ไม่อยากทำก็ต้องทำ กลืนไม่ได้คายไม่ออก วันนี้เราได้เข้าสู่ยุคของการแพร่ระบาดของไวรัสที่ชื่อ COVID-19 และความยากลำบากในช่วงเศรษฐกิจขาลง แต่มันก็มาพร้อมกับการเปลี่ยนแปลงที่จะเปลี่ยนไปอย่างตลอดกาลนั่นก็คือการเรียน เป็นยุคที่อยากเรียนกับโรงเรียนชั้นนำของประเทศก็เรียนได้ อยากเรียนกับครู/อาจารย์คนไหนก็เลือกได้เพียงชี้นิ้วสั่ง อยากเรียนวิชาไหนก่อนหรืออยากเรียนเพื่อทบทวนอีกซักร้อยรอบก็ขอให้บอก ตื่นเช้ามาก็ไม่ต้องรีบเดินทางไปโรงเรียน อยากเรียนวิชาแปลกใหม่ หลากหลาย ไลฟ์สกิลก็มีครูสอนหมด และการเรียนออนไลน์ครั้งนี้ก็เป็นเพียงจุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลงระบบการเรียนการสอนทั้งหมด

แต่ก็มีหลายคนยังประสบปัญหาในการเรียนออนไลน์ กับทั้งทางมหาลัยฯ หรือโรงเรียน ว่าจะเรียนอย่างไรให้รู้เรื่อง จะทำความเข้าใจบทเรียนทีเปลี่ยนไปจากเดิมนี้อย่างไร พร้อมกับการปรับตัวที่เหมือนจะกลับหลังหันแบบนี้ได้อย่างไร วันนี้ เราจะมาดูกันว่าเราควรที่จะทำอย่างไร ในจุดคับขันที่เปลี่ยนไปนี้ได้อย่างไร

พื้นฐานของการเรียนออนไลน์

เริ่มบทแรกง่ายๆ กันก่อน นั่นก็คือในเรื่องของความจำเป็นเพื่อให้สามารถเรียนออนไลน์ โดยนอกจากที่เราจะต้องมีอุปกรณ์เพื่อการเรียนการสอนออนไลน์อย่างคอมพิวเตอร์หรือสมาร์ทโฟนแล้ว เราเองก็ยังต้องมีวิธีการเชื่อมต่อกับโลกออนไลน์อย่างอินเตอร์เน็ตบ้านหรือซิม 4G ที่ต้องทำงานได้อย่างต่อเนื่องอีกด้วย ซึ่งหลายๆ ค่ายมือถือนั้นก็มีโปรฯ รายเดือนพิเศษสำหรับการเรียนออนไลน์หรือนักเรียน/นักศึกษาอีกด้วย ซึ่งหากใครยังไม่มีและยังใช้โปรฯ แบบทั่วไป/ปกติอยู่ ถ้ารู้ตัวแล้วก็รีบไปหามาใช้กันนะครับ จะได้สามารถประหยัดค่าใช้จ่ายต่อเดือนไปได้ระดับหนึ่งเลย

ซึ่งนอกจากการเรียนที่จะต้องมีอุปกรณ์ที่เหมาะสมแล้ว การใช้งานแอพการประชุมทางไกลผ่านระบบวิดีโอ (Video Conference) ได้อย่างเหมาะสมนั้นก็เป็นอีกหนึ่งความสำคัญเช่นกัน การใช้แอพแชท อย่างเช่นไลน์ (Line) หรือเฟสบุ๊ค เมสเซนเจอร์ (Facebook Messenger) หากยกเรื่องของการใช้งานอย่างแพร่หลายอยู่แล้วออกไป ข้อเสียของการใช้งานผิดประเภทแบบนี้ก็อาจจะทำให้ผู้เรียนเห็นข้อความระหว่างการเรียน และอาจเสียสมาธิในการเรียนไปอีกด้วย ดังนั้นอาจารย์ควรเลือกวิธีการติดต่อสื่อสารกับนักเรียนในวิธีที่เหมาะสมกับการเรียน

สำหรับตัวผู้สอนแล้วผมก็จะแนะนำแอพที่ออกแบบมาเพื่อการนี้โดยเฉพาะจะดีที่สุด อย่างเช่น Zoom, Google Meet, Google Classroom, Microsoft Teams เพราะว่าแอพฯ​ พวกนี้มีฟีเจอร์ที่สนับสนุนการเรียนการสอนอีกมาย ซึ่งอาจจะทำให้ตัวนักเรียนนั้นได้รับความสะดวกในการเรียนและไปให้ความสำคัญกับเนื้อหาการสอน มากกว่าที่จะไปวุ่นวายกับเครื่องมือที่ไม่เหมาะสม

มีวิสัยทัศน์ที่มั่นคง

…เข้มแข็งดั่งหินผา เคลื่อนไหวดั่งสายลม… เป็นหนึ่งในสิ่งที่เด็กๆ เดี๋ยวนี้ต้องให้ความสำคัญ เพราะว่าในโลกใหม่แล้ว ทุกอย่างสามารถเปลี่ยนแปลงได้ทุกขณะ สิ่งที่สร้างเอาไว้อย่างแข็งแกร่งก็อาจจะพังได้เพียงนิ้วแตะ

ผู้ปกครองและครูหลาย ๆ ท่านนั้นมักจะประเมินประสิทธิผลการเรียนรู้ด้วยเกรดอยู่เสมอ แต่น้อง ๆ อย่าลืมว่านั่นไม่ใช่ทุกอย่างของชีวิตน้องจริง ๆ ถ้าน้องสามารถที่จะสร้างรายได้หรือมีผลงานที่เห็นเป็นเด่นชัดแล้วก็จะไม่มีใครหยุดน้องลงได้หรอกครับ

แต่สำหรับน้อง ๆ ที่ไม่มีอะไรที่มั่นคงหรือคิดว่าตัวเองไม่ได้เก่งอะไร การเรียนออนไลน์จึงเป็นวิธีเดียวที่จะช่วยน้อง ๆ ได้เพราะคนอื่นก็จะไม่สามารถมาใช้วิธีเดิม ๆ (ที่น่าเบื่อ) ในการวัดประเมินผล โดยน้อง ๆ สามารถที่จะไปเรียนเสริมพิเศษในสิ่งที่น้องเรียนใน ‘ห้องเรียน’ ไม่เข้าใจได้

แต่อีกสิ่งสำคัญหนึ่งก็คือการวางแผนอนาคตด้วยการเข้าใจตัวเองว่า

  • เราชอบอะไร
  • เราไม่ชอบอะไร
  • เราคิดว่าสิ่งไหนที่เราอยากที่จะปกป้อง
  • เราคิดว่าสิ่งไหนที่เราอยากที่จะโจมตี/พุ่งชน

ส่วนน้อง ๆ ที่ยังคิดไม่ออกว่าตัวเองชอบอะไร ไม่ชอบอะไร พี่เองก็แนะนำให้เลือกเรียนอย่างหลากหลายเปลี่ยนไปเรื่อย ๆ หรือลงลึกไปกับอันไหนที่เรารู้สึกผ่อนคลายหรือไม่รู้สึกแย่กับมัน ซึ่งในโลกอินเตอร์เน็ตก็มีคอรส์ออนไลน์ฟรีมากมาย หรืออาจจะลงทุนหน่อยเพื่อเรียนวิชาชีวิตในเว็บไซต์อย่าง Masterclass ที่มีครูที่เป็นผู้ประสบความสำเร็จในด้านการงาน แล้วเราก็จะต้องกลับมาตกตะกอนว่าเราชอบสิ่งที่เราทำอยู่หรือไม่

มองอีกมุมหนึ่งแล้ว วิสัยทัศน์ก็เป็นเหมือนความฝัน-ความภูมิใจของตัวน้องเอง ดังนั้นหากว่าคิดว่ามุมมองของน้องนั้นถูกต้องแล้ว ให้ความ “เข้มแข็งดั่งหินผา” ด้วยความอดทนพยายาม ด้วยความ “ไม่หยุดหย่อน” ผ่านช่วงเวลานี้และไปสู่อนาคตของน้องครับ

สิ่งแวดล้อมเองนั้นก็สำคัญ

เด็กสมัยนี้เติบโตมากับเทคโนโลยี ซึ่งแน่นอนว่าการเรียนออนไลน์นั้นเป็นประโยชน์ในเรื่องของความเร็วในการเรียนที่จะเร็วติดจรวด การที่เด็กที่เข้าใจในเนื้อหาแล้วสามารถข้ามไปยังบทเรียนอื่นได้ทันทีนั้นถือว่าเป็นการดีที่จะประหยัดเวลาในการเรียน และเปิดโอกาสให้กับการทำอย่างอื่นที่สร้างสรรค์ได้อีกมากมาย อีกทั้งใครไม่เข้าใจก็สามารถถามครูผ่านการแชทหรือเรียนจากครูบนโลกอินเตอร์เน็ต ทำให้เด็กที่มีวิธีการเรียนรู้ที่แตกต่างสามารถตามเนื้อหาในห้องเรียนได้ทัน

แต่นั่นเองก็ไม่ใช่ทุกอย่างของการเรียนออนไลน์ เพราะการเรียนรู้แบบนี้มันใหม่จนเกินไป จนไม่มีใครสามารถหยุดหรือเลือกวิธีการเรียนแบบนี้ได้ วันนี้เราจึงมาเล่าให้ฟังถึงปัญหาในการเรียนออนไลน์กันครับ

ข้อแรกนั่นก็คือสมาธิในการเรียนของตัวนักเรียน สิ่งแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมต่อการเรียนต้องเอาออกห่างให้ได้เยอะมากที่สุด เช่นที่บ้านให้ทำนู่นทำนี่ระหว่างการเรียนหรือโทรศัพท์แจ้งเตือนระหว่างเด็กกำลังทำความเข้าใจบทเรียน การที่คิดว่าเด็กนั้นอาจจะไปหมกมุ่นกับการเล่นมากเกินไปนั้นอาจส่งผลต่อประสิทธิภาพในการเรียนได้อย่างแน่นอน

การจัดตารางเรียนที่เป็นระเบียบนั้นก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะทำให้น้องๆ สามารถใช้เวลาที่ได้จัดสรรไว้เพื่อไปทุ่มเทกับการเรียนได้ โดยหลายๆ โรงเรียนอาจมีการจัดเรื่องของเวลาเรียนไว้เรียบร้อยแล้ว แต่แน่นอนนั่นไม่ได้รวมถึงเวลาในการทำการบ้านหรือทบทวนบทเรียน ซึ่งจำเป็นต่อการสอบเป็นอย่างมาก

อีกทั้งตัวครูผู้สอนจำนวนหนึ่งก็ตามความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีไม่ทัน อาจเป็นส่วนทำให้การเรียนที่ว่าน่าเบื่อแล้วนั้นน่าเบื่อขึ้นไปอีก ทั้งเสียงไมค์โครโฟนที่ผู้ฟังแล้วฟังแล้วไม่รู้เรื่อง การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตที่ไม่สเถียรทำให้หลุดออกจากห้องอยู่บ่อยๆ จนถึงว่าครูใช้แอพไม่เป็นก็เป็นอีกส่วนหนึ่งที่ทำให้การเรียนออนไลน์นั้นยากต่อการมาทดแทนระบบการเรียนแบบเดิม

ดังนั้นนอกจากตัวนักเรียนที่จำเป็นที่จะต้องเปลี่ยนแปลงวิธีการเรียนแล้ว ตัวผู้ปกครองก็ควรสนับสนุนอุปกรณ์การเรียนออนไลน์กับนักเรียนอย่างเหมาะสม และจุดที่สำคัญมากนั่นคือตัวครูที่ต้องพร้อมทั้งวิธีสอน วิธีวัดประสิทธิผล ความรู้ในการใช้งานแอพต่างๆ ซึ่งเป็นเรื่องที่ท้าทายกับสถานการณ์วิกฤตนี้ ที่ไม่มีใครรู้ว่าจะจบเมื่อไหร่อย่างมากเลยทีเดียว

Photo by Alex Kotliarskyi on Unsplash

เปลี่ยนวิธีการเรียนใหม่

หากใครกำลังมีปัญหาว่ารู้สึกไม่ดีต่อการเรียนแบบเดิม ที่เรียนเท่าไหร่ก็ไม่เข้าหัวอยู่ดีจนอาจจะทำให้รู้สึกแย่หรือเครียดไป วันนี่พี่ก็ได้นำเอาหลักการในการเรียนมาอธิบายเพื่อให้น้องนำมาปรับใช้กันครับ

โดยหลักๆ แล้วการเรียนจะมีทั้งหมด 4 ประเภท หรือที่เรียกว่า VARK Model ได้แก่

  • การอ่าน-เขียน (Read/Write) ตัวอย่างเช่นการเขียนสรุป, เขียนคำอธิบายในคำศัพท์หลัก (Keyword), การอ่านรวดเร็ว, การอ่านเพื่อความเข้าใจ
  • การฟัง (Aural) ตัวอย่างเช่นการอ่านออกเสียง, การฟังครูสอน, การทบทวนความรู้กับเพื่อน, การสลับกันสอน-เรียนระหว่างเพื่อน
  • การดู (Visuals) ตัวอย่างเช่น การวาดรูป วาดไดอะแกรมขั้นตอน/ความสัมพันธ์ การเขียนหัวข้อใหญ่
  • การลงมือทำ (Kinestetic) ตัวอย่างเช่นการเข้าใจด้วยตัวเอง การลงไปทำจับ-รู้สึก-เคลื่อนไหวด้วยตนเอง

การเรียนที่มีประสิทธิภาพที่สุดสำหรับตัวผู้เรียน ไม่ใช่การที่จะต้องเลือกว่าต้องเรียนด้วย การอ่าน-เขียน (Read/Write), การฟัง (Aural), การดู (Visuals), การลงมือทำ (Kinestetic) เป็นอย่างเดียว แต่เป็นทั้งหมด (หรือหลาย ๆ ประเภท)​ พร้อมกัน

จากการวิจัยโดย Polly Hussman และ Valerie Dean O’Loughlin ของมหาวิทยาลับอินเดียนา (Indiana University) ได้ทำการวิจัยและได้ผลสรุปว่าประเภทของการเรียนนั้นไม่เกี่ยวข้องกับวิธีการเรียนที่มีประสิทธิภาพสูงสุดของตัวผู้เรียน [ลิงก์รายงานการวิจัย] ดังนั้นการเปลี่ยนมาเรียนออนไลน์เมื่อเทียบกับการเรียนแบบดั้งเดิมแล้วจึงเป็นการเปลี่ยนแปลงที่ดี เพราะว่ามีองค์ประกอบการเรียนที่หลากหลายและสามารถเลือกให้เหมาะกับตัวเองได้มากที่สุด

ดังนั้นหากว่าเราคิดว่าการเรียนที่เป็นอยู่นั้น

  • ครูสอนไม่รู้เรื่อง
  • วิชาไม่ปะติดปะต่อกัน
  • ข้ามลำดับเนื้อหาเร็วเกินไป

น้องไม่ได้เป็นอยู่คนเดียวครับไม่ต้องเครียดไป ให้เราเปลี่ยนวิธีการเรียนที่เรากำลังทำอยู่ และรวมวิธีการเรียนแบบอื่นเข้าไปด้วย เช่นว่าต้องอ่านหนังสือที่มีแต่ตัวอักษร (ประเภทอ่านเขียน)​ ก็ให้เราเพิ่มไดอะแกรมขั้นตอน/ความสัมพันธ์, การทบทวนความรู้กับเพื่อน, การลงไปทำในชีวิตจริง เข้าไปด้วยเพื่อความเข้าใจสูงสุด

Photo by Annie Spratt on Unsplash

การวัดประสิทธิภาพที่เปลี่ยนไป

เพราะการทดสอบความรู้นั้นเป็นเรื่องสำคัญ เพราะมันจะบ่งบอกว่าผู้เรียนนั้นเข้าใจในเนื้อหาที่ได้เรียนไปมากขนาดไหน ด้วยว่าตัวผู้สอนนั้นจะให้นักเรียนเข้าห้องสอบในชีวิตจริงนั้นก็อาจจะเป็นไปไม่ได้ ดังนั้นวิธีการทดสอบก็ควรที่จะต้องเปลี่ยนแปลงไป เพราะด้วยเหตุผลดังนี้

  1. เราไม่สามารถไปปิดให้นักเรียนไม่โกง ผ่านการเปิดคำตอบหรือแชร์คำตอบผ่านโลกอินเตอร์เน็ตได้
  2. เพราะการตอบแบบเป็นช้อยส์นั้นแทบจะไม่เป็นประโยชน์ต่อการทดสอบ เพราะถ้าเด็กไม่รู้คำตอบก็จะเดาคำตอบมั่ว แล้วหวังว่ามันจะบังเอิญเป็นคำตอบที่ถูกต้อง

ซึ่งวิธีการทดสอบแบบใหม่ๆ อย่างเช่น

  1. การทำ Pop Quiz หรือการทดสอบแบบกระทันหัน
    เพื่อให้นักเรียนได้ทำการทบทวนความรู้ก่อนการเรียนในหัวข้อถัดไปและวัดผลการสอนของครูในตัวไปด้วย
  2. การมอบโปรเจ็กต์ (ทั้งเดี่ยวและกลุ่ม) และมีการระบุวิธีการให้คะแนนอย่างชัดเจน
    เช่น เพื่อที่จะได้คะแนนเต็ม จะต้องทำอะไรบ้างเพื่อให้ได้มีสิทธิ์ได้คะแนนเต็ม ไม่ควรใช้การอธิบายแบบกว้างๆ เพื่อลดความเอนเอียงในการวัดผล
  3. การทดสอบแบบง่าย แต่ให้เวลาในการทำแบบกระชั้นชิด
    เช่นการทดสอบแบบตัวเลือก แต่ให้เวลาในการคิดแค่ 15 วินาที

หรือการทดสอบแบบเดิมๆ ที่สามารถทำได้จากการใช้ Google Forms หรือ Microsoft Forms ในลักษณะแบบทดสอบ หรือแม้กระทั่งการใช้แอพอย่าง Quizizz เป็นต้น

ดังนั้นถ้าใครกำลังโดนกล่าวหาว่าเรียนไม่รู้เรื่อง (แต่จริง ๆ แล้วตัวเองมั่นใจว่าเรียนรู้เรื่อง)​ ก็สามารถเอาเรื่องการวัดผลที่เปลี่ยนไปมาโต้แย้งได้ครับ

Photo by Annie Spratt on Unsplash

การเปลี่ยนอย่างมีระบบ

อีกปัญหาที่รบกวนใจผู้เรียนอีกอันหนึ่งนั่นก็คือก่ารไม่มีแอพใดเป็นแอพหลักในการเรียนเลย เช่นครูคนหนึ่งใช้ Google Classroom และอีกคนหนึ่งก็ไปใช้ Microsoft Teams ซึ่งนั่นมาพร้อมกับปัญหาว่านักเรียนจะต้องเข้ามาจำว่าวิชานี้ใช้แอพไหน การสั่งการและสร้างมาตรฐานในระดับโรงเรียนจึงเป็นเรื่องสำคัญ เช่นว่าทั้งโรงเรียนให้ใช้ Google Classroom ทั้งหมดเป็นต้น

ซึ่งแน่นอนว่า Google และ Microsoft นั้นให้บริการสนับสนุนการเรียนกับนักเรียน ครู และบุคลากรโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย เพียงมีเว็บไซต์โดเมนของโรงเรียน และเบอร์โทรศัพท์ติดต่อเพื่อยืนยันว่ามีโรงเรียนอยู่จริงเท่านั้นก็สามารถเข้าใช้ GSuite for Education หรือ Microsoft for Education ได้แล้ว

Google for Education

Microsoft Education

โดยในแพ็คเกจที่ Google และ Microsoft จะมอบให้นั่นก็คือ Email แบบองค์กร ซอฟท์แวร์สนับสนุนการเรียนการสอน และพื้นที่จัดเก็บคลาวด์ฟรีเพื่อทำงานกลุ่มแบบออนไลน์อีกด้วย

หากว่าโรงเรียนหรือสถาบันไหนต้องการนำ Google for Education หรือ Microsoft Education ก็สามารถไปบอกครู/อาจารย์เขาใช้เพื่อให้มันเหมาะสมต่อการเรียนออนไลน์ได้ครับ พี่ว่ามันไม่ยากเลย

Photo by Isaac Smith on Unsplash

คำจำกัดความรับผิดชอบ : สตอรีนี้ไม่ได้รับการสนับสนุนจากบริษัทและบริการที่ได้กล่าวไปข้างต้น โดยผู้เขียน และผู้เกี่ยวข้องกับสตอรีนี้ไม่เกี่ยวข้องกับบริษัทและบริการใดๆ ทั้งสิ้น


ภาพประกอบสตอรีจากเว็บไซต์ Unsplash

โฆษณา

Share this post

About the author