลม (Anemo) ธาตุแห่งความเสรี
- ธาตุไฟฟ้า (Electro) ธาตุแห่งความนิรันดร์
- ธาตุไม้ (Dendro) ธาตุแห่งความรู้
- ธาตุน้ำแข็ง (Cryo) ธาตุแห่ง ???
- ธาตุหิน (Geo) ธาตุแห่งการค้าขาย
โดยสีและเครื่องหมายเหล่านี้จะแสดงบนศัตรูและตัวเลขความเสียหายจากการโจมตีด้วยประเภทธาตุ หรือที่เรียกว่าความเสียหายธาตุ (Elemental Damage) อย่างไรก็ตามการโจมตีทั่วไปบางครั้งหรือวิธีจะเป็นสีขาวซึ่งการโจมตีนั้นเรียกมันว่าการโจมตีกายภาพ (Physical Damage) ซึ่งการโจมตีนั้นจะไม่ใช่การโจมตีด้วยธาตุ
หากเพื่อน ๆ ต้องการใช้ปฏิกิริยาธาตุเราก็จะต้องไปโฟกัสในการโจมตีด้วยธาตุเพื่อแปะธาตุหรือการกระตุ้นให้เกิดปฏิกิริยาธาตุ
ปฎิกิริยาธาตุ (Elemental Reaction)
ปฏิกิริยาธาตุ (Elemental Reaction) คือระบบหนึ่งในเกม Genshin Impact ที่จะทำให้ศัตรูและตัวละครนั้นได้รับความเสียหายธาตุเพิ่มเติมจากการรวมธาตุ 2 ธาตุเข้าด้วยกันหรือการสร้างคอมโบด้วย 3 ธาตุ ซึ่งระบบนี้อาจสร้างข้อได้เปรียบในยามคับขัน หรือจะสร้างปัญหาให้กับผู้เล่น “คับขัน” ก็เป็นได้
รายชื่อปฏิกิริยาธาตุทั้งหมดในเกม (อัพเดท 3.0)
ในปัจจุบันในเกม Genshin Impact เวอร์ชัน 3.0 เป็นต้นไปจะมีการเกิดปฏิกิริยาธาตุทั้งหมด 11 ปฏิกิริยาธาตุกับ 7 ธาตุ ดังต่อไปนี้
- แช่แข็ง (Frozen) ธาตุน้ำ (Hydro) ทำปฏิกิริยากับธาตุน้ำแข็ง (Cryo)
- แตกกระจาย (Shattered) จากปฏิกิริยาแช่แข็ง (Frozen) กับการโจมตีที่เข้าข่ายทั้ง 5 วิธี
- นำไฟฟ้า (Superconduct) ธาตุไฟฟ้า (Electro) ทำปฏิกิริยากับธาตุน้ำแข็ง (Cryo)
- ระเหย (Vaporize) ธาตุน้ำ (Hydro) ทำปฏิกิริยากับธาตุไฟ (Pyro)
- ระเหยย้อนหลัง (Reverse Vaporize) ธาตุน้ำ (Hydro) กับธาตุไฟ (Pyro)
- ละลาย (Melt) ธาตุน้ำแข็ง (Cyro) ทำปฏิกิริยากับธาตุไฟ (Pyro)
- ละลายย้อนหลัง (Reverse Melt) ธาตุไฟ (Pyro) ทำปฏิกิริยากับธาตุน้ำแข็ง (Cyro)
- โอเวอร์โหลด (Overload) ธาตุไฟฟ้า (Electro) ทำปฏิกิริยากับธาตุไฟ (Pyro)
- ชาร์จไฟฟ้า (Electro-charged) ธาตุไฟฟ้า (Electro) ทำปฏิกิริยากับธาตุน้ำ (Hydro)
- กระจาย (Swirl) หนึ่งในสี่ธาตุดังต่อไปนี้: ธาตุไฟ (Pyro), ธาตุน้ำแข็ง (Cyro), ธาตุน้ำ (Hydro), และ ธาตุไฟฟ้า (Electro) ทำปฏิกิริยากับธาตุลม (Anemo)
- ตกผลึก (Crystalize) หนึ่งในสี่ธาตุดังต่อไปนี้: ธาตุไฟ (Pyro), ธาตุน้ำแข็ง (Cyro), ธาตุน้ำ (Hydro), และ ธาตุไฟฟ้า (Electro) ทำปฏิกิริยากับธาตุหิน (Geo)
- ปลุกเร้า (Quickening) จากธาตุไม้ (Dendro) ทำปฏิกิริยากับธาตุไฟฟ้า (Electro)
- แพร่ขยาย (Spread) จากศัตรูติดสถานะปลุกเร้าและการโจมตีด้วยธาตุไฟฟ้า (Electro)
- บีบอัด (Aggravate) จากศัตรูติดสถานะปลุกเร้าและการโจมตีด้วยธาตุไม้ (Dendro)
- งอกเงย (Bloom) จากธาตุไม้ (Dendro) ทำปฏิกิริยากับธาตุน้ำ (Hydro) โดยจะทำให้เกิด Dendro Core
- เบ่งบาน (Burgeon) เกิดจาก Dendro Core ทำปฏิกิริยากับธาตุไฟ (Pyro)
- ไฮเปอร์บลูม (Hyperbloom) เกิดจาก Dendro Core ทำปฏิกิริยากับธาตุไฟฟ้า (Electro)
- ติดไฟ (Burning) จากธาตุไม้ (Dendro) ทำปฏิกิริยากับธาตุไฟ (Pyro)
โดยบางปฏิกิริยาธาตุอย่างเช่นปลุกเร้า, งอกเงย, ระเหย, และ ละลาย ต่างแล้วจะมีวิธีการติดสถานะปฏิกิริยาธาตุที่แตกต่างกันออกไปอย่างสิ้นเชิง ดังนั้นใครที่อยากดูรายละเอียดของแต่ละปฏิกิริยาธาตุก็สามารถเข้ามาอ่านได้ในสตอรีนี้ได้เลย
เคล็ดลับ การโจมตีด้วยปฏิกิริยาธาตุนั้นไม่มีคูลดาวน์ ทำให้เราสามารถใช้ปฏิกิริยาธาตุสร้างความเสียหายได้เรื่อย ๆ หากยังสามารถกดสกิลหรือโจมตีธาตุได้เรื่อย ๆ ดังนั้นหากใครอยากเข้าไปเล่น Co-Op แล้วอยากทำตัวมีประโยชน์ก็สามารถใช้วิธีนี้ได้ครับ (รวมไปถึงโบนัสการโจมตีเพิ่มเติม)
เกี่ยวกับธาตุเริ่มต้น (Initial Element) และธาตุกระตุ้น (Trigger Element)
โดยในบางปฏิกิริยาธาตุนั้นจะมีลำดับในการติดธาตุ (ตัวอย่างเช่นการเกิดปฏิกิริยาธาตุระเหย Vaporize) ที่จะทำการคูณความเสียหายธาตุ 2 เท่าตัวหากว่าศัตรูนั้นได้ติดค่าสถานะธาตุไฟก่อนและกระตุ้นด้วยธาตุน้ำ ดังนั้นเราจึงต้องมีการแยกธาตุออกมาตามลำดับการติดธาตุได้แก่ ธาตุเริ่มต้น (Initial Element) และธาตุกระตุ้น (Trigger Element)
ธาตุเริ่มต้น (Initial Element)
เป็นธาตุแรกที่ศัตรูติด (จะเห็นเป็นไอคอนรูปธาตุเดียว) โดยผู้เล่นสามารถที่จะเป็นคนติดธาตุเริ่มต้นให้กับศัตรูเอง ศัตรูติดธาตให้ตัวเอง หรือเกิดจากสิ่งแวดล้อมก็เป็นได้ โดยจะไม่ส่งผลต่อค่าความเสียหายที่เกิดจากปฏิกิริยาธาตุ
ธาตุกระตุ้น (Trigger Element)
เป็นธาตุที่ทำให้เกิดปฏิกิริยาธาตุ โดยผู้เล่นมักจะเป็นคนติดธาตุที่สองนี้ด้วยตนเอง เนื่องจากการโจมตี (และค่าสถานะอื่น) ของตัวละครอาจจะเป็นตัวกำหนดพลังความเสียหายที่เกิดโดยปฏิกิริยาธาตุ
และเช่นกันที่บางปฏิกิริยาธาตุนั้นจะไม่มีลำดับในการติดธาตุก่อนหลัง ตัวอย่างเช่นธาตุไฟฟ้าและธาตุน้ำที่ทำให้เกิดปฏิกิริยาธาตุชาร์จไฟฟ้า (Electro-charged) หรือบางปฏิกิริยาธาตุนั้นไม่มีอยู่จริงเช่นธาตุลมและธาตุหินเป็นต้น
แล้วจะทำอย่างไรให้เกิดปฏิกิริยาธาตุแรง ๆ
โดยในทุกปฏิกิริยาธาตุสามารถเพิ่มความรุนแรงได้จากค่าสถานะความชำนาญธาตุ (Elemental Mastery หรือ EM) ที่สามารถเพิ่มได้จากค่าสถานะรองของอาวุธและค่าสถานะภายในอาร์ติแฟกต์
เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง โดยหากว่าเพื่อน ๆ สนใจอยากจะทำความเข้าใจค่าสถานะในอาร์ติแฟกต์ให้มากขึ้น พร้อมกับการปั้นอาร์ติแฟกต์ในฝันก็สามารถเข้าไปอ่านต่อได้ที่สตอรี ทำความเข้าใจ ระบบอาร์ติแฟกต์ในเกม Genshin Impact
คำอธิบายเกี่ยวกับแต่ละปฏิกิริยาธาตุ
สำหรับใครที่อยากเข้ามาอ่านเกี่ยวกับวิธีการทำให้ตัวละครของเราทำปฏิกิริยาธาตุที่ว่า เราก็ได้ทำการเขียนแนะนำทั้งกราฟสรุปปฏิกิริยาธาตุ (แตะหรือคลิกที่รูปเพื่อซูม) และทีมตัวอย่างที่เพื่อน ๆ ที่เป็นมือใหม่หรือมือฉมังก็สามารถเอาไปใช้งานได้
กระจาย (Swirl)
ธาตุลม (ธาตุกระตุ้น) จะทำการดึงเอาธาตุที่อยู่ในบริเวณและธาตุที่ติดอยู่กับศัตรูเข้ามาและกระจายธาตุนั้นไปยังศัตรูที่อยู่ในรัศมีกระจาย (แล้วแต่การโจมตีธาตุของแต่ละตัวละครธาตุลม) ซึ่งก็จะมีความเป็นไปได้สูงที่ธาตุที่กระจายไปนั้นจะไปกระตุ้นให้เกิดปฏิกิริยาธาตุขึ้นและเป็นการช่วยตัวละครธาตุอื่นให้สามารถปล่อยธาตุกระตุ้นได้ง่ายขึ้นได้เช่นกัน
พลังการดูดธาตุ
เมื่อตัวละครทำการกระจายธาตุ (Swirl) ให้กับศัตรูได้แล้ว ศัตรูก็จะได้รับการโจมตีสูงสุดสองธาตุ ได้แก่ความเสียหายธาตุลม (Anemo) และความเสียหายธาตุที่ติดไปด้วย เราจึงเห็นว่าตัวละครธาตุลมหลายตัวมักให้ความสำคัญกับการจัดทีมกับตัวละครธาตุอื่นเพื่อทำให้เกิดปฏิกิริยาธาตุ โดยค่าที่เกี่ยวข้องที่ว่านั้นคือค่าสถานะ Elemental Mastery (EM) ที่จะเพิ่มความเสียหายมากขึ้นหากเกิดปฏิกิริยาธาตุกระจาย (Swirl)
ลำดับการดูดธาตุ
หากว่าในบริเวณโดยรอบมีศัตรูติดธาตุหรือพื้นที่โดยรอบมีธาตุมากกว่าหนึ่งธาตุ เมื่อเกิดปฏิกิริยาธาตุกระจาย (Swirl) ก็จะมีการกระจายธาตุเดียวตามลำดับดังนี้
ไฟ (Pyro) → น้ำ (Hydro) → ไฟฟ้า (Electro) → น้ำแข็ง (Cryo)
ตัวอย่างเช่นหากว่าในพิ้นที่มีศัตรูติดธาตุน้ำ (Hydro) และธาตุไฟฟ้า (Electro) อยู่ การดูดธาตุก็จะมีการกระจาย (Swirl) เป็นธาตุน้ำ (Hydro) นั่นเอง และไม่มีการกระจายธาตุไฟฟ้าแต่อย่างใด
แล้วจึงกระจายธาตุที่ดูดได้ ไปแปะธาตุยังศัตรูที่อยู่บริเวณโดยรอบ พร้อมกับการสร้างความเสียหายธาตุลม ซึ่งเพื่อน ๆ หลายคนมักจะทำการฟาร์มอาร์ติแฟกต์เซ็ท Viridescent Venerer ให้กับตัวละครอย่าง Sucrose, Kaedehara Kazuha และ Jean ในการสร้างปฏิกิริยาธาตุ Swirl พร้อมการใช้โบนัสการโจมตี 60% และลดค่าความต้านทานธาตุ (Elemental RES) ลง 40% อีกด้วย
ตกผลึก (Crystalize)
ธาตุ : ไฟ/น้ำแข็ง/น้ำ/ไฟฟ้า ⮂ หิน (Geo)
เมื่อมีธาตุที่ติดอยู่กับศัตรูแล้วมีการกระตุ้นโดยธาตุหินก็จะทำให้เกิดปฏิกิริยาธาตุ “ตกผลึก” ที่จะเป็นการสร้างเม็ดคริสตัลธาตุที่ผู้เล่นสามารถเดินเข้าไปเก็บเพื่อรับโล่ป้องกันเพื่อป้องกันการโจมตีสูงสุด 15 วินาที หรือเท่ากับ HP ของโล่ ซึ่งเพื่อน ๆ สามารถเก็บผลึกเพิ่มเพื่อรีเซ็ทเวลาหรือ HP คงเหลือได้
การเกิดปฏิกิริยาธาตุนี้จึงได้รับความนิยมในหมู่ผู้ใช้งานเพราะสามารถทำให้เราได้รับความเสียหายจากการโจมตีได้น้อยลง ทำให้เราไม่จำเป็นต้องเสียเวลาหรือทรัพยากรในการฮีลตัวละครหรือต้องคอยหลบการโจมตี
ความแข็งแรงของโล่ที่เกิดจากการตกผลึก (Crystalize)
เมื่อตัวละครได้ทำการเก็บผลึกที่เกิดจากปฏิกิริยาตกผลึก ก็จะมีการคำนวณความแข็งแรงโดยอ้างอิงจาก Elemental Mastery (EM) ของตัวละครธาตุหินที่ทำให้เกิดปฏิกิริยานี้ขึ้นสูงสุด 1851 x (444 x (EM / EM + 1400) ) HP ซึ่งจะทำหน้าที่ได้ดีกว่าเมื่อใช้ในการป้องกันการโจมตีธาตุที่ตรงกันกับที่เป็นธาตุเริ่มต้น/ธาตุกระตุ้น
ละลาย (Melt)
โดยคอมโบละลายนั้นเป็นหนึ่งในสองคอมโบ (ร่วมกับคอมโบระเหย) ที่จะทำให้ผู้เล่นสามารถโจมตีศัตรูได้แรงมากยิ่งขึ้น แต่เพื่อที่จะให้โจมตีแรงขึ้นถึง 2x นั้น ผู้ทำปฏิกิริยาธาตุจะต้องเป็นธาตุไฟเท่านั้น (คำนวณ x2 จากพลังการโจมตีธาตุจากการโจมตีไฟ)
กระตุ้นโดยธาตุไฟ (Melt)
เมื่อเกิดปฎิกิริยาละลายด้วยการใช้ธาตุไฟในการกระตุ้น จะทำให้ความแรงในการโจมตีครั้งที่เกิดปฏิกิริยานั้นเพิ่มขึ้น 2x เมื่อเปรียบเทียบกับการโจมตีธาตุไฟปกติ
กระตุ้นโดยธาตุน้ำแข็ง (Reverse Melt)
เมื่อเกิดปฎิกิริยาละลายด้วยการใช้ธาตุน้ำแข็งในการกระตุ้น จะทำให้ความแรงในการโจมตีครั้งที่เกิดปฏิกิริยานั้นเพิ่มขึ้น 1.5x เมื่อเปรียบเทียบกับการโจมตีธาตุน้ำแข็งปกติ
แช่แข็ง (Frozen)
ในปฏิกิริยาแช่แข็งนั้น ผู้เล่นจะไม่ได้รับโบนัสการโจมตีแต่อย่างใด แต่ศัตรูที่ถูกแช่แข็งจะไม่สามารถเคลื่อนไหวได้จนกว่าสถานะแช่แข็งจะหมดลง ทำให้เราสามารถโจมตีศัตรูโดยที่ศัตรูไม่สามารถโจมตีเรากลับระหว่างศัตรูกำลังติดสถานะแช่แข็งได้นั่นเอง เป็นประโยชน์ให้เราสามารถโจมตีศัตรูได้อย่างต่อเนื่อง
แตกกระจาย (Shattered)
และนอกจากนี้แล้ว เมื่อศัตรูได้เข้าสู่สถานะถูกแช่แข็ง (Frozen) และเราได้ทำการโจมตีด้วยหนึ่งใน 5 ลักษณะดังต่อไปนี้ ก็จะทำให้ศัตรูได้รับความเสียหายกายภาพ (Physical Damage) จากการเกิดปฏิกิริยาแตกกระจาย (Shattered)
- การโจมตีด้วยตัวละครที่ใช้ดาบใหญ่ (Claymore)
- การโจมตีแบบดิ่ง (Plunging Attack)
- การโจมตีด้วยธาตุหิน (Geo) ส่วนใหญ่
- การระเบิด (Explosives) จากทั้งการโจมตีจากตัวละคร (เช่นระเบิดน้อง Klee) และถังระเบิด
- ปฏิกิริยาธาตุโอเวอร์โหลด (Overload)
โดยทีมที่เข้าข่ายการทำให้เกิดปฏิกิริยาธาตุนั้นก็คือทีมตัวละครยูล่า (Eula) ที่เธอเป็นทั้งเป็นตัวละครหลักในทีมที่สามารถแปะธาตุน้ำแข็ง และยังสามารถโจมตีด้วยดาบใหญ่ในการโจมตีแบบอัลติ (Elemental Burst) เพื่อกระตุ้นให้เกิดการโจมตีพร้อมโบนัสปฏิกิริยาธาตุแตกกระจาย (Shattered)
นำไฟฟ้า (Superconduct)
เมื่อศัตรูที่โดนปฏิกิริยานำไฟฟ้า (Superconduct) จะถูกลดค่าการป้องกันกายภาพ (Physical DEF) ลง 40% เป็นระยะเวลา 12 วินาที พร้อมกับการสร้างความเสียหายธาตุน้ำแข็ง (AoE Cryo Damage) ในรัศมี 5 เมตร
ระเหย (Vaporize)
โดยการระเหยนั้นจะสามารถเกิดขึ้นได้สองทางตามลำดับการทำปฏิกิริยาธาตุระหว่างธาตุไฟ (Pyro) และธาตุน้ำ (Hydro) โดยค่าการโจมตีที่ผู้เล่นจะได้นั้นจะแตกต่างกันดังนี้
- ระเหย (Vaporize)
ธาตุกระตุ้น (Trigger Element) เป็นธาตุน้ำ (Hydro) จะสร้างความเสียหายธาตุน้ำ 2x เท่า - ระเหยย้อนหลัง (Reverse Vaporize)
ธาตุกระตุ้น (Trigger Element) เป็นธาตุไฟ (Pyro) จะสร้างความเสียหายธาตุไฟ 1.5x เท่า
กระตุ้นโดยธาตุน้ำ (Vaporize)
การเกิดปฏิกิริยาธาตุระเหยแบบปกตินั้นจำเป็นต้องใช้ธาตุน้ำ (Hydro) ในการกระตุ้นธาตุ ซึ่งจะสร้างความเสียหายให้แก่ศัตรู 2x จากการโจมตีธาตุน้ำ
ซึ่งการทำให้เกิดปฏิกิริยาธาตุนี้มีความลำบากในเรื่องของการหาตัวละคร DPS ธาตุน้ำ ที่ปัจจุบันมีให้เลือกเพียงสองตัวได้แก่ Nilou และ Childe (Targalia) เท่านั้น และใช้งานคู่กับ Xiangling หรือ Bennett ก็ได้
กระตุ้นโดยธาตุไฟ (Reverse Vaporize)
เหมือนกับระเหยปกติแต่มีตัวคูณการโจมตี 1.5x เท่า
โอเวอร์โหลด (Overload)
ปฏิกิริยาโอเวอร์โหลดจะทำให้ศัตรูได้รับความเสียหายระเบิดในรัศมีบริเวณ (AoE) ซึ่งโดยส่วนตัวแล้วชอบเพราะผู้เล่นจะสามารถตีเกราะให้แตกได้เร็วขึ้น และยังทำให้ศัตรูล้มและปลิวออกจากบริเวณไป
ชาร์จไฟฟ้า (Electro-charged)
ปฏิกิริยาขาร์จไฟฟ้าจะทำให้ศัตรูโดนไฟฟ้าช็อตและกระจายไปยังศัตรูรอบข้าง แม้ว่าคุณจะไม่ได้รับอะไรเพิ่มจากการเกิดปฏิกิริยา แต่เมื่อเกิดปฏิกิริยานี้แล้ว ธาตุน้ำและธาตุไฟฟ้าจะไม่หายไปเหมือนปฏิกิริยาอื่น เท่ากับว่าเป็นการเปิดช่องให้เกิดปฏิกิริยาพร้อมกันทั้งธาตุน้ำและไฟฟ้า กับธาตุไฟหรือธาตุน้ำแข็ง
[ใหม่] ธาตุไม้และปฏิกิริยาธาตุไม้ (Dendro)
เนื่องจากธาตุไม้นั้นเพิ่งได้รับการเปิดตัวอย่างเป็นทางการใน Genshin Impact แพทช์ 3.0 พร้อมกับเนื้อหาเมือง Sumeru เราจึงได้ทำเนื้อหาพิเศษสำหรับปฏิกิริยาธาตุไม้เอาไว้เป็นพิเศษ โดยธาตุไม้นั้นมีการเกิดปฏิกิริยาธาตุดังนี้
ปลุกเร้า (Quicken)
เมื่อเกิดปฏิกิริยาธาตุระหว่างไฟฟ้าและธาตุไม้ (ไม่มีลำดับการติด) จะทำให้ศัตรูติดค่าสถานะปลุกเร้าและจะสามารถเกิดปฏิกิริยาธาตุต่อไปได้โดยการติดธาตุไฟฟ้าหรือไม้เป็นธาตุกระตุ้นการเกิดปฏิกิริยาบีบอัดหรือแพร่ขยาย
หากศัตรูติดค่าสถานะปลุกเร้า (Quicken) แล้วโจมตีอีกครั้งด้วยธาตุไฟ (Pyro) หรือน้ำ (Hydro) ก็จะทำให้เกิดปฏิกิริยาธาตุติดไฟ (Burning) หรือ งอกเงย (Bloom)
ธาตุไฟฟ้า: บีบอัด (Aggravate)
เมื่อศัตรูได้รับค่าสถานะปลุกเร้า (Quicken) และถูกกระตุ้นด้วยธาตุไฟฟ้า (Electro) อีกครั้งก็จะทำให้เกิดค่าสถานะ “บีบอัด”
โดยค่าสถานะบีบอัดนั้นจะเพิ่มพลังการโจมตีธาตุไฟฟ้าและสามารถเพิ่มพลังการโจมตีนี้จากค่า Elemental Mastery (EM) ของตัวละคร
ธาตุไม้: แพร่ขยาย (Spread)
เมื่อศัตรูได้รับค่าสถานะปลุกเร้า (Quicken) และถูกกระตุ้นอีกครั้งด้วยธาตุไม้ (Dendro) อีกครั้งก็จะทำให้เกิดค่าสถานะ “แพร่ขยาย”
โดยค่าสถานะแพร่ขยายจะเพิ่มพลังการโจมตีธาตุไม้และสามารถเพิ่มพลังการโจมตีนี้จากค่า Elemental Mastery (EM) ของตัวละคร
ติดไฟ (Burning)
ปฏิกิริยานี้จะทำให้สิ่งของหรือตัวละครที่ติดธาตุพืชได้รับความเสียหายไฟ (Pyro) เผาไหม้อย่างต่อเนื่อง โดยศัตรูจะมีการติดไฟจนกว่าการเกิดปฏิกิริยาธาตุสิ้นสุดลงหรือเกิดปฏิกิริยาธาตุอื่นที่ลบล้างการติดค่าสถานะ
งอกเงย (Bloom)
เมื่อธาตุน้ำเจอกับธาตุไม้จะทำให้เกิดปฏิกิริยางอกเงย ซึ่งการเกิดปฏิกิริยาธาตุนี้จะก่อให้เกิด Dendro Core (หรือที่ชุมชน Genshin Impact จะเรียกว่า “มะเฟือง”) ซึ่งผู้เล่นสามารถสร้างปฏิกิริยาธาตุกับ Dendro Core ด้วยธาตุไฟฟ้าหรือธาตุไฟได้ โดยทำให้เกิดปฏิกิริยาที่เกิดจาก Dendro Core ได้แก่ปฏิกิริยาธาตุไฮเปอร์บลูม (Hyperbloom) และเบ่งบาน (Burgeon)
Dendro Core (มะเฟือง)
เมื่อผู้เล่นได้ทำการสร้างปฏิกิริยาธาตุงอกเงย (Bloom) แล้ว จะมี Dendro Core (หรือคอมมูนิตี้เกมจะเรียกมันว่า “มะเฟือง” เพราะหน้าตาคล้ายมะเฟืองนั่นเอง) โผล่ขึ้นมาใกล้สิ่งที่ทำปฏิกิริยางอกเงย โดยหน้าที่ของเพื่อน ๆ คือการทำให้มันระเบิดหรือเข้าไปโจมตีศัตรูด้วยหลากหลายวิธี
หาก Dendro Core มีอายุมากกว่า 3 วินาทีหรือมี Dendro Core มากกว่า 5 อันในฟิลด์ ก็จะทำให้ Dendro Core ที่เกิดก่อนสุดเกิดการระเบิด สร้างความเสียหายแบบวงกว้าง (AoE หรือ Area of Effect) เป็นธาตุไม้ (Dendro) ให้แก่วัตถุ, ตัวละคร, หรือศัตรูทันที ทำให้สิ่งเหล่านั้นติดธาตุไม้ (Dendro) โดยอัตโนมัติ
หนึ่งวิธีที่หลาย ๆ คนทำ นั่นคือพยายามทำปฏิกิริยางอกเงยให้ได้มากที่สุด เพื่อให้มันสร้าง Dendro Core ออกมามาก ๆ และเมื่อมันมีมากเกิน 5 อันในพื้นที่มันก็จะระเบิดนั่นเอง
โดยผู้เล่นสามารถใช้ประโยชน์จากตัวละครติดธาตุไม้และตัวละครกระจายธาตุน้ำ ตัวอย่างเช่น Nahida, Sangonomiya Kokomi, Mona, Traveller (ธาตุไม้), Nilou, และ Tighnari ในการสร้างความเสียหายด้วยการใช้เพียงการใช้ปฏิกิริยางอกเงย (Bloom) ที่ทำให้เกิด Dendro Core และสร้างความเสียหายอย่างต่อเนื่อง
ธาตุไฟฟ้า: ไฮเปอร์บลูม (Hyperbloom)
เมื่อ Dendro Core เกิดปฏิกิริยากับธาตุไฟฟ้า จะทำให้ Dendro Core เปลี่ยนมาเป็น “Sprawling Shot” ที่จะพุ่งไปยังศัตรูโดยอัตโนมัติ
ทำให้ทีมที่เน้นการทำปฏิกิริยาธาตุไฮเปอร์บลูมจะต้องประกอบไปด้วยตัวละครธาตุไม้, ธาตุน้ำ, และธาตุไฟฟ้า ส่งผลให้การใช้งานในบางครั้งอาจเกิดปฏิกิริยาปลุกเร้า (Quicken), ชาร์จไฟฟ้า (Electro-charged) และงอกเงย (Bloom) ได้เช่นเดียวกัน
ธาตุไฟ: เบ่งบาน (Burgeon)
เมื่อ Dendro Core สำผัสกับธาตุไฟจะทำให้เกิดปฏิกิริยาธาตุ “เบ่งบาน” กล่าวคือ ตัว Dendro Core จะเกิดการระเบิดทันที สร้างความเสียหายแบบวงกว้าง (AoE) ธาตุไม้ (AoE Dendro Damage) ที่รุนแรงมากกว่าการระเบิดของ Dendro Core ทั่วไป
การติด/แปะธาตุ
เพื่อทำให้ศัตรูได้รับความเสียหายธาตุต่อเนื่องหรือเกิดปฏิกิริยาธาตุ ผู้เล่นก็จะต้องทำการติดธาตุให้กับศัตรูก่อน โดยเราจะขอเรียกธาตุแรกที่ศัตรูติดเป็น “ธาตุเริ่มต้น” และธาตุต่อไปที่ติดและทำให้เกิดปฏิกิริยาธาตุเป็น “ธาตุกระตุ้น”
โดยวิธีในการติดธาตุนั้นจะส่งผลต่อระยะเวลาที่ศัตรูจะติดค่าสถานะ ซึ่งจะสามารถติดศัตรูได้สูงสุดถึง 15 วินาทีและสามารถติดธาตุซ้ำเพื่อเพิ่มหรือรีเซ็ทระยะเวลาในการติดธาตุเข้าไปได้อีกด้วย
วิธีการติดแปะธาตุ
เราสามารถทำให้ตัวละครหรือศัตรูติดธาตุได้โดยการใช้หนึ่งหรือหลายวิธีดังต่อไปนี้
- การโจมตีปกติและการชาร์จโจมตี (Normal / Charged Attack)
- การใช้สกิลธาตุ (Elemental Skill หรือ E)
- การใช้ท่าไม้ตาย (Elemental Burst หรือ Q)
- สภาวะแวดล้อมภายในเกม เช่นถังระเบิดธาตุ, หญ้าที่กำลังไหม้, ฝนที่กำลังตก, ดอกไม้ธาตุที่อยู่โดยรอบเป็นต้น
- (เฉพาะในโดเมน) Lay line Disorder ที่จะมีการปล่อยธาตุอย่างต่อเนื่อง
- การใช้ธาตุบริเวณโดยรอบ (จากทั้งตัวศัตรูและสภาพแวดล้อม) ในการกระจายธาตุไปยังบริเวณโดยรอบ
โดยธาตุที่ตัวละครหรือศัตรูจะติดนั้นก็จะขึ้นอยู่กับธาตุที่ตัวละครใช้ หรืออยู่ในสภาพแวดล้อม หรือ Lay Line Disorder ใด ซึ่งการติดธาตุนี้จะไม่มีระบบ Cooldown แต่อย่างใด ทำให้เราสามารถติดค่าสถานะใด ๆ ซ้ำได้โดยไม่จบไม่สิ้น แต่ตัวละครของเราก็จะมี Internal Cooldown (หรือ ICD) ในการใช้สกิลธาตุ-ท่าไม้ตาย หรือการโจมตีปกติ ที่จะเป็นตัวสร้างช่องว่างเวลาของการแปะธาตุแทน
แล้วทำไมตัวละครถึงต้องมีวิชัน?
ธาตุประจำตัวที่ได้รับพลังงานอันบริสุทธิ์จากเทพเจ้า “วิชั่น (Vision)” ที่เป็นดั่งสิ่งที่ตัวละคร “ผู้ใช้งานวิชั่น” ใช้ในการสร้างพลังงานธาตุและปลดปล่อยมันออกมา แต่ผู้ที่ไม่มีวิชั่นนั้นจะไม่สามารถใช้พลังงานธาตุได้ อย่างไรก็ตามก็ยังมีข้อยกเว้นอยู่อย่างเช่นกลุ่ม Fatui นั้นก็ได้ทำการผลิตตัวสร้างพลังงานธาตุเทียมอย่าง “ดีลูชั่น (Delusion)” หรือเครื่องสกัดพลังงานที่จะทำให้ผู้ใช้นั้นสามารถใช้พลังงานธาตุโดยไม่ต้องมีวิชั่นก็ได้
แต่ตัวละครเอกของเรานั้นก็ไม่มีวิชั่นเช่นกัน แต่การที่นักเดินทางไปสักการะรูปปั้นเทพเจ้าทั้งเจ็ด “The Statue of the Seven” นอกเมือง Mondstadt รูปปั้นเทพเจ้า Barbatos ก็ได้มอบพลังธาตุลมให้กับนักเดินทางทันที หรือนักเดินทางจะเป็นดั่ง “ข้อยกเว้น” ของการใช้พลังงานธาตุในประเทศ Teyvat กันแน่?
คำถามถามบ่อย (FAQ)
หากเพื่อน ๆ มีคำถามที่เรายังไม่ได้ตอบให้ เพื่อน ๆ สามารถเข้าไปที่ชุมชน ByteSide.one บน Facebook และเข้าไปคอมเม้นต์ใต้โพสต์ : https://www.facebook.com/groups/815135269154285/permalink/1006130253388118/ ได้เลย เราจะพยายามตอบเพื่อน ๆ ให้ได้มากที่สุดครับ
ในเวอร์ชัน 3.0 ทาง Genshin Impact มีปฏิกิริยาธาตุทั้งสิ้น 17 ประเภทจาก 7 ธาตุภายในเกม ได้แก่แช่แข็ง (Frozen), นำไฟฟ้า (Superconduct), ระเหย (Vaporize), ละลาย (Melt), โอเวอร์โหลด (Overload), ชาร์จไฟฟ้า (Electro-charged), กระจาย (Swirl), ตกผลึก (Crystalize), แตกกระจาย (Shattered), ปลุกเร้า (Quickening), แพร่ขยาย (Spread), บีบอัด (Aggravate), งอกเงย (Bloom), เบ่งบาน (Burgeon), ไฮเปอร์บลูม (Hyperbloom), ติดไฟ (Burning)
ปฏิกิริยาธาตุ (Elemental Reaction) คือระบบหนึ่งในเกม Genshin Impact ที่จะทำให้ศัตรูและตัวละครนั้นได้รับความเสียหายธาตุเพิ่มเติมจากการรวมธาตุ 2 ธาตุเข้าด้วยกัน
ปัจจุบัน Genshin Impact มีทั้งหมด 7 ธาตุดังนี้ ธาตุไฟ (Pyro), ธาตุน้ำ (Hydro), ธาตุลม (Anemo), ธาตุไฟฟ้า (Electro), ธาตุไม้ (Dendro), ธาตุน้ำแข็ง (Cryo), และธาตุหิน (Geo)
ปัจจุบัน Genshin Impact ธาตุลม (Anemo) กับธาตุหิน (Geo) จะไม่มีการเกิดปฏิกิริยาต่อกัน
ปัจจุบัน Genshin Impact ธาตุน้ำแข็ง (Cryo) กับธาตุไม้ (Dendro) จะไม่มีการเกิดปฏิกิริยาต่อกัน ทำให้ธาตุทั้งสองก็จะยังติดสถานะอยู่กับศัตรูหรือตัวละครต่อไปจนกว่าจะมีธาตุที่สามเข้ามาติดและสร้างปฏิกิริยากับหนึ่งในสองธาตุ
ธาตุไม้ (Dendro) คือธาตุที่ 7 ที่ถูกเปิดตัวล่าสุดในแพทช์ 3.0 ซึ่งหนึ่งในชื่อที่ผู้เล่นชาวไทยลือเอาไว้ว่า “Dendro” ในภาษาไทยจะแปลว่าอะไรก็คือธาตุพืช แต่ชื่อที่เป็นทางการคือ “ธาตุไม้”
เนื่องจากการคำนวณพลังการโจมตีจากธาตุนั้นจะต้องคำนวณจากค่าสถานะของตัวละครอย่างค่า ATK, ATK%, HP, HP%, DEF, DEF%, Elemental Mastery (EM) รวมไปถึงความต้านทานธาตุของศัตรู (Enemy Elemental Resistance) และตัวเลือกที่เพื่อน ๆ มีในปัจจุบัน ดังนั้นเราจึงไม่สามารถแนะนำคำตอบนี้อย่างชัดเจนให้เพื่อน ๆ ได้
เราแนะนำให้เพื่อน ๆ ใช้ปฏิกิริยาธาตุที่เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบันของเพื่อน ๆ จะดีที่สุด หากเพื่อน ๆ เพิ่งเริ่มเล่นเกมใหม่ ๆ ก็สามารถเริ่มจากปฏิกิริยาธาตุนำไฟฟ้าหรือระเหยจาก Lisa, Barbara, Xingqiu, Xiangling ก็ได้ครับ หรือจะเล่นเป็นสายธาตุหินกับ Noelle ก็ได้เช่นเดียวกัน
ข้อมูลอ้างอิง
- Elemental Reactions | Genshin Impact Wiki | Fandom
- Melt | Genshin Impact Wiki | Fandom
- Vaporize | Genshin Impact Wiki | Fandom
- Electro-Charged | Genshin Impact Wiki | Fandom
- Frozen | Genshin Impact Wiki | Fandom
- Superconduct | Genshin Impact Wiki | Fandom
- Overloaded | Genshin Impact Wiki | Fandom
- Electro-Charged | Genshin Impact Wiki | Fandom
- Elemental Absorption | Genshin Impact Wiki | Fandom
- Crystallize | Genshin Impact Wiki | Fandom