พื้นที่เก็บข้อมูลภายในคลาวด์ได้รับความนิยมมากขึ้นตั้งแต่มีการเปลี่ยนรูปแบบการทำงานมาเป็นแบบ Work from Home เพื่อให้รองรับการทำงานร่วมกัน การเก็บข้อมูลได้อย่างปลอดภัยและกำหนดสิทธิ์ในการเข้าถึงได้อย่างง่ายดาย และเช่นกันที่เราก็มีตัวเลือกที่คนในประเทศไทยใช้งานและค้นหากันบ่อยครั้งที่สุดสองบริการ ได้แก่ Google Drive และ Microsoft OneDrive (อ้างอิงจาก Google Trends1)

ในสตอรีนี้เราก็จะมาพูดถึงบริการพื้นที่จัดเก็บคลาวด์ทั้งสองบริษัทยักษ์ใหญ่อย่าง Google Drive และ Microsoft OneDrive ที่ผู้ใช้งานทั้งองค์กรและผู้ใช้งานทั่วไปต่างเลือกใช้ให้จัดเก็บไฟล์ออนไลน์กันทั้งนั้น โดยเราจะมาเปรียบเทียบทั้งฟีเจอร์การใช้งาน, การสำรองข้อมูลอัตโนมัติ, ราคาพื้นที่จัดเก็บ, ฟีเจอร์การทำงานร่วมกันกับผู้ใช้งานอื่น, และสิ่งที่คุณควรรู้สำหรับการจัดเก็บไฟล์ออนไลน์กับสองบริการนี้

1ข้อมูลอ้างอิงจาก trends.google.com ด้วยข้อมูลตั้งแต่วันที่ 13 ธันวาคม 2563 ถึง 11​ ธันวาคม 2564 (เป็นระยะเวลา 12 เดือน)

เนื้อหาในสตอรีนี้

การต่อสู้ระหว่าง Google Drive และ Microsoft OneDrive

เริ่มต้นมานานแล้วสำหรับการต่อสู้เพื่อแย่งชิงผู้ใช้งานอย่าง Google Drive และ Microsoft OneDrive ที่ดูเหมือนว่าจะสามารถแย่งลูกค้าออกมาจากบริการ Dropbox ที่เมื่อปี 2010 เป็นอันดับหนึ่งของพื้นที่จัดเก็บคลาวด์สาธารณะ แต่อย่างไรก็ตามในปี 2021 ทาง Google Drive ก็เริ่มออกมาเปลี่ยนการคำนวณพื้นที่จัดเก็บใหม่ ที่จะทำให้ไฟล์ Google Docs, Google Sheets, Google Slides ในแผนการจัดเก็บปกติถูกนำมาคิดเป็นพื้นที่จัดเก็บแล้ว

ทำความรู้จักกับ Google Drive

Google Drive คือบริการเก็บไฟล์ออนไลน์ หรือ Cloud Storage ที่ผู้ใช้งานบริการ Google สามารถเข้ามาเก็บไฟล์งานหรืออื่น ๆ พร้อมทั้งยังสามารถนำไปใช้งานเพื่อการทำงานร่วมกันผ่านระบบการแชร์การทำงาน (File Collaboration) ได้อีกด้วย และนอกจากนี้ผู้ใช้งานสามารถใช้บริการทางธุรกิจอย่าง Google Docs, Google Sheets, Google Slides, Google Hangout Meet และ Gmail ผ่านบริการภายในหน้าเว็บได้ฟรี

สนับสนุนโดย

สำหรับผู้ใช้งานทั้งหมดที่มีบัญชีผู้ใช้งาน Google (Google Account) ก็สามารถใช้งาน Google Drive, Gmail, และ Google Photos กับพื้นที่จัดเก็บไฟล์ฟรีจำนวน 15 GB และสามารถซื้อพื้นที่จัดเก็บเพิ่มพร้อมบริการอื่น ๆ ที่พ่วงมา ด้วยการสมัครบริการรายเดือน Google One ที่จะให้ผู้ใช้งานสามารถเพิ่มพื้นที่จัดเก็บและแชร์พื้นที่จัดเก็บกับผู้ใช้งานครอบครัวได้สูงสุดถึง 2 TB อีกด้วย

นำเสนอ Microsoft OneDrive

Microsoft OneDrive (หรือที่เรียกย่อว่า OneDrive) เป็นบริการจัดเก็บไฟล์ออนไลน์ที่ให้บริการโดยบริษัท Microsoft ที่ให้ผู้ใช้งานสามารถสมัครสมาชิกเพื่อใช้บริการด้านการทำงานอย่าง Microsoft Office (เช่น Microsoft Word, Microsoft Excel, Microsoft PowerPoint, Microsoft Outlook) ในนาม Microsoft 365 และจะมอบพื้นที่จัดเก็บเพิ่มเติมให้กับผู้ใช้งานที่สมัครทั้งหมด และใน OneDrive เองก็มีฟีเจอร์การใช้งานอย่างการแชร์ไฟล์ การกำหนดสิทธิ์ในการเข้าถึง และยังติดเครื่องมาพร้อมกับระบบปฏิบัติการ Windows รุ่นใหม่ทั้งหมดอีกด้วย

เพื่อการใช้งานอย่างเต็มรูปแบบ ผู้ใช้สามารถทำการสมัครบริการ Microsoft 365 เพื่อจะได้รับพื้นที่จัดเก็บฟรีเป็นจำนวน 1 TB ตลอดระยะเวลาการสมัครบริการพร้อมกับ Microsoft Office ที่อัพเดทให้ผู้ใช้งานฟรีบนอุปกรณ์ทั้งหมดของคุณ แต่สำหรับใครที่อยู่ร่วมกับครอบครัวก็สามารถซื้อ Microsoft 365 ประเภทครอบครัว (Microsoft 365 Family) เพื่อรับสิทธิในการใช้งาน OneDrive ได้คนละ 1 TB เป็นจำนวน 6 บัญชี (รวมบัญชีของผู้สมัครแล้ว)​

หัวข้อในการตัดสินผู้ชนะ

เพื่อที่จะเลือกผู้ชนะ (หรือผู้นำ)​ ของการแข่งขันบริการพื้นที่จัดเก็บคลาวด์ เราก็ได้ทำการแยกออกมาเป็นหัวข้อทั้งหมดดังนี้ :

  • หน้าตาอินเตอร์เฟสการใช้งาน
  • ความคุ้มค่าของบริการ
  • การอัพโหลดไฟล์
  • การทำงานร่วมกันและการกำหนดสิทธิ์ไฟล์
  • การดาวน์โหลดไฟล์
  • การย้อนหลังเวอร์ชันและกู้คืนไฟล์

อย่างไรก็ตาม ในแต่ละหัวข้อการตัดสินนั้นอาจจะมีคะแนนที่สูสีกันหรือผิดพลาดเท่ากันในหลายประเด็นจึงทำให้หัวข้อในการตัดสินอาจเปลี่ยนแปลงไปได้หากมีอัพเดทใหม่ภายในแต่ละบริการ

หน้าตา

อีกหนึ่งหัวข้อที่สำคัญไม่แพ้กันเลยสำหรับการทำงานผ่านระบบใด ๆ ก็คือหน้าตาและการใช้งานที่สะดวก หากบริการไหนใช้งานยากหรือฟีเจอร์มีเยอะเกินก็จะทำให้เกิดปัญหาในภายหลังได้ เช่นการตั้งค่าการเข้าถึงที่ผิดที่อาจส่งผลเสียต่อตัวเอง หรือ/และ องค์กรได้ ทำให้เราต้องยกเรื่องนี้มาเป็นเรื่องสำคัญหนึ่งที่ขาดไม่ได้เลย

แพ็คเกจและราคา

หนึ่งในสิ่งที่ช่วงนี้ (และก็น่าจะช่วงหน้า ๆ นี้ด้วย) ที่ผู้ใช้งานน่าจะต้องให้ความสนใจนั่นคือเรื่องของราคาในแต่ละแพ็กเกจ โดยบริการจะมีการตั้งราคาตามปริมาณพื้นที่จัดเก็บออนไลน์ที่ผู้ใช้งานต้องการ ไม่ใช่จำนวนที่ผู้ใช้ใช้งานจริง แต่สิ่งที่น่านำมาเทียบกันก็น่าจะเป็นเรื่องของสามารถเปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มเติมได้ตามเงื่อนไขการสมัครในแต่ละบริการที่คุณสมัครว่าตรงกับความต้องการของคุณหรือไม่

บริมาณที่จัดเก็บนั้นสามารถรวมซี่งรวมไปถึงบริการอื่น (และไม่จำกัดเพียง) พื้นที่จัดเก็บไฟล์อีเมล์ พื้นที่จัดเก็บภาพ พื้นที่จัดเก็บสำรองข้อมูลอุปกรณ์เป็นต้น อย่างไรก็ตามรายละเอียดการคำนวณพื้นที่จัดเก็บของแต่ละบริการอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ในอนาคต

พื้นที่จัดเก็บMicrosoft OneDriveGoogle Drive
100 GB69 บาท ต่อเดือน
ไม่มีข้อเสนอรายปี
70 บาท ต่อเดือน
รายปี 700 บาท
200 GB99 บาท ต่อเดือน
รายปี 990 บาท
1 TB209 บาท ต่อเดือน
รายปี 2,099 บาท
2 TB350 บาท ต่อเดือน
รายปี 3500 บาท

Google Drive

ราคาด้านล่างจะเป็นราคาสำหรับการสมัครแผนบริการ Google One ที่ผู้ใช้งานจะได้รับสิทธิพิเศษอื่น ๆ นอกเหนือจากพื้นที่จัดเก็บเพิ่มเติมอย่างเช่นฟีเจอร์พิเศษสำหรับ Google Photos เป็นต้น (อ่านต่อเกี่ยวกับสิทธิพิเศษได้ในหัวข้อถัดไป)

และเพื่อน ๆ ยังสามารถแชร์พื้นที่จัดเก็บที่เกินจาก 15GB แรกให้กับคนที่เรารู้จักหรือครอบครัวได้อีกด้วย โดยจะเป็นการสร้างพื้นที่จัดเก็บรวม (Pooled Storage) ที่แชร์ร่วมกับผู้อื่นได้สูงสุด 5 คน (ไม่รวมผู้สมัครบริการ) ก็จะทำให้ใครที่มีคนที่เรารู้จักก็สามารถมาหารกัน และร่วมใช้งานฟีเจอร์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับ Google One สำหรับครอบครัวอย่าง Shared Library สำหรับบริการ Google Photos ได้อีกด้วย

พื้นที่จัดเก็บ ราคา (ต่อเดือน)
15 GB แรกฟรี
Basic
100 GB
70 บาท
หรือ 58.33 บาท*
Standard
200 GB
99 บาท
หรือ 82.5 บาท*
Premium
2 TB
350 บาท
หรือ 291.67 บาท*
ราคาต่อ GB0.2917 – 0.5833 บาท/GB
อ้างอิงราคาจาก https://one.google.com/plans

*ภายใต้เงื่อนไขการสมัครรายปี

Microsoft OneDrive

โดยราคาด้านล่างจะเป็นราคา OneDrive 100GB และ Microsoft 365 จากหน้าร้านค้าออนไลน์ของ Microsoft แต่อย่างไรก็ตามเพื่อน ๆ สามารถหาซื้อแผน Microsoft 365 ได้จากร้านค้าบุคคลที่สามอย่าง Advice, JIB, IT City ที่ส่วนใหญ่แล้วจะขายถูกกว่าจากการซื้อผ่าน Microsoft โดยตรง

ความแตกต่างของแพ็กเกจของ Microsoft ที่นอกเหนือว่าเพื่อน ๆ จะสามารถใช้งาน Skype (Landline) ได้ด้วยแล้ว ยังมีแพ็กสำหรับครอบครัว หรือ Microsoft 365 Family ที่ผู้สมัครสามารถซื้อเพื่อนำบริการ Microsoft 365 ไปให้กับคนที่เรารู้จักหรือคนในบ้านได้อีกสูงสุด 5 คน โดยแต่ละคนก็จะได้รับสิทธิประโยชน์เทียบเท่ากับแพ็ก Microsoft 365 Personal เลย เช่นพื้นที่จัดเก็บคนละ 1 TB (รวมเป็นพื้นที่จัดเก็บทั้งหมด 6 TB) และสามารถดาวน์โหลด Microsoft Office พร้อมอัพเดทเป็นเวอร์ชันล่าสุดได้ฟรีอีกด้วย

พื้นที่จัดเก็บราคา (ต่อเดือน)
5 GB แรก ฟรี
OneDrive Standalone
100 GB
69 บาท
Microsoft 365 Personal
1 TB
209 บาท
หรือ 174.92 บาท*
Microsoft 365 Family
1 TB (x6)
289 บาท
หรือ 241.58 บาท*
ราคาต่อ GB0.2416 – 0.69 บาท/GB
อ้างอิงราคาจาก https://www.microsoft.com/th-th/microsoft-365/onedrive/compare-onedrive-plans

*ภายใต้เงื่อนไขการสมัครรายปี

ผู้ชนะสำหรับราคาพื้นที่จัดเก็บ

หากว่าเรานำราคาค่าบริการต่อพื้นที่จัดเก็บแล้ว ก็ถือว่าสองบริการนี้ได้ตั้งราคาเอาไว้อย่างสูสีและฟาดคู่ต่อสู้อื่นอย่างเช่น Dropbox, Sync.com, MEGA ไปไกลมากเลย เกือบจะต้องยกให้ทั้งคู่เป็นผู้ชนะสำหรับหัวข้อนี้แล้วหล่ะครับ แต่สิ่งที่มาทำให้ผมต้องยกให้ Google เป็นผู้ชนะของการแข่งในหัวข้อนี้เลยก็คือเรื่องของระดับราคาครับ

ผู้ชนะในหัวข้อนี้ : Google

สนับสนุนโดย

ระดับราคานั้นสำคัญมากเพราะการซื้อพื้นที่จัดเก็บแล้วไม่ได้นำไปใช้นั้นก็เหมือนกับการเอาเงินไปใช้เปล่า เราจึงเลือก Google ให้ชนะในหัวข้อนี้เพราะในเรื่องของแต่ละระดับราคาที่มาพร้อมกับขนาดพื้นที่จัดเก็บที่น่าจะเพียงพอสำหรับผู้ใช้งานส่วนใหญ่อย่างเช่น 100GB และ 200GB แถมยังสามารถแชร์พื้นที่จัดเก็บให้กับครอบครัวให้เอาไปใช้ได้ครบทุก GB อีกด้วย หรือก็คือการใช้อย่างคุ้มค่าคุ้มราคาที่จ่ายไปนั่นเอง

และอีกหนึ่งอย่างที่เราต้องให้ผู้ชนะเป็น Google ก็เพราะว่าเพื่อน ๆ สามารถซื้อพื้นที่จัดเก็บเพิ่มเติมนอกเหนือจาก 2TB ได้อีกด้วย แต่น่าเสียดายที่ OneDrive นั้นไม่มีตัวเลือกให้ซื้อเพิ่มหากจัดเก็บไฟล์มากเกินกว่านี้ และทางเดียวที่จะเพิ่มพื้นที่จัดเก็บก็คือการสร้างบัญชีใหม่ที่สามารถเก็บได้อีก 1 TB หรือไปสมัคร Microsoft OneDrive สำหรับองค์กรที่ไม่น่าเหมาะสำหรับการใช้งานสำหรับบุคคลทั่วไป

อัพโหลดไฟล์

สิ่งแรกเลยที่เราจะมาเปรียบเทียบกันตรง ๆ ที่ถือว่าเป็นแกนหลักว่าจะใช้บริการใดเลยก็คงหลีกไม่พ้นสำหรับเรื่องของการอัพโหลดไฟล์ขึ้นไปสู่พื้นที่จัดเก็บคลาวด์ ที่มีวิธีในการอัพโหลดมากมายอย่างเช่นการอัพโหลดไฟล์หลายไฟล์พร้อมกัน หรือความเร็วสุทธิที่สามารถใช้เพื่ออัพโหลดไฟล์

เพื่อทำการทดสอบ เราจะนำเอาสองบริการมาอัพโหลดไฟล์ภายในโฟล์เดอร์เดียวกันมาเปรียบเทียบเพื่อหาผู้ชนะในครั้งนี้ โดยการทดสอบก็มีอยู่ทั้งหมดสองวิธีนั่นก็คือการอัพโหลดผ่านหน้าเว็บเบราว์เซอร์ และการอัพโหลดผ่านโปรแกรมเชื่อมต่อไฟล์ในอุปกรณ์ประเภทเดสก์ท็อปครับ

ตัวแปรในการทดสอบ

เราใช้ MacBook Pro (2016) และอัพโหลดไฟล์รูปจำนวน 28 รูปและมีประเภทไฟล์ที่คละทั้ง JPG และ PNG ขนาดสุทธิ 200,065,587 bytes (200.1 MB) เป็นครั้งแรก ทั้งผ่าน Microsoft Edge (สำหรับการทดสอบการอัพโหลดผ่านหน้าเว็บ)​ และแอพ sync ของแต่ละเจ้า (สำหรับการทดสอบการอัพโหลดผ่านแอพ sync)

สนับสนุนโดย

การอัพโหลดผ่านหน้าเว็บ

เข้าใจได้ครับว่าคนส่วนใหญ่แล้วก็มักจะอัพโหลดทุกอย่างผ่านการใช้แอพ sync แต่ความแตกต่างของการอัพโหลดผ่านเว็บเมื่อเทียบกับแอพแล้วก็คือเรื่องของ Bandwidth ที่จะโดนจำกัดเต็ม ๆ และถูกปฏิบัติเหมือนเป็นหน้าเว็บธรรมดาเท่านั้น ไม่เหมือนแอพฯ ที่จะสามารถอัพโหลดไฟล์ได้เร็วกว่าด้วย Bandwidth สูงสุดของที่บ้าน-ระบบจะมอบให้

การอัพโหลดผ่านหน้าเว็บ : Microsoft OneDrive

การทดสอบผ่านเว็บไซต์ Microsoft OneDrive https://onedrive.live.com/ นั้นน่าสนใจมากครับ เพราะผมทำการทดสอบการอัพโหลดโฟลเดอร์เดียวกันเป็นจำนวนสองครั้ง การทดสอบครั้งแรกนั้นถือว่าเร็วมาก เพียงประมาณ 35 วินาที แต่สำหรับการทดสอบครั้งที่สองนั้นกลับได้ผลลัพธ์ที่น่าสนใจ เพราะใช้เวลาในการอัพโหลดเพียง 25 วินาทีเท่านั้น

ทำให้เราอาจจะอธิบายได้ว่า Microsoft OneDrive นั้นมีบริการในการแก้ไขไฟล์ที่อัพโหลดซ้ำอย่างเช่นเทคโนโลยี Block-sync ที่แต่เดิมมีเฉพาะในบริการคลาวด์คู่แข่งระดับพรีเมียมอย่าง Dropbox เท่านั้น ที่จะประหยัดเวลาทั้งการอัพโหลดไฟล์ใหม่แบบเต็มใบ และครึ่งใบอย่างการเปลี่ยนแปลงไฟล์เพียงบางส่วนก็รองรับเช่นกัน

การอัพโหลดผ่านหน้าเว็บ : Google Drive

และสำหรับประสิทธิภาพของการอัพโหลดไฟล์ผ่านเว็บไซต์ Google Drive https://drive.google.com/ นั้นแตกต่างกันออกไปมาก เพราะใช้เวลาไปถึง 1:30 นาทีทั้งการทดสอบครั้งที่หนึ่งและครั้งที่สอง แต่นั่นก็ไม่ได้หมายความว่าบริการอย่าง Google Photos นั้นไม่ดีนะครับ อันนี้เป็นเพียงประสิทธิภาพในการอัพโหลดไฟล์ปกผ่าน Google Drive เท่านั้น

แต่ก็ต้องให้เครดิตกับทาง Google เหมือนกัน เพราะว่า Google Drive เองก็มีวิธีการอัพโหลดไฟล์ที่จะอัพโหลดไฟล์พร้อมกันหลายไฟล์เหมือนบริการอื่น ทำให้ความเร็วก็ถือว่าอยู่ในคุณภาพที่ดีเลยทีเดียว

ผู้ชนะของการอัพโหลดไฟล์ผ่านเว็บ

สำหรับการสู้ศึกในหัวข้อนี้ก็ต้องยกมงให้กับ Microsoft OneDrive เลย เพราะว่าสามารถอัพโหลดไฟล์ได้อย่างรวดเร็ว และเร็วกว่า Google Drive ไปถึง 3 – 4 เท่าตัวเลยหล่ะครับ แต่นั่นก็ไม่ใช่การต่อสู้ทั้งหมดอย่าเพิ่งนับศพกัน เราก็จะไปดูในหัวข้อถัดไป ก็คือเรื่องของการแชร์ไฟล์และการทำงานร่วมกัน

ผู้ชนะ: : Microsoft OneDrive

การอัพโหลดผ่านโปรแกรมเดสก์ท็อป

สำหรับบททดสอบนี้เราก็จะทำการอัพโหลดเหมือนกันกับการอัพโหลดผ่านเว็บไซต์ แต่ในวิธีนี้เราจะต้องทำการเก็บข้อมูล เป็นในลักษณะไฟล์และโฟลเดอร์ภายในเครื่องเลยครับ

การอัพโหลดผ่านโปรแกรมเดสก์ท็อป : Google Drive

แต่เดิม ตัว Google Drive นั้นจะแยกลักษณะและวิธีการจัดเก็บไฟล์ออกมาเป็นสองแบบชัดเจน และแยกออกมาเป็นสองโปรแกรมเลย นั่นคือ “ไฟล์อยู่บนเครื่องตลอดเวลา” สำหรับผู้ใช้งานทั่วไป และอีกแบบหนึ่งก็คือ “ไฟล์อยู่บนคลาวด์ตลอดเวลา” สำหรับผู้ใช้งานองค์กร ซึ่งปัจจุบันทาง Google Drive ก็ได้ทำการรวมสองวิธีนี้ไปไว้ในโปรแกรมเดียวกันแล้ว แต่ก็ยังจำเป็นที่จะต้องเลือกหนึ่งในวิธีการ Sync และนั่นอาจจะเป็นเรื่องที่เป็นข้อเสียสำหรับผู้ใช้งานก็เป็นได้

เพราะ

อีกหนึ่งหัวข้อที่ต้องพูดถึงเลยก็คือเรื่องของการ

การอัพโหลดผ่านโปรแกรมเดสก์ท็อป : Microsoft OneDrive

สนับสนุนโดย

การใช้งานต่างอุปกรณ์

ไม่ผิดหวังเลยสำหรับทั้งสองบริการที่นอกจากจะสามารถใช้งานได้ผ่านเว็บไซต์แล้ว ก็ยังมีแอปพลิเคชันทั้งบน iOS, iPadOS, Android และแอพในการ Sync ข้อมูลสำหรับทั้งสองระบบปฏิบัติการหลักอย่าง Windows และ macOS จึงน่าเสียดายที่เพื่อน ๆ ก็จะอาจจะต้องเลือกหน้าตาการใช้งานตามลักษณะการใช้งานของแต่ละคน เพราะอาจจะชอยตรงนี้ หาตรงนั้นไม่เจอบ้างเป็นเรื่องปกติ

ทำให้เราเลยต้องย้ายไปวัดกันในหัวข้อถัดไป ก็คือเรื่องของความพร้อมในการใช้งานในแต่ละบริการ ว่าจะมีอันไหนที่เป็น “ฟีเจอร์ปิดดีล” สำหรับการแข่งขันกันสำหรับหัวข้อนี้ โดยเราจะมาพูดเรื่องนี้กันในหัวข้อของฟีเจอร์ครับ

การใช้งานภายในหน้าเว็บ

เช่นกันที่เพื่อน ๆ ก็สามารถใช้งานคลาวด์ได้ผ่านในหน้าเว็บ แต่จุดที่เราจะมาปักหมุดก็คือเรื่องที่ว่าทาง Google นั้นจัดเต็มในเรื่องของทุกอย่างผ่านเว็บมาก ทำให้การทำงานทุกอย่างนั้นก็จะไปอยู่บน Cloud และเก็บข้อมูลการแก้ไขทุกรายการไปกองกันไว้ในเว็บหมด แต่สำหรับ Microsoft OneDrive + Microsoft Office นั้นจะเหมาะสำหรับการทำงานบนเครื่อง (Microsoft Office) และใช้ Microsoft OneDrive สำหรับหน้าที่ Cloud การเก็บข้อมูลเสียมากกว่า แต่ก็ไม่ใช่ว่าจะทำงานบน Cloud ไม่ได้เลยนะ

ทำให้เราจะต้องเลือก Google Drive ให้เป็นผู้ชนะสำหรับหัวข้อนี้ เพราะทุกอย่างเธอไปอยู่บนเว็บหมดเลย แล้วไม่มีอะไรอยู่บนเครื่องเลยทั้งสิ้น

การใช้งานแบบออฟไลน์ (Offline Working)

ตรงข้ามกันกับการทำงานบนเว็บเลย เพราะเมื่อไหร่ที่เราอาจจะไม่พร้อมที่จะทำงานหรือใช้งานระบบอินเตอร์เน็ตก็อาจจะทำให้เกิดปัญหาได้ประมาณหนึ่ง แต่สำหรับผมแล้วมันไม่มีเรื่องของการออฟไลน์ แต่ก็พอที่จะสรุปว่า Microsoft OneDrive นั้นเป็นผู้ชนะในหัวข้อนี้ เพราะการ Sync ไฟล์นั้นมีความลื่นไหลและวิธีการแก้ไขปัญหาไฟล์มีการเปลี่ยนแปลงและเกิด Conflict กันนั้นง่ายและไม่ทำให้ระบบไฟล์เสียหายเท่าที่ควร

สนับสนุนโดย

การใช้งานร่วมกับแอพบุคคลที่สาม (3rd Party Integrations)

ในหัวข้อนี้ก็จะต้องพ่วงไปในเรื่องของว่าแต่ละแอพที่เราจะร่วมใช้งานด้วยนั้นรองรับอะไรบ้าง และแต่ละอันก็อาจจะไม่ได้รองรับทั้งคู่ ส่วนว่าต้องเลือกว่าใครเป็นผู้ชนะก็ต้องแล้วแต่เพื่อน ๆ แล้วหล่ะครับว่าจะเลือกอะไร เราแค่ทำการตั้งหัวข้อเอาไว้เพื่อให้คุณลองกลับไปดูเท่านั้นเอง

แชร์ไฟล์และการทำงานร่วมกัน

การดาวน์โหลดไฟล์

สนับสนุนโดย

การย้อนหลังเวอร์ชันและการกู้คืนไฟล์

สนับสนุนโดย

สรุปผู้ชนะ

เพื่อสรุปการประชันกันครั้งนี้จริง ๆ ก็ต้องบอกว่าแต่ละเจ้าก็มีทั้งข้อดีและก็ข้อเสียที่แตกต่างกันออกไป แต่อย่างไรก็ตามก็มีหัวข้อสำคัญและเป็นหลักต่าง ๆ ที่เราได้นำเสนอไปเรียบร้อยแล้ว แต่เราก็จะมาสรุปกันอีกครั้งหนึ่งว่า Google Drive หรือ Microsoft OneDrive นั้นเหมาะกับผู้ใช้งานประเภทใดมากที่สุด

สำหรับ Microsoft OneDrive ต้องยกให้เลยสำหรับการทำงานคนเดียว ทั้งเรื่องของการเชื่อมต่อไฟล์ การอัพโหลดไฟล์ การแชร์ไฟล์ให้กับผู้อื่น และก็รวมไปถึงเรทราคาและแพ็กเกจที่น่าจะเหมาะมาก ๆ สำหรับการใช้งานคนเดียว เพราะว่าเพื่อน ๆ จะได้ไม่ต้องมานั่งกังวลว่าจะแย่งพื้นที่จัดเก็บกับใคร

แต่สำหรับ Google Drive นั้นเหมาะที่สุดเลยสำหรับการทำงานที่เกิด – โต – ดับ อยู่บนคลาวด์ของ Google Drive เช่นการทำงานเอกสารอย่าง Google Docs หรือการแชร์โฟล์เดอร์เพื่อให้ผู้ใช้งานอื่นเช่นสมาชิกในทีมหรือครอบครัวได้เข้าถึงและแชร์ต่อได้อย่างง่ายดายด้วยหน้าตาอินเตอร์เฟสที่ดูสะอาดตาและไม่พัวพันกับบริการอื่นอย่างที่ Microsoft ทำ

แต่ถ้าใครใช้งานแล้วเป็นอย่างไรบ้างก็มาเล่าให้ฟังกันในกลุ่มและเพจ ByteSide ได้ตลอดเวลาครับ

สนับสนุนโดย

Share this post

About the author