คุยงานก็ใช้ไลน์ คุยเล่นก็ใช้ไลน์ คุยอะไรๆ ก็ใช้ไลน์ แต่มันก็ช้าและมันก็ไม่ได้เหมาะสมกับการเอาไปใช้ทำงานซะด้วยสิ วันนี้ผมจะมาแนะนำแอพลิเคชันที่ทำงานได้ และได้ดีถึง 4 แอพลิเคชันด้วยกันครับ เรื่องนี้เป็นเหตุการณ์จริงที่ผมได้ใช้ไลน์ในการคุยแชทไปซะทุกเรื่องแต่ทำไมปัจจุบันผมได้เลิกใช้ไลน์แบบเด็ดขาดไปแล้ว เพราะมันไม่ได้ตอบโจทย์สำหรับการนำไปใช้คุยงานอีกต่อไป

ยุคเฟื่องฟูของไลน์

ถ้าพูดถึงยุคผลิบานของไลน์แล้วเราอาจจะเห็นการใช้ไลน์กันตั้งแต่ยุคล่มสลายของ MSN และ Blackberry ที่ก็โดนแทนที่โดยไอโฟน ซึ่งคนรุ่นผมจะเข้าใจดีมาก เพราะเป็นช่วงเวลาที่ว่า ใช้กันทั่วบ้านทั่วเมืองแล้วอยู่ดีๆ ปิดให้บริการเฉยเลย แล้วประเด็นคือ ไมโครซอฟท์เค้าก็อยากให้ลูกค้าย้ายไปใช้ Skype กันให้หมด แต่ก็ไม่ได้เป็นเช่นนั้นหน่ะสิครับ ด้วยเหตุผลอะไรมันก็ใช่ประเด็นสำหรับเรื่องนี้ครับ

มันพังตั้งแต่แอพลิเคชันแล้ว

เป้าหมายหลักของการคุยงานนั่นคือการคุยได้อย่างมีประสิทธิภาพ คือคุยกันแล้วก็ต้องรู้เรื่องนั่นเอง และก็สามารถคุยกันได้อย่างสะดวกอีกด้วย เราจึงมาสร้างลิสต์ว่าทำไมมันจึงไม่สะดวกกันแน่ครับ

  • เพราะการใช้ห้องคุยเดียวกัน ทำให้ไม่สามารถแยกเรื่องแบบเป็นหัวข้อได้
  • บางครั้งการคุยก็อาจจะต้องมีการขั้นเรื่อง เพราะอาจจะมีเรื่องที่ด่วนกว่าที่ต้องมาทำความเข้าใจกัน การใช้ห้องคุยเดียวก็อาจจะไม่ตอบโจทย์ได้ดีเพราะคุยไม่เป็นเรื่องเดียว
  • เราเองก็ไม่มีอุปกรณ์ที่คุยกันเครื่องเดียวอ่ะเนอะ เช่นคอมฯ ที่ทำงาน คอมฯที่บ้าน โทรศัพท์ แท็บเล็ต เป็นต้น แต่ไลน์มันก็ให้เรา login ได้เพียงเครื่องเดียว
  • บางทีมีปัญหาแชทหาย เพราะอาจจะเปลี่ยนเครื่องใหม่ หรือ ย้ายเครื่องมา
  • หากต้องการแก้ไขปัญหาคุยแยกเรื่องกันแต่ละห้องแชท ก็จะมีห้องแชทมากมาย แล้วเราจะสามารถแยกได้หรือไม่ว่าห้องนี้เป็นของเรา หรือทำงาน หรือเร่งด่วนมากขนาดไหน

เปิดโลกการคุยแบบมีประสิทธิภาพ

วันนี้ผมนำแอพลิเคชันมาแนะนำ เพื่อให้คนในทีมสามารถคุยงานกันรู้เรื่องมากขึ้น และการนำอุปกรณ์ที่เราใช้กันอยู่แล้วเข้ามาร่วมทีม เพื่อให้ทำงานง่ายเข้าไปอีก การมาใช้อุปกรณ์อย่างพวกบริการที่ผมกำลังที่จะเล่าให้เพื่อนๆ ฟังนั้นมีประโยชน์ในทั้งเรื่องของการประหยัดเวลาในการทำงานที่หนึ่ง: ลดการคุยซ้ำซ้อน สามารถค้นหาเรื่องที่คุยได้ง่าย สอง: เพิ่มประสิทธิภาพในการคุย เพราะสามารถโฟกัสเข้าไปที่เป้าหมายของปัญหาได้เลยและสร้างวิธีการแก้ไข/การทำงานใหม่ตรงนั้นได้ทันที และสาม: ผู้บริหารหรือหัวหน้าทีมสามารถจัดการขั้นตอนการทำงานได้ง่ายมากขึ้น เพราะพนักงานฝ่ายบริหารนั้นสามารถเห็นภาพรวมการทำงานได้อย่างชัดเจน เป็นผลให้ทั้งสามฝ่าย นั่นก็คือผลงาน พนักงาน พนักงานฝ่ายบริหาร เห็นแต่ละกันได้อย่างได้สะดวก สร้าง productivity แบบทวีคูณกันเลยทีเดียว

Microsoft Teams

หน้าตาของ Microsoft Teams — ภาพจาก docs.microsoft.com

แอพลิเคชันแรกที่จะมาแนะนำนั่นก็คือ Microsoft Teams นี่เอง ตัวมันเองเป็นโปรแกรมที่สร้างมาเพื่อคุยงานกันเป็นกลุ่ม และ กลุ่มนั้นมีหลายประเภท และ ประเภทนั้นก็มีหลายหัวข้อ เพื่อนๆ อาจจะไม่เข้าใจ ให้เราคิดเหมือนว่าพอเรามีเพื่อน เราก็จะคุยแบบจริงจังบ้าง ไม่จริงจังบ้าง และคำว่าจริงจังก็มีเรื่องคุยยิบย่อยเต็มไปหมดเลย การออกแบบของบริการนี้ก็เลยกลายเป็นเหมือน Facebook นั่นแหละครับ แต่ให้โพสเป็นหัวข้อเรื่อง และก็มีคนเข้าไปเสนอแนะโดยการตอบกลับนั่นเอง รวมถึงการโพสนี้ก็ไปโพสในเหมือนกลุ่มเฟสบุ้ค ทำให้เราแยกออกได้เลยว่าเรื่องที่กำลังคุยอยู่นั้นเขาต้องการคุยอะไรอยู่ วันนี้ผมก็จะมานำเสนอกันครับว่าทำไม Microsoft Teams นี้เหมาะกับการนำไปใช้ในบริษัทฯ หรือทีมของเพื่อนๆ

การแบ่งทีมออกเป็นกลุ่ม — ภาพจาก docs.microsoft.com

ขั้นตอนก็จะเป็นไปตามภาพด้านบนแหละครับ ว่าทีมของเราก็จะมี channel หรือเรื่องคุยหลักหลายอัน เช่น การทำ front-end, การทำ back-end, การทำ QA เป็นต้น และในนั้นก็จะมีการสื่อสาร มีไฟล์ มีโน้ต มีแท็บที่แตกต่างกัน เพื่อให้เหมาะสมกับแต่ละกลุ่มกันไปครับ ซึ่งของพวกนี้คนที่อยู่ในทีมสามารถเข้ามาแก้ไขเพื่อให้เหมาะสมต่อแต่ละทีมได้ครับ

ข้อดีข้อเด่น
ข้อดีข้อเด่นของเค้านั่นก็คือ Ecosystem ของไมโครซอฟท์นั่นเองครับ จะแชร์อะไร จะจัดเก็บอะไรก็ไปที่ OneDrive/SharePoint ให้เอง หรือจะสร้างเอกสารเช่น Word ก็สามารถสร้างจากในหน้า Teams ได้เลย สำหรับผู้ใช้งานที่ใช้ Office365 อยู่แล้วก็น่าจะกรี๊ดกร๊าดเลยแหละครับ มันดีมาก

อีกข้อดีเด่นหนึ่งนั่นก็คือ Microsoft Teams เค้าทำการสร้าง ‘connector’ หรือการเชื่อมต่อกับบริการอื่นๆ ไว้ให้เพื่อนๆ ได้เอาไปใช้งานกัน ตัวอย่างเช่น GitHub Issue ที่ถูกสร้างขึ้นมาก็จะแจ้งต่อห้องแชทที่เราเลือกอีกด้วย ทำให้เพื่อนๆ ทำงานได้เร็วมากกว่าเดิม

สรุปกันให้ฟังง่ายๆ โปรแกรมนี้เหมาะสำหรับการใช้งานทั่วไปของคนทุกคนในบริษัทเลยครับ เพราะสามารถใช้งานได้ง่ายและมีการทำงานที่ตรงไปตรงมา รวมถึงเพื่อนๆ สามารถใช้ไอเดียการใช้งานแบบเฟสบุ๊คและไลน์มาใช้กับ Microsoft Teams ได้เลย ส่วนเพื่อนๆ ที่สนใจสามารถเข้าไปดูได้ที่ https://products.office.com/en-US/microsoft-teams/group-chat-software ได้เลยครับ

Slack

Slack เป็นบริการที่มาก่อนใครเพื่อน ที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อสำหรับทีมใหญ่ ทีมเล็กทั้งหมดเลย ก็ไปอยู่ในช่องเดียวกัน แล้วก็ค่อยไปสร้างห้องที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อแยกกันออกไป สำหรับแอพนี้ ผมแนะนำให้เพื่อนๆ เอาไปลองใช้กันดูครับ เพราะว่ามันมีฟังก์ชันต่างๆ ที่น่าสนใจอีกหลายประการเลย แต่ตัวหลักๆ นั่นคือการแยกออกมาเป็นหัวข้ออย่างชัดเจน การกดตอบกลับได้อย่างรวดเร็ว ทำให้เพื่อนๆ ไม่จำห้องสลับกับคนอื่นนั่นเอง

การใช้งานนั้นก็เหมือน Microsoft Teams ผสมกับการใช้ chat ผสมกับการติดต่อด้วยเมล์เลยครับ คือบริษัทที่ต้องการใช้หน้าแชทหนึ่งในการดูสถานะการทำงานนั้นก็สามารถทำได้โดยการใช้ส่วนต่อขยายที่มีให้เลือกอีกมากมายอีกด้วย รวมถึงว่าเป็นแอพลิเคชันที่เอาไว้แชทงานเลยจริงๆ คือหน้าตา ฟีลหลายๆ อย่างนั้นเหมือนโปรแกรมแชททั่วไปตามท้องตลาดเกือบทั้งหมดเลยทีเดียว

สำหรับผู้ที่สนใจก็สามารถเข้าไปเรียนรู้การใช้และทดลองใช้ Slack ได้ฟรีตลอดไปครับ https://slack.com และดูราคาการใช้งานได้ที่ https://slack.com/pricing ครับ

แอพอื่น

นอกเหนือการใช้ Microsoft Teams หรือ​ Slack สำหรับผู้ใช้งาน GSuite หรือบริการทำงานของบริษัทกูเกิลก็ไม่ต้องเป็นห่วงครับ เพราะว่าเค้าก็มีของเค้าเหมือนกัน นั่นก็คือ Google Hangouts Chat นั่นเอง ฟังก์ชันการทำงานก็คือเวลาเราคุยอะไรไป ก็จะกลายเป็นโพสท์ครับ แล้วเราก็ต้องเข้าไปเพื่อไปตอบหรือคุยต่อแบบนี้เป็นต้น ให้คิดเหมือนว่าเป็นเหมือนเราโพสเฟสบุ้คนั่นแหละครับ และก็ให้คนมากดแสดงความเห็น อาจจะไม่เหมาะกับทุกองค์กรซะเท่าไหร่ แต่มันก็ถือว่ารวมเข้าไปยังแพคเกจของ GSuite เรียบร้อยแล้วครับ

รวมถึงบริการใหม่ของ Jetbrains ที่ออกใหม่ล่าสุด แต่เดี๋ยวไว้บล็อคหน้าจะมาเล่นให้ดูกันครับ ว่าการรวม workspace เข้าด้วยกันเป็นอย่างไร

แต่ถ้ายังไม่รู้ว่าจะเลือกอะไรไปใช้ในบริษัท ผมแนะนำว่าเอาอะไรไปลองใช้ดูก่อนก็ได้ครับ ถ้าบริษัทมี Microsoft อยู่แล้วก็ใช้ของ Microsoft Teams ไป หรือถ้ามี GSuite อยู่แล้วก็ลองไปใช้ Google Hangouts Chat ดูครับ ส่วนถ้าไม่มีเลยก็ลองใช้ Slack ดูครับ เพราะแต่ละอันแล้วมีหน้าที่หลักเดียวนั่นคือการคุยที่จะทำให้การทำงานนั้นมีประสิทธิภาพนั่นเอง

สร้างโลกสองใบ โลกนึงคุยเล่น อีกโลกคุยงาน

เพื่อที่จะมาเติมเต็มกับคำว่า “งานคืองาน เล่นคือเล่น” เราก็ต้องแยกออกมาให้ชัดเจน บางครั้งทางบริษัทยังไม่เข้าใจ แต่เพื่อนๆ หรือเราเองก็อาจจะเข้าใจก็ได้ วันนี้เราจะมาแนะนำอีกโลก (แอพลิเคชัน)​ นึงที่ผมเชื่อและแนะนำว่ามันดีมากๆ รวมถึงการใช้จริง เพราะมันใช้ได้และใช้ได้ดีด้วย ขนาดไวไฟผมแทบจะไม่มี ก็สามารถส่งข้อความได้ (อินเตอร์เน็ตประเภท Public WiFi อ่ะครับ)

นอกจากว่าแอพลิเคชันนี้จะไม่ถูกนำไปใช้ในบริษัท เพราะอาจจะมีปัญหาในด้านของความปลอดภัยของข้อมูลบริษัทแล้ว แต่ก็สามารถเอาไว้คุยเล่นกันได้ในกลุ่มเพื่อน หรือทีมก็ได้เช่นเดียวกันครับ มันก็ดีไปอีกอย่างหนึ่งเนอะ

“ผมสร้างขึ้นมาสองใบ…ผมหลงทางกับมัน จนวันหนึ่งผมไม่รู้ว่าผมอยู่ตรงไหนแล้ว”

Telegram

ภาพจาก telegram.org

แอพลิเคชันแชทจากประเทศรัสเซียที่สร้างขึ้นเพื่อความเร็ว ความเป็นส่วนตัว และการใช้งานที่ทรงพลังนั่นเอง รวมถึงใช้งานง่ายอีกด้วย

ส่วนตัวผมแล้ว ผมใช้ Telegram มาเป็นปีแล้วครับ และตอนนี้ก็ยังใช้อยู่นะ เพราะรู้สึกว่ามันเร็วมาก และไม่เคยเจอปัญหาเรื่องของเซิฟเวอร์ล่มหรือการทำงานผิดพลาดที่ทำให้ผมเข้าไปอ่านแชทไม่ได้ เช่นเดียวกัน แอพนี้มีคุณสมบัติที่น่าสนใจหลายรายการอีกด้วย และนี่ก็คือตัวอย่างครับ

Login

สำหรับการเข้าไปใช้งาน Telegram เราไม่จำเป็นที่จะต้องใช้ได้เพียงเครื่องเดียวเท่านั้น เราจะใช้กี่เครื่องก็ได้ครับ แล้วการโหลดแชทก็เป็นไปได้เร็วด้วย พวกเพื่อนๆ ที่ใช้โทรศัพท์รุ่นเก่าๆ หรือดาวน์โหลดแชทได้ช้าก็จะไม่มีปัญหานี้อีกต่อไป

Sticker

เราก็จะคงคิดถึงสติกเกอร์ในไลน์อ่ะเนอะ แต่ใน Telegram ก็มีเช่นเดียวกันครับ แล้วก็ฟรีด้วย ทุกอันเลย รวมถึงว่าถ้าเราต้องการสร้างสติกเกอร์เอาไว้ใช้เล่นเอง อย่างการนำรูปหน้าเพื่อนไปทำสติกเกอร์ก็ทำได้ครับ แล้วก็ทำได้อย่างง่ายด้วย

แชทแบบไม่ตั้งรบกวน

อีกฟีเจอร์นึงของ Telegram นั่นก็คือหากว่าเพื่อนยังไม่ออนไลน์ (ไม่เปิดแอพ)​ ก็จะไม่เห็นแชทจนกว่าจะออนไลน์ได้ด้วยครับ สำหรับเพื่อนๆ ที่ไม่ต้องการที่จะรบกวนใคร

แชทไม่หายแน่นอน 100%

แล้วคำว่าไม่หายหมายความว่าอะไร ก็หมายความว่ามันไม่หายนั่นแหละครับ เหมือนพวกเฟสบุ้คเมสเซนเจอร์นั่นแหละครับ แต่ว่า Telegram จะทำการลบแชทชั่วคราวที่เก่าแล้วออก เพื่อให้ไม่กินพื้นที่จัดเก็บในโทรศัพท์มือถืออีกด้วย และเมื่อว่าเราต้องการเข้าไปดูก็สามารถกลับเข้าไปดูได้เหมือนเดิม

และอื่นๆ อีกมากมายที่ไม่ได้เล่าให้เพื่อนๆ ฟัง แต่เพื่อนๆ สามารถไปหาโหลดและลองใช้งานกันได้ ขั้นตอนไม่ยากเลย เพียงมีเบอร์โทรศัพท์ก็สามารถสมัครใช้งานได้แล้วครับ

ลิงค์ดาวน์โหลด Apps Store
https://apps.apple.com/th/app/telegram-messenger/id686449807

ลิงค์ดาวน์โหลด Google Play Store
https://play.google.com/store/apps/details?id=org.telegram.messenger

ขอย้ำไว้ก่อนนะครับ ว่าเค้าไม่ได้จ่ายให้ผมเขียนรีวิวทั้งสี่บริการนี้นะครับ ผมจึงไม่พาดพิงถึงบริษัทฯ หรือบริการใดๆ ทั้งสิ้น เป็นการแสดงความคิดเห็นหลังจากการใช้งานบริการแต่ละอันเท่านั้น

โฆษณา

Share this post

About the author