ใครที่ตอนนี้กำลังหาเราเตอร์ Mesh Wi-Fi ที่แรงและคุ้มค่าคุ้มราคา แต่ไม่รู้ว่าวิธีการเลือกซื้อและตัวเลือกนั้นมีอะไรบ้าง วันนี้เราก็จะมาสรุปกันให้อ่านกันว่าจะมีอะไรบ้าง แล้วได้เอาไปเลือกซื้อของที่เหมาะสมกับคุณที่สุดกันครับ

สตอรีที่เกี่ยวข้อง
สำหรับใครที่ต้องการเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับ Mesh Wi-Fi ก็สามารถอ่านต่อได้ที่สตอรี : Mesh Wi-Fi คืออะไร? ดีกว่าเราเตอร์ปกติอย่างไรบ้าง?

วางแผนเลือกใช้งานเราเตอร์ Mesh Wi-Fi

ในตลาดประเทศไทย ณ​ ขณะนี้ก็มีตัวเลือกเครื่องและรุ่นของเราเตอร์ประเภท Mesh Wi-Fi เอาไว้ให้ผู้ใช้งานได้เลือกใช้มากมาย แต่จะรู้ได้อย่างไรหล่ะว่าจะต้องซื้อยี่ห้อไหนดี? แล้วจะต้องเลือกซื้อสเป็คเราเตอร์ให้แรงแค่ไหนถึงจะเพียงพอ?

วันนี้เราก็เลยจะมาให้เลือกกันจากเหตุผลและองค์ประกอบของเครื่องให้ฟังกันครับ…

ภาพประกอบจาก TP-Link

เราต้องซื้อ Mesh Wi-Fi เผื่อเอาไว้ล่วงหน้าเยอะหรือไม่?

เราแนะนำให้คุณเลือกซื้อเราเตอร์ Mesh Wi-Fi จากความต้องการ ณ​ ปัจจุบันและเผื่อเอาไว้ล่วงหน้าอย่างน้อย 4-6 ปีข้างหน้าเพราะคุณอาจจะมีการเปลี่ยนแปลงการใช้งานหรือมีฮาร์ดแวร์ที่รองรับเทคโนโลยี Mesh Wi-Fi รุ่นระดับที่สูงกว่าเดิมก็ได้นั่นเอง และก็ยังมีความเป็นไปได้ว่าคุณจะมีการเปลี่ยนแปลงด้านลักษณะการใช้งานที่เพิ่มขึ้น จากอุปกรณ์ที่ตอนนี้ก็ได้มีการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

และนอกจากนี้ ราคาและเทคโนโลยีก็ได้มีการเติบโตอย่างรวดเร็วจนคุณเองก็น่าจะติดตามมันไม่ทัน แต่ไม่ใช่กับเราเตอร์ Mesh Wi-Fi เพราะคุณสามารถเลือกอัพเกรดเราเตอร์เป็นบางจุดของการงานอินเตอร์เน็ตที่คุณเห็นว่าสำคัญในอนาคตได้ และปล่อยเครื่องเก่าที่ใช้งานน้อยให้ทำงานต่อได้ตามปกติ

มีงบที่น้อย ควรใช้เราเตอร์ Mesh Wi-Fi หรือไม่?

สำหรับคำถามนี้ เราก็ได้ทำการให้คำตอบเอาไว้เป็นที่เรียบร้อยแล้วในสตอรี : Mesh Wi-Fi คืออะไร? ดีกว่าเราเตอร์ปกติอย่างไรบ้าง? เพื่ออ่านหัวข้อเกี่ยวกับการจัดงบซื้อเราเตอร์ประเภท Mesh Wi-Fi ให้เกิดประโยชน์สูงสุด

วิธีการเลือกสเป็คเราเตอร์ Mesh Wi-Fi ให้เหมาะกับการใช้งาน

สำหรับผู้ใช้ที่ไม่เก่งด้านเน็ตเวิร์ค

แต่สำหรับผู้ใช้งานที่ไม่ทราบเกี่ยวกับอินเตอร์เน็ตภายในบ้านเลย หรือไม่สามารถเลือกซื้อเราเตอร์ได้ด้วยตนเอง เราก็ขอแนะนำว่าให้คุณอ่านสตอรีที่เราเขียนอยู่นี้ และเอาไปถามตัวเองเบื้องต้นเกี่ยวกับความต้องการ และตอบพนักงานขายหรือผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตเพื่อให้แนะนำรุ่นเราเตอร์ Mesh Wi-Fi หรือ/และปรับเปลี่ยนโปรโมชันแพคเกจอินเทอร์เน็ตให้เหมาะสมกับคุณให้ได้มากที่สุด

โฆษณา

เลือกจากประเภทความเร็วเทคโนโลยี Wi-Fi

สำหรับหัวข้อแรกเลยที่เราต้องมาพิจารณากันก่อนเลย นั่นก็คือเรื่องของความเร็วอินเตอร์เน็ตที่คุณมี แล้วมันเข้ากันได้กับอุปกรณ์รับสัญญาณ Wi-Fi จากมาตรฐานหรือไม่?

โดยในตอนนี้ก็ได้มีมาตรฐาน Wi-Fi แยกออกมาเป็นทั้งหมด 3 อย่าง ที่ครอบคลุมเราเตอร์ประเภท Mesh Wi-Fi ที่อยู่ในตลาดทั้งหมดดังนี้ครับ

  • Wi-Fi 6 (802.11 AX) หรือต่ำกว่า
  • Wi-Fi 5 (802.11 AC) หรือต่ำกว่า
  • Wi-Fi 4 (802.11 N) หรือต่ำกว่า

วิธีการเลือกใช้งานก็ง่าย ๆ เลยครับ ว่า “อุปกรณ์พกพา” ที่คุณให้ความสำคัญนั้นรองรับ Wi-Fi ในมาตรฐานสูงสุดที่อันไหน หากว่ามันรองรับ Wi-Fi 6 เราก็จะแนะนำว่าให้คุณเลือกซื้อ Wi-Fi 6 เพราะคุณจะสามารถใช้งานอินเตอร์เน็ตผ่าน Wi-Fi ได้ความเร็วสูงสุดถึง 9608 Mbit/s (ประมาณ 1 Gbps) หากคุณได้เลือกซื้อเราเตอร์ที่รองรับ Wi-Fi 6

แต่นั่นก็หมายถึงว่าอุปกรณ์คุณจะต้องรองรับ เราเตอร์ของคุณก็ต้องรองรับ แพ็กเกจอินเทอร์เน็ตก็ต้องออกได้ถึงอย่างน้อย 1Gbps และเมื่อเราได้ทำการรวมทั้งสามองค์ประกอบแล้วก็จะหมายถึงว่าค่าใช้จ่ายที่น่าจะสูงอยู่พอควร ผมเลยแนะนำว่าถ้ายังไม่พร้อมหรือยังมีอุปกรณ์ที่สามารถรับ Wi-Fi 6 ได้ไม่มากก็ไม่ควรเลือกใช้ Wi-Fi 6 ครับ

เลือกจากประเภทแบนด์วิดท์

อันนี้ก็คือเรื่องของข้อจำกัดด้านความเร็วอีกเหมือนกัน เพราะนี่คือจำนวน Bandwidth หรือก็คือประสิทธิภาพในการปล่อยสัญญาณ Wi-Fi สูงสุดของเครื่องนั้นมีมากน้อยเพียงใด หากมีน้อยเกินไปอาจทำให้เน็ตของคุณช้าลงเนื่องจากมีผู้ใช้งานเป็นจำนวนมาก หรือเราเตอร์ตัวนั้นต้องแบ่งทรัพยากรแบนด์วิดท์ไปส่งข้อมูลให้เราเตอร์ตัวอื่นจนหมด

ภาพประกอบจาก TP-Link

จริง ๆ เราเองก็ไม่ได้อยากให้คุณมานั่งคำนวนว่าจะต้องใช้แบนด์วิดท์ที่เยอะหรือน้อยเท่าไหร่ แต่ก็ขอให้คุณกะเอาเองหล่ะครับ ว่าคุณมี…

  • อุปกรณ์ใช้งานเยอะหรือไม่?
  • แล้วอุปกรณ์เหล่านั้นใช้ดู / ทำอะไรบ้าง?

โดยจะออกมาเป็นในรูปแบบของจำนวน Mbps ที่เราเตอร์แต่ละตัวนั้นสามารถทำความเร็วรวมของคลี่นความถี่ทั้งหมดสามารถสามารถให้บริการได้ (เช่นคลื่นความถี่ 2.4 GHz, 5 GHz, 5 GHz (Backhaul), 6 GHz)

แต่นั่นก็จะต้องเอาไปหารแบ่งกับการเอาไปใช้งานเบื้องหลัง (ส่งข้อมูลไปยังเราเตอร์ Mesh ตัวอื่น), การอัพโหลด, การดาวน์โหลด และหนำซ้ำการใช้งานในแต่ละช่วงเวลาก็ใช้แบนด์วิดท์ที่เยอะ-น้อยอย่างคาดการณ์ไม่ได้ไปอีก เรียกว่าเป็นปัญหาที่คุณต้องหาให้ได้ว่าคุณอยากจะตั้งเพดานแบนด์วิดท์เอาไว้สูงเท่าไหร่เพื่อให้รองรับช่วงเวลา-ลักษณะการใช้งานอย่างใด

คำแนะนำสำหรับการเลือกแบนด์วิดท์

ดังนั้นมันจึงเป็นเหมือนการเดาว่าตัวเลขแบนด์วิดท์ที่คุณต้องการจริง ๆ แล้วคือเท่าไหร่? แต่ทางเราก็แนะนำให้ซื้อเยอะขึ้นหากคุณน่าจะมีอุปกรณ์ที่ใช้งานเน็ตเวิร์คเยอะมากขึ้น หรือต้องการความเร็วสูงสุดโดยไม่มีอะไรกั้นก็ควรซื้อรุ่นที่มีตัวเลขนี้มาก โดยมันจะแสดงออกมาในลักษณะที่ว่าอินเตอร์เน็ตเกิดช้าลงเมื่อมีผู้ใช้งานที่เยอะขึ้น

โฆษณา

วิธีการดูแบนด์วิดท์ของเราเตอร์

สำหรับ Mesh Wi-Fi แต่ละค่ายก็จะมีตัวเลขและประเภทเทคโลยี (จากในหัวข้อก่อนหน้า)​ เช่น AC สำหรับ Wi-Fi 5 หรืออย่าง AX สำหรับ Wi-Fi 6 แปะเอาไว้ข้างกล่อง โดยตัวเลขนี้ไม่ใช่ชื่อรุ่นของเราเตอร์นะครับ เป็นแค่สเป็คเบื้องต้นเท่านั้น

แต่อย่างไรก็ตามตัวเลขนี้ก็ไม่ได้ระบุว่าแต่ละช่องความถี่ (2.5 GHz, 5 GHz, 6GHz, ฯลฯ) นั้นสามารถให้แบนด์วิดท์ได้เท่าไหร่ เราแนะนำว่าให้ลองอ่านข้างกล่องเพื่อข้อมูลเพิ่มเติม

ตัวอย่างเช่นเราเตอร์ AX1800 (ตามภาพประกอบด้านล่าง) ก็หมายความว่าเราเตอร์รุ่นนี้รองรับ Wi-Fi 6 (AX) และมีแบนด์วิดท์ 1800 Mbps (1800) สำหรับเราเตอร์แต่ละตัวที่อยู่ภายในกล่อง

เลือกจากการซัพพอร์ท + การใช้งานร่วมกัน

เนื่องจากว่าตอนนี้คุณจะยังไม่สามารถใช้งานเราเตอร์ที่เป็นต่างยี่ห้อเพื่อมาสร้างเป็นเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้ หรือถ้าสามารถทำได้จริง ก็จะไม่สามารถใช้งานฟีเจอร์ได้เต็มประสิทธิภาพเท่าการใช้ยี่ห้อเดียวทั้งบ้าน ดังนั้นในเวลานี้เราแนะนำ (และน่าจะเชิงบังคับ)​ เลยหล่ะ ว่าคุณต้องใช้อุปกรณ์เราเตอร์ Mesh Wi-Fi ที่เป็นยี่ห้อและรุ่น (ซีรีส์) ที่รองรับการใช้งานร่วมกัน

จากปัญหาที่เราได้กล่าวไปข้างต้น ก็ทำให้คุณนั้นจะเกิดติดปัญหาในอนาคตว่าจะเพิ่มจำนวนเราเตอร์ภายในบ้านได้อย่างไร? แล้วตัวเลือกเราเตอร์ที่มีนั้นมีให้เยอะมากเพียงใด? อีกด้วย

ปัญหาของเราเตอร์จากผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต

โฆษณา

ปัญหาหลักของเราเตอร์ของเราเตอร์จากผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตเลยก็คือเรื่องของการขยายจำนวนเราเตอร์เพิ่มในบ้าน ที่ก็คือเป็นการบังคับเลยว่าคุณนั้นจะต้องไปติดต่อผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตแลัวไปซื้อเราเตอร์เพิ่มจากผู้ให้บริการ ที่มีข้อเสียดังนี้

  • มีตัวเลือกเครื่องเราเตอร์ให้ซื้อน้อยเกินไป
  • ผู้ให้บริการอาจจะยกเลิกการขายเราเตอร์ซีรีส์นั้นไปเลยก็ได้ ทำให้คุณไม่สามารถขยายจำนวนเราเตอร์ภายในบ้านได้อีกตลอดกาล จนกว่าจะไปซื้อเราเตอร์ใหม่ยกบ้าน
  • การซัพพอร์ทที่ต้องพึ่งพาพนักงานศูนย์ให้บริการที่อาจไม่มีความเชี่ยวชาญในทุกด้าน และนั่นรวมไปถึงความเชี่ยวชาญด้านเราเตอร์ที่อาจต้องโยนเรื่องไปสำนักงานใหญ่ตลอดเวลา
  • หากต้องการเปลี่ยนผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตในอนาคตอาจมีปัญหาที่พ่วงเรื่องของเราเตอร์มาด้วย

ทั้งหมดที่กล่าวมานี้ สรุปแล้วดูเหมือนว่าต้นตอของปัญหาทั้งหมดน่าจะมาจากเรื่องของการปรับเปลี่ยนเมื่อคุณได้ทำการตกลงปลงใจไปในอดีตกับผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต

เราเลยอยากจะแนะนำว่าให้คุณเลือกซื้อเราเตอร์ด้วยตนเอง หรือซื้อเราเตอร์กับผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตที่มียี่ห้อและต้องสามารถไปหาซื้อได้ในร้านอิเล็กทรอนิกส์หรือเว็บไซต์ทั่วไป เพื่อให้คุณมั่นใจได้ว่าคุณจะไม่โดนลอยแพกับการอัพเกรด Mesh Wi-Fi ในอนาคต

เลือกจากฟีเจอร์และการใช้งานแอพฯ​ จัดการอุปกรณ์

คุณต้องการอะไรเพิ่มเติมจากเราเตอร์อย่างเช่น …. หรือไม่ครับ?

  • รองรับการใส่ซิม (SIM) เพื่อใช้ 4G / 5G ทดแทนหากสัญญาณอินเตอร์เน็ตขัดข้อง
  • รองรับการสั่งงานอุปกรณ์ Smart Home ด้วยมาตรฐาน Zigbee
  • รองรับหน้าที่เป็น Modem เชื่อมต่อกับผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตโดยตรงได้
  • รองรับการเชื่อมต่อ Amazon Alexa / Google Home
  • รองรับ Antivirus ป้องกันทราฟฟิกสแปม + การโจมตีทางไซเบอร์
  • รองรับการควบคุมเนื้อหาสำหรับเด็ก (Parential Control)
  • รองรับการใช้งาน LAN ให้ทำหน้าที่เป็นเครือข่ายหลังบ้าน (Ethernet Backhaul)
  • รองรับการใช้สายไฟภายในบ้านให้ทำหน้าที่เป็นเครือข่ายหลังบ้าน (Powerline)
  • ฯลฯ

โดยทั้งหมดนี้ก็เป็นฟีเจอร์ที่คุณสามารถหาซื้อเพิ่ม/แถมฟรี กับเราเตอร์บางรุ่นที่จะมีฟีเจอร์พวกนี้ติดเครื่องมาให้ ที่วันนี้คุณสามารถเป็นเจ้าของเราเตอร์ Mesh Wi-Fi พวกนี้ได้แล้วตามร้านค้าทั่วประเทศ

โฆษณา

Share this post

About the author