นี่มันกลิ่นความเจริญ! AWS ยักษ์ใหญ่บริการ Cloud Service ประกาศเปิดตัวเซิฟเวอร์ (Availability Zone) ในประเทศไทยทีเดียวถึง 3 โซน พร้อมเงินลงทุนหลักแสนล้าน!

ถือได้ว่าเป็นข่าวใหญ่และข่าวดีสำหรับบริษัทในประเทศไทย ที่วันนี้ทาง Amazon Web Service (หรือ AWS) ได้ออกมาประกาศเปิดตัวในประเทศไทยถึง 3 Zone ด้วยกัน ทำให้เทียบเท่าเมืองใหญ่ ๆ ทั่วโลกตามเป้าหมายการขยายการให้บริการของ AWS ซึ่งจะเพิ่มอีก 28 โซนจาก 8 ประเทศทั่วโลก ทั้งออสเตรเลีย, แคนาดา, อินเดีย, อิสราเอล, นิวซีแลนด์, สเปน, สวิสเซอร์แลนด์ และประเทศไทย

“An AWS Region in Thailand will help businesses and government agencies deliver improved digital services that will benefit our nation’s citizens for decades to come,”

“AWS ในประเทศไทยจะทำให้ธุรกิจและหน่วยงานรัฐสามารถส่งมอบและพัฒนาบริการทางด้านดิจิทัล เพื่อส่งมอบผลผลิตแก่ผู้ใช้งานในประเทศไทยได้อีกหลายสิบปี”

คุณ ชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมของไทย
ให้สัมภาษณ์ไว้กับทาง AWS

ซึ่งผู้ใช้งานทั่วไปจะได้รับผลดีในเรื่องของบริการที่เร็วขึ้นอย่างเห็นได้ชัด เพราะอยู่ในประเทศ ไม่จำเป็นต้องใช้เซิฟเวอร์สิงคโปร, ฮ่องกง, มุมไบ, หรือญี่ปุ่นอีกต่อไป พร้อมกับความหน่วง (Ping และ Latency) ที่ต่ำลงอย่างเห็นได้ชัดอีกด้วย

นี่เป็นความตั้งใจจากทางหน่วยงาน DES และทางบริษัท AWS ที่เห็นถึงความสำคัญในด้านเทคโนโลยีกับการเติบโตทางเศรษฐกิจ และเป้าหมายสู่ไทยแลนด์ 4.0 ที่เป็นจริงมากยิ่งขึ้น โดยจั้งเป้าว่าจะมีการลงทุนในประเทศไทยมากถึง 1.9 แสนล้านบาท (หรือราว 5 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ) ตลอดระยะเวลารวม 15 ปี ซึ่งจะทำให้หน่วยงานและบริษัทในประเทศไทยนั้นได้ผลประโยชน์จากการจัดเก็บและให้บริการลูกค้าในประเทศที่เร็วมากยิ่งขึ้น

ตั้งแต่ปี 2020 ทาง AWS เคยมีการเปิดตัวบริการ AWS CloudFront ด้วยการมาตั้ง Edge Locations ทั่วประเทศมากกว่า 10 จุด เพื่อให้บริการโอนถ่ายและดาวน์โหลดไฟล์อย่างรวดเร็วผ่านระบบเครือข่ายทั่วโลกของ AWS และได้มีการเปิดตัว AWS Outpost บริการที่ทำให้เซิฟเวอร์ของคุณได้รับการดูแลเหมือนเซิฟเวอร์ของ AWS ในปีเดียวกัน

ทำให้การเปิดตัวในครั้งนี้เป็นเรื่องใหญ่และน่าตื่นเต้นมากสำหรับบริษัท, ภาครัฐ, และประชาชนที่จะได้รับการบริการดิจิทัลได้อย่างรวดเร็วมากยิ่งขึ้น ตอบสนองความต้องการและการเติบโตภายในโลกอนาคตแห่งดิจิทัล


ข้อมูลอ้างอิงและประกอบ
โฆษณา

Share this post

About the author